การกระจายอำนาจ : กองทุนสุขภาพตำบล จังหวัด พัทลุง(2)


ประชาชนทุกคนต้องมีหน้าที่ ในการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ และมองว่าสุขภาพเป็นเรื่องของเรา

การกระจายอำนาจ : กองทุนสุขภาพตำบล จังหวัด พัทลุง(2)


จากครั้งที่แล้ว เล่าเรื่องการประชุมพัฒนาศักยภาพ กรรมการกองทุนสุขภาพ ช่วงเช้าเป็นเรื่องของการเสวนา และ การพูดถึงที่มาของกองทุนสุขภาพตำบล  เมื่อมาช่วงบ่ายเป็นการพูดถึง บริหารจัดการกองทุนสุขภาพอย่างไร  ให้ประชาชนสุขภาพดี  ชุมชนมีส่วนร่วม
เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่ ฟัง " จากการดำเนินงานกองทุนรุ่นบุกเบิก "  ดำเนินรายการโดย นายบรรเจต ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นายธรรมฤทธิ์  เขาบาก นายกอบต บ่อหิน จังหวัดตรัง นางสุทัศน์  กล้าคงตัวแทนภาคประชาชน อบต. เขาเจียก  นางสมทรง ประยูรวงษ์ ปลัด อบต.ชะมวง จังหวัดพัทลุง  จากการพูดคุย ครั้งนี้ สรุปประเด็นการปริหารจัดการได้ 3 ประเด็นหลักๆ คือ


1. แผนยุทธศาสตร์ ต้องเกิดจากแผนงานสุขภาพชุมชน เปิดเวทีให้ชุมชนได้แสดงความต้องการ   ตัวแทนเขาเจียกบอกว่า ทุกคนพร้อมที่จะผลักดัน ส่งเสริมเรื่องกองทุนสุขภาพ สามารถบอกและอธิบายได้
หัวใจสำคัญคือประชาชนเข้าใจ   กลยุทธ์หลักคือ สร้างนโยบายสาธารณที่เข้มแข็งและเอื้อต่อสุขภาพ 


2. การประชาสัมพันธ์    มีเครื่องขยายเสียง บอร์ดในหมู่บ้าน อสม. เขาเจียกบอกเคล็ดลับสำคัญ และการประชาสัมพันธ์ที่ดี คือ ปากต่อปาก ให้เราลงไปพูดคุยกับเพื่อนๆ ประชาชน รวบรวมปัญหา เก็บข้อมูลไว้ และ ไปบอกให้หมอทำตอบสนองปัญหาของเรา
เราอสม. ต้องรวบรวมปัญหา สั่งให้หมอทำ ไม่ใช่ รอให้หมอสั่งให้เราทำ   มันถึงจะ ได้การแก้ปัญหาที่ตรงจุด


3. สร้างแหล่งเรียนรู้ สร้าง และ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพ ประชาชนทุกคนต้องมีหน้าที่ ในการเรียนรู้เรื่องสุขภาพ และมองว่าสุขภาพเป็นเรื่องของเรา  สิ่งที่ก้ามปูประทับใจมากที่สุดคือการสร้างแหล่งเรียนรู้ ผู้ป่วยโรคจิตในชุมชน โดยที่รับผู้ป่วยโรคจิตที่ได้รับการรักษาและพร้อมที่จะมาอยู่ที่บ้านแต่ยังไม่สามารถ
ไว้วางใจได้ จึงสร้าง ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้ป่วยและ ญาติ มาลอง ใช้ชีวิต ในสังคม ดูโดยที่ผู้ป่วยและญาติบางครั้งไม่ใช่คนในชุมชน ครั้งแรก ๆ ชุมชนก็กลัวเหมือกันว่าอยู่ดี เราจะเอาคนบ้ามาอยู่ในชุมชนอย่างไร แต่เมื่อได้พูดคุยกัน และมองเห็นว่าเป็นเรื่องดี เมือ่เริ่มดำเนินการกลับได้มากกว่าที่คิดไว้ คือประชาชน ตระหนักในเรื่อง ของสุขภาพจิตมากขึ้น เด็กๆ มีจิตใจที่อ่อนโยนขึ้น มีความรู้สึก ถึงความเป็นห่วงเป็นใยกันมากขึ้น

สิ่งสำคัญและอยากฝากไว้
       1.  การประสานงานร่วมกัน อบต. มีงบ สาธารณสุขมีความรู้ ให้เราประสานงานร่วมกันก็จะเกิดงานสร้างสุขภาพขึ้นมา
       2. มองหานักจัดการสุขภาพชุมชนในท้องถิ่น
       3. มองกองทุนเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาพในชุมชน
       4. คิดนอกกรอบ มองหา โอกาสและช่องทาง

สิ่งเหล่านี้ เพียงส่วนหนึ่ง ของการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล ก้ามปูเชื่อว่ายังมีกองทุนสุขภาพตำบลอีกหลายแห่งที่มีแนวคิดและ วิธีการดีๆ มาล่าให้กันฟังบ้างนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 186033เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

ตอนนี้ที่มหาวิทยาลัยก็ประกาศตัวเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ...  จุดหมายยังอีกไกล  แต่จุดหมายนั้นก็พอมองเห็นรำไรอยู่บ้างเหมือนกัน

....

ถ้าในแต่ละชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ในเด้านสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม  ผมเชื่อว่าจะเป็นกระบวนการหนึ่ง หรือเครื่องมือหนึ่งในการสร้าง หรือพัฒนาให้ชุมชนเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในเรื่องการสร้างสุข

บางทีอาจอยู่ในรูปของห้องสมุดที่เหมาะกับชุมชน,  มีสวนสาธารณะเล็กที่เป็น "ปอด" ของหมู่บ้าน, ... มีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นเวทีพบปะของผู้คน  มีวัฒนธรรมการพึ่งพิงอย่างอาทร ร้านค้าในหมู่บ้านไม่มีตู้เกมส์มอมเมาลูกหลานตัวเล็ก ๆ  ฯลฯ...

...

ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้นะครับ

 

 

ในพื้นที่ผม มีการดำเนินการในพื้นที่น้อยมากในเรื่องกองทุนสุขภาพตำบล ทั้งๆ ที่ ปีหน้า กองทุนนี้น่าจะเข้าไปสู่ตำบลทุกแห่งแล้ว

กรณีนี้ น่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยมากๆ ครับ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

สวัสดีคะ นายประจักษ์

ขอให้โลกมีสิ่งแวดล้อมที่ดีนะคะ

ก้ามปูจะพยายามทำสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ดีคะ

สวัสดีคะ แผ่นดิน

  • ดีจังเลยนะคะ สุขภาพจะได้เริ่มได้ทุกจุด และของทุกคน
  • เรื่อง สุขภาพ เป็นเรื่องของพฤติกรรม ความเชื่อ มาเกี่ยวข้องมาก จึงเป็นเรื่องยากที่จะ สร้างเสริม แต่ ก็ไม่ยากเกินความ สามารถของเราไปได้ ขอเพียงมีใจ คะ
  • สุ้ๆๆคะ

 

สวัสดีคะ ธวัชชัย แสงจันทร์ สสอ.ปลาปาก "KM มือใหม่ "

  •  ถึงจะไม่มีกองทุนสุขภาพ ขอให้เรามองสุขภาพ เป็นเรื่องของเราเอง และ เป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันสร้างเสริม และ มันก็จะขยายใหญ่ขึ้น ๆๆ
  • เห็นด้วยคะ ว่าควรที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกันให้มากๆ นะคะ ยินดี และ ดีใจที่ทุกคนหันมาดูเรื่อง สุขภาพกันมากขึ้น
  • หวังว่าคงได้แลกเปลี่ยนกันอีกนะคะ

 

งบประมาณอยู่ที่อบต. เข้าไตรมาสที่3แล้วยังไม่พิจารณางบตามที่สปสช.เร่งให้ทำประจำปี เช่นคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนทำงานลำบากใจมากช่วยแก้ไขด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท