ผู้ตรวจการพยาบาลมืออาชีพ


ผู้ตรวจการพยาบาลที่ดี เก่งคน เก่งงานและเป็นแบบอย่าง

พัฒนาการในสาขาวิชาชีพพยาบาล ปัจจุบันมี3ทางคือ

1.ผู้บริหารทางการพยาบาล เริ่มจากหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้ตรวจการพยาบาล ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล รองหัวหน้าพยาบาล หัวหน้าพยาบาลหรือรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝ่ายการพยาบาล ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวนั้นขึ้นกับโครงสร้างของหน่วยงาน ซึ่งอาจเป็นการแต่งตั้งแบบภายในควบ2ตำแหน่งก็ได้

2.ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงหรือผู้ชำนาญการ/เชี่ยวชาญ

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง เ็ป็น พยาบาลจบระดับปริญญาโททางการพยาบาล สอบรับรองวุฒิบัตรจากสภาการพยาบาล ปฏิบัติงานการพยาบาลที่ซับซ้อนยุ่งยาก พัฒนาองค์ความรู้และู้วิจัยทางการพยาบาลฯลฯ

พยาบาลผู้ชำนาญการ/ผู้เชี่ยวชาญ เป็นพยาบาลระดับ8และ9 ที่พัฒนาตนเอง จากประสบการณ์การพยาบาลในคลินิกและทำผลงานวิชาการเพื่อประเมินเลือนระดับขึ้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีเฉพาะพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย

3.อาจารย์พยาบาล ปัจจุบันเริ่มจากปริญญาโทเ็ป็นส่วนใหญ่ แล้วต้องเรียนระดับปริญญาเอก ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา

พยาบาลมีพัฒนาการตามอายุการทำงาน การศึกษา ความสามารถความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวพยาบาลเอง

ผู้ตรวจการพยาบาล

พัฒนามาจากหัวหน้าหอผู้ป่วยที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหารทางการพยาบาล โดยวิธีการได้มาในแต่ละโรงพยาบาลจะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งพอสรุปได้ว่า

1.การประเมินสมรรถนะผู้บริหาร

2.การแสดงวิสัยทัศน์ และแผนการพัฒนางานในการสัมภาษณ์คัดเลือก

โจทย์ขอผู้ตรวจการพยาบาล คือ ทำอย่างไรเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลได้รับประโยชน์มากที่สุด

เก่งและดีเพื่อพร้อมให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนให้ก้าวหน้า

หรือผู้ตรวจการต้องเก่งบริหารคนและระบบงาน ดังนั้นจึงเป็นภาระงานที่หนัก การมีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องต่างๆภายในหน่วยงาน ต้องมีความรู้ทั้งเชิงวิชาการและด้านบริหารเป็นอย่างดี และมีลูกน้องมาก ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะลูกน้องก็เฝ้ามองอยู่ว่าเราทำอะไร... มั่นสรุปบทเรียนน่าจะช่วยให้มีการพัฒนาเ็ป็้นผู้ตรวจการพยาบาลมืออาชีพ

สรุปว่า ผู้ตรวจการพยาบาลที่ดี ต้องเก่งคน เก่งงาน เป็นแบบอย่าง

ตัวอย่างตัวชี้วัดความสำเร็จของผู้ตรวจการมีอะไรบ้าง

1.อัตราความก้าวหน้าของบุคลากรทางการพยาบาล

2.จำนวนผลงานการพัฒนาของหน่วยงาน เช่น กิจกรรมคุณภาพ งานวิจัย เป็นต้น

ดังนั้นผู้ตรวจการพยาบาลเปรียบเสมือนคนกลางที่ต้องสื่อสารนโยบาย

และจัดการให้เิกิดผลงานในหน่วยงานไปพร้อมกัน

แบบนี้เราจะสร้างผู้ตรวจการพยาบาลมืออาชีพได้ไม่ยาก....

ก็อยู่ที่ตัวว่าต้องการทำงานแบบมืออาชีพหรือต้องการใช้อำนาจ...

หมายเลขบันทึก: 184389เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ผู้ตรวจการฯ  ที่ดี พี่ว่าเราคอยดูแลสนับสนุนให้น้องๆทำงานแล้วได้ผลงาน เพราะถ้าน้องมีผลงาน องค์กรก็จะได้ผลงานด้วย ก็ถือว่าเป็นผลงานของผู้ตรวจการด้วยค่ะ

ขอบคุณคะ่พี่แก้ว ที่แวะมาเยี่ยม

ตอนนี้แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จัดการถ่ายทอดประสบการณ์การเ็ป็นผู้ตรวจการนอกเวลา

ก็ได้รับการประเมินในระดับดี-ดีมาก แต่คงต้องรอดูว่าเมื่อปฏิบัติงานของผู้ตรวจการนอกเวลาแล้วจะได้ผลอย่างไร

เนื้อหาประกอบด้วย

ภาวะผู้นำ การนิเทศ ประสบการณ์ของรุ่นพี่ การเสริมสร้างพลังอำนาจ  การนิเทศเพื่อการพยาบาลด้านจิตวิญญาณและการพัฒนาบันทึก จุดเด่นการอบรมเราจัด Workshop ให้พยาบาล Role play supervisor

พยาบาลที่ผ่านการอบรมจะมั่นใจขึ้นหรือไม่ ต้องติดตามประเมินกันอีกรอบคะ่

เรียนพี่แขกที่เคารพ,

แวะมาอ่าน ได้ความรู้ค่ะ

เกศ

ขอบคุณคะ่ คุณน้องเกด

ที่แวะมาดูผลงานด้านบริหารของAPN ที่ทำ2บทบาทอย่างพี่ สำหรับการเป็นผู้บริหาร ต่างกับผู้ปฏิบัติตรงกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารนั้น คงต้องมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล ติดตามดูแลและพัฒนาระบบงาน

มีกิจกรรมการอบรม เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะผู้ตรวจการนอกเวลา 23-24เมษายน2551 เชิญวิทยากร มาบรรยายกันหลายท่าน เช่น คุณสุพร วงค์ประทุม ผตก.ICU บรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำ คุณทวนทอง พันธะโร หัวหน้า ICU บรรยาย เรื่อง การบริหารความเสี่ยง คุณจงกล พลตรี ผช. หัวหน้าพยาบาลฝ่ายคุณถาพ บรรยายเรื่อง การบริหารความขัดแย้ง และเจ้าภาพ ดิฉันเอง บรรยายเรื่อง การนิเทศทางการพยาบาล และยังมีวิทยากรในแผนกAEอีกหลายท่านมาช่วยกัน

ก็เ็ป็้นบทบาทหนึ่งของผู้ตรวจการฯในการพัฒนาบุคลากรคะ่

เมื่ออบรมผู้ตรวจการนอกเวลาเสร็จ ขั้นตอนไป

คือ การลงมือปฏิบัติเป็นผู้ตรวจการนอกเวลา

หน้าที่พี่เลี้ยงผู้ตรวจการตัวจริง ต้องช่วยดูแล แนะนำคะ่ ให้กำลังใจ

ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จ ไชโย.....

สวัสดีคะ่ นางสาวพยาบาล

การพัฒนาบทบาทด้านบริหารจัดการของพยาบาลภาคปฏิบัติ

ของนางสาวพยาบาลทั้งหลายก็คือ

การฝึกเป็นผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาราชการ

ทักษะที่จำเป็นคือ การจัดการความขัดแย้งและการตัดสินใจ

เพราะนอกเวลาราชระบบต่างๆอาจไม่เอื้อเต็มที่

สิ่งเหล่านี้จะท้าทายคะ่

ดังนั้นการเตรียมบุคคลากร จะช่วยได้ระดับหนึ่ง ส่วนอีกอย่างคือ เราต้องวางระบบให้มีที่ปรึกษา เช่น เวรผู้ตรวจการนอกเวลาระดับงานบริการพยาบาล

หรือเวรผู้อำนวยการนอกเวลา ก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงให้

จะทำให้ระบบสมบูรณ์ขึ้น

ปัจจุบัน ได้นำข้อเสนอของความคิดเห็นของพยาบาลตรวจการนอกเวลาไปปฏิบัติแล้ว โดยพัฒนาการบันทึกการตรวจเยี่ยม แบบระบุเรื่องที่จะตรวจเยี่ยม

คาดว่าเมื่อปฏิบัติไปได้ 1 เดือนน่าจะสรุปโอกาสพัฒนาได้ เพราะตอนนี้

สิ่งผู้ตรวจการบันทึก คือ อัตรากำลัง ครบ ไม่ครบ จำนวนผู้ใช้บริการ การใช้เตียงในหน่วยงาน การยืมเตียง เหตุการณ์(การบริการผู้ป่วยที่ซับซ้อน เช่น กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยหนัก การบริการเฉพาะ ผู้ป่วยคดี ผู้ป่วยที่ต้องดูแลพิเศษตามปัญหา เป็นต้น) คำแนะนำของผู้ตรวจการ และสรุผลการตรวจเยียม

ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน คงสรุปผลได้ และคงมีการสะท้อนข้อมูลแก่น้องผู้ตรวจการนอกเวลาราชการคะ่

ยืนยันว่าบทบาทผู้ตรวจการที่pkaekเขียนไว้ครบถ้วนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท