ใครจะแน่กว่า ครู : นักเรียน = 1: 25 หรือ พ่อแม่ : ลูก = 1: 1


เมื่ออัตราส่วนต่างกันแบบนี้ ใครจะแน่กว่าใคร

 

พ่อแม่คาดหวังในตัวลูกไม่มากก็น้อย

แต่ การคอยสังเกตให้เห็นข้อดีแล้วสนับสนุนส่งเสริม 
ต่างกับ การเพ่งหาแต่ข้อที่ยังไม่มีแล้วเร่งรัดกวดขัน

ความสุข สงบ ในครอบครัวขึ้นอยู่ที่ว่าพ่อแม่จะมองลูกด้วยมุมมองแบบไหน

พ่อแม่สมัยนี้มีลูกมักไม่เกินสามคน 
ถ้ามีลูกสองคน ก็เท่ากับว่าอัตราส่วนพ่อแม่ต่อลูกๆ คือ 1:1
ในขณะที่อัตราส่วนที่โรงเรียน
ครูต่อนักเรียนในโรงเรียนมีตั้งแต่ 1:15 ไปจนถึง 1:50
แล้วใครจะเป็นคนที่รู้จักเด็กมากกว่ากัน  พ่อแม่ หรือ ครู

จริงอยู่ว่าความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็ก
แต่เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า บ้านมีอิทธิพลต่อเด็กมากกว่า
ดังนั้น ทุกวันนี้ จึงเกิดโรงเรียนพ่อแม่ขึ้นในหลายจุดทั่วโลก

การให้ความรู้ ความเข้าใจกับพ่อแม่ ในเรื่องพฤติกรรมเด็ก และวิธีสื่อสารกับเด็ก  จึงเป็นหน้าที่ของสังคมและโรงเรียน
เพื่อสร้างทีมงานหรือคู่หู  อันหมายถึงพ่อแม่และครู 
สำหรับการพัฒนามนุษย์ให้เติบโตอย่างมีคุณค่าและยั่งยืน

นี่เป็นข้อคิดที่ได้จากการพูดคุยระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับกลุ่มผู้ปกครองในวันนี้

หมายเลขบันทึก: 183768เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเพิ่งพูดเรื่องนี้กับผู้ปกครองเมื่อวันมอบตัวนักเรียน ชี้ให้เห็นว่าทั้งครูและผู้ปกครองต่างมีหน้าที่ดูแลเด็ก แต่อย่ามอบความหวังในการให้ลูกเป็นคนดี เก่ง ที่โรงเรียนอย่างเดียว เพราะเด็กต้องอยู่กับครอบครัว พ่อแม่มีอิทธิพลสำคัญในการกำหนดชีวิตลูกยิ่งกว่าโรงเรียนด้วยซ้ำไป บางคนพอโรงเรียนเชิญผู้ปกครองไปพบกลับโกรธครูเสียอีก เป็นอย่างนี้เด็กจะมีปัญหาเวลาออกไปสู่สังคมภายนอก

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆครับ

ใครจะแน่กว่า ครู : นักเรียน = 1: 25 หรือ พ่อแม่ : ลูก = 1: 1

        แม่ พ่อ เป็นครูชนิดหนึ่ง หรือเรียกว่าครูที่บ้าน ปฐมครู ครูคนแรกของลูก ครูคนแรกของนักเรียน ครูแม่ครูพ่อนี่ก็เก่งสอนตั้งแต่ นอน นั่ง ยืน เดิน ในอริยบท ๔ สอนให้ลูกเป็นคนดี สอนการทำงาน การครองเรือน สอนให้รู้จักทำมาหากินที่เป็นสัมมาอาชีพ สอนให้ลูกตั้งใจเรียน สอนให้เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ สอนตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน สอนลูกทำการบ้าน สอนอ่านหนังสือ ทั้งๆที่ลูกก็ไปเรียนที่โรงเรียน แต่ด้วยความรักความเป็นห่วงก็ยังต้องมาสอนการบ้าน ลักษณะการสอนบางท่านก็สอนแบบพูดไพเราะ บางท่านก็สอนแบบบ่น บางท่านก็สอนแบบดุด่า แล้วแต่เทคนิคกลวิธีหรือความสามารถความชำนาญของแต่ละท่าน แต่เป้าประสงค์ในการสอนคือ เพื่อให้รู้เพื่อให้เกิดปัญญา การสอนชนิดนี้ก็มีการสอบเหมือนกัน แต่ไม่ได้กำหนดวันสอบ ไม่ได้กำหนดเกรด สอบทั้งเลือกข้อที่ถูกที่สุด ทั้งแบบอธิบาย และทั้งสอบปฏิบัติ การเรียนการสอนหลักสูตรนี้ไม่ได้กำหนดปีจบ ไม่มีใบประกาศไม่มีใบปริญญา การสอนของครูแม่ครูพ่อสอนด้วยความรักความเมตตาจริงๆ

        การสอนของครูที่โรงเรียน หรือการสอนของครูที่ 2 เป็นการสอนที่มีระบบ มีหลักสูตร มีการประเมินผล ด้วยข้อจำกัดในหลายอย่าง จึงทำให้อัตรา ครูต่อนักเรียนที่สูง โดยเฉพาะต่างจังหวัด ครู 1 คน นักเรียน 50 คน 55 คน ก็ยังมี จึงเป็นการเพิ่มความยากในการถ่ายทอดความรู้ให้ศิษย์ สอนทั้งวิชาการ สอนทั้งการประพฤติ สอนการอยู่ในสังคม สอนสารพัดสอน สอนด้วยความเอ็นดูมีเมตตา ที่ครูดุด่าก็เพราะอยากให้ศิษย์ได้ดี สอนด้วยการเป็นแบบอย่าง สอน สอน สอน และสอน หลายๆอย่าง ฯลฯ

        ถ้าถามว่าใครแน่กว่า? ก็คงตอบได้ยาก

        เพราะ ครูที่บ้านก็แน่ ครูที่โรงเรียนก็แน่ แต่แน่คนละด้าน แน่คนละอย่าง แต่ที่แน่ๆ ผมขอตอบว่าแน่ทั้งสองคน แน่ทั้งครูที่บ้าน แน่ทั้งครูที่โรงเรียน พ่อแม่ครูอาจารย์เป็นผู้มีพระคุณ ศิษย์ควรเคารพกตัญญู และ กตเวที

 

คุณอัยการชาวเกาะคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ สิ่งที่โรงเรียนพยายามสื่อสารกับผู้ปกครองคือ

จะทำความเข้าใจว่า โลกของเด็กคือบ้านและโรงเรียน

และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากประสบการณ์ทุกนาทีของเด็ก

อาจารย์ประจักษ์คะ

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจค่ะ กุหลาบสองดอกนี้ขอมอบต่อให้พ่อแม่ และ ครูทุกท่านค่ะ

คุณร่มไม้ใหญ่ใกล้ทางคะ

เห็นด้วยค่ะว่าครูกับพ่อแม่ แน่กันคนละด้าน

ทำให้โอกาสในการเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเมื่อ

ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน

สิ่งที่โรงเรียนพยายามขอความร่วมมือจากผู้ปกครองก็คือ

การร่วมมือกัน สนันสนุนกัน ของบ้านและโรงเรียน เช่น

ครูก็สอนนักเรียนให้เป็นลูกที่ดี มีความกตัญญู

ส่วนพ่อแม่ก็ปลุกฝังให้ลูกเคารพ นับถือครู

ครูส้มมีความเห็นว่า

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้โดย พ่อแม่และครูต้องนับถือกัน

เพื่อประสานกำลังในการพัฒนาเด็กไปด้วยกันค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อคิดที่กรุณามาต่อยอดให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท