กิ่งก้าน
คมวัฒน์ ต้น กิ่ง ก้าน ดอก รุ่งเรือง

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 และ 2


การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1  และ 2

 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คมวัฒน์   รุ่งเรือง«

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา(Research and Development) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1และ 2  และเพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์1และ 2  คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและองค์ประกอบของรายวิชา จำนวน 5  ด้าน คือด้านความมุ่งหมายของรายวิชา ด้านโครงสร้างรายวิชา  ด้านเนื้อหาวิชา ด้านกระบวนการเรียนการสอนและด้านการวัดและประเมินผล  กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ จำนวน 2 ฉบับ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 4 ฉบับ   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า 

1.ผลการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา  ทารกและการผดุงครรภ์ 1

 และ 2สามารถกำหนดหัวเรื่อง ได้ 4 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่  1 เรื่อง  แนวคิดและการพยาบาลมารดาและทารกแบบองค์รวม  หน่วยการเรียนรู้ที่  2 เรื่อง การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์  หน่วยการเรียนรู้ที่  3เรื่อง  การพยาบาลในระยะคลอดปกติและผิดปกติ   หน่วยการเรียนรู้ที่  4 เรื่อง  การพยาบาลมารดาและทารกในระยะหลังคลอดปกติและมีภาวะแทรกซ้อน

      2.ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาการพยาบาลมารดา  ทารกและการผดุงครรภ์    1 และ 2

        จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษา พบว่าอาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบของรายวิชา ทั้ง 5 ด้าน คือ 1. ด้านความมุ่งหมายของรายวิชา   2. ด้านโครงสร้างของรายวิชา   3. ด้านเนื้อหา 4. ด้านกระบวนการเรียนการสอน   5. ด้านการวัดและประเมินผล   มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

 

 

 

 

 

คำสำคัญ   การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ , การพยาบาลมารดา ารกและการผดุงครรภ์

 

 



« อาจารย์   วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สุรินทร์    

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 183699เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2008 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตื่นเต้นมาก เลยครับ ......พ่อ

สวัสดีครับ

  • สิ่งที่น่าทดลองในอนาคต คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ "โครงงานชีวิต"  ให้นักศึกษา ไปปฏิบัติการดูแลมารดาและทารก  2 ต่อ 1 Case  หรือ ถ้ามีญาติพี่น้องคลอดบุตร ก็ให้ดูแลจริง ๆ เลย เป็นเวลา 4 เดือน  โดยให้เปิดตำรา หรือชุดวิชา แล้วปฏิบัติตามที่หนังสือบอก(อาจจะมีการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้บ้าง เดือนละครั้ง)...เป็นการเรียนจาก Authentic Material-สื่อของจริง เหตการณ์จริง
  • ในการประเมินผล ให้ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน และรายงานการดูแลมารดาและเด็กตลอด 4 เดือน
  • ตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ 1)คะแนนทดสอบความรู้  2)ทักษะปฏิบัติเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 3) ภาวะสุขภาพมารดาและทารก

สวัสดีค่ะ

แวะมาลงชื่อก่อน :-))

ขอขอบคุณ..นะครับทุกความคิดเห็น โดยเฉพาะ ดร.สุพักตร์ ผมจะนำไปปฏิบัติ ในโอกาสต่อไป ครับ....พี่แดง ด้วยนะ..รับมา comment นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท