รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2551


Human Talk

พิธีกร : สวัสดีครับคุณผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า ทาง FM 96.5 MHz คลื่นความคิดกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนะครับ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ สวัสดีครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังครับ ก็ขอสวัสดีกับท่านอีกครั้งหนึ่งในเช้าวันที่ 11 ใช่ไหม

พิธีกร :  ครับ ใช่ครับ อาจารย์ครับ ก็ถือว่าเราผ่านมา นี่ก็เข้าเดือนที่ 5 ของปีนี้ เวลาผ่านไปค่อนข้างรวดเร็วเหมือนกันนะครับ อาจารย์ครับ สำหรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน ทั้งในประเทศของเราแล้วก็ในต่างประเทศนะครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็รายการเราก็จะสะท้อนความจริง ฉะนั้นก็จะมีบางเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระดับตัวเราเอง ระดับองค์กร  บางเรื่องก็อาจเกี่ยวข้องกับระดับประเทศ ระดับโลกาภิวัตน์ แล้วก็มีโอกาสได้สร้างแนวร่วมที่เป็นผู้ที่ติดตามรายการเราอย่างต่อเนื่อง แล้วก็วันนี้เราก็มีผู้ฟังที่ติดตามอยู่เยอะ แล้วก็คุณจีรวัฒน์ ผมอยากจะประกาศนิดหนึ่งว่า หลังจาก 7 โมงแล้ว ผมจะนั่งอยู่ที่บ้านผม แล้วก็หลายคนก็รู้เบอร์โทรศัพท์นี้แล้ว แต่บางคนไม่รู้ก็ ผมจะอยู่ประมาณ 45 นาที ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ เพื่อนฝูงหรือผู้ฟังต่าง ๆ อยากจะโทรศัพท์มาคุยกับผมเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ช่วยจดเบอร์ไว้ด้วยนะ 886-4254

            อีกครั้งนะครับ 886-4254 ก็ผมจะรับโทรศัพท์ด้วยตัวเองแล้วก็อาจจะให้ความเห็นท่านไป เพราะว่าวันนี้ รายการทางวิทยุก็จะมีคนที่ติดตามอยู่เสมอ แต่บางครั้งก็ไม่ค่อยมีโอกาสได้คุยกับผม เพราะว่าโดยมากจะเป็นวันอาทิตย์ แล้วก็บางคนก็ไม่รู้เบอร์ติดต่อ อย่างมีคนหนึ่งชื่อคุณธนะชัย ซึ่งท่านเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งเคยอยู่ที่อเมริกา แล้วก็กลับมาเมืองไทย เป็นวิศวกร ครั้งหนึ่งก็ได้มีความพยายามอย่างยิ่งเลย หาเบอร์โทรศัพท์ของผม ติดต่อไปที่ 96.5 นี่ ทางเขาก็ไม่ได้เบอร์มือถือไว้ แต่วันนี้ผมจะนั่งอยู่ที่บ้าน ระหว่างที่ผมโทรศัพท์คุย แล้วก็ท่านผู้ฟังที่ติดตาม สนใจก็โทรศัพท์หาผม ผมจะรับโทรศัพท์ด้วยตัวเอง อาจจะปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ก็เป็นช่องทางหนึ่ง

          อีกช่องทางหนึ่งก็หลายคนก็คงทราบแล้ว ถ้าเรากดเข้าไปที่ gotoknow.org/blog/chiraacademy ก็จะเจอ blog ของผม ซึ่งได้ถอดเทปทุกครั้งเกี่ยวกับการออกอากาศ แล้วก็ถ้ากดเข้าไปไน mcot 96.5 ก็จะมีการเปิด internet ได้ ฉะนั้นในยุคต่อไปก็อยากให้ท่านผู้ฟังมีโอกาสได้ติดตามอย่างใกล้ชิด

พิธีกร : ครับ ก็เป็นอีกช่องทางที่เราได้ติดต่อกัน แล้วก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันด้วย

ศ.ดร.จีระ : คือผมอยากจะสร้าง community ของผู้ที่ฟังรายการวิทยุของผม แล้วก็เราก็จะพยายามมีเวลาเพิ่มขึ้นในตอนค่ำ ๆ ด้วย ตอนนี้ก็กำลังหารือกันอยู่ แล้วก็วิทยุก็กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ แล้วก็อย่างเช้าวันนี้นอกจากผู้ที่ได้ติดตามอยู่เป็นประจำแล้ว ก็ยังมีพวกคนขับ Taxi ด้วยนะจีรวัฒน์ เนื่องจากน้ำมันแพง ผมก็มีโอกาสได้ใช้บริการเขา แล้วก็จะเห็นว่าคนขับ Taxi นี่เป็นสังคมการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา มีหลายคนซึ่งแต่งเนื้อแต่งตัวไม่ค่อยเรียบร้อย สักแต่ว่าขับไปเรื่อย ๆ แล้วก็ไม่พัฒนาตัวเอง ในที่สุดแล้วรายได้ของเขาอาจจะไม่เพิ่มขึ้น

          ในขณะที่บางคนก็จะเปิดวิทยุฟัง อย่าง 96.5 นี่ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งของเขา บางทีเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน เขาก็จะเปิดเพลงลูกทุ่งบ้าง อะไรบ้าง ฉะนั้นตัวผมเอง ถ้าผมนั่งอยู่ในรถ Taxi ผมก็จะเล่าให้เขาฟังถึงรายการของเรา ก็ปรากฏว่ามีหลายคนที่ได้มีโอกาสได้เปิด คือ 96.5 นี่ต้องยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ ฉะนั้นสำหรับบางท่าน อย่างผมเคยคุยกับคุณวิสุทธิ์ว่า เทปของเรานี่เอาไปใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยม หรือมหาวิทยาลัย ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะท่านลองคิดดูครับ ครูบางคนวันนี้ที่สอนหนังสืออยู่นี่ ความรู้ท่านก็ไม่ทันสมัย คือบางครั้งมันใช้สื่อเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์มากกว่า ก็อยากจะขออนุญาตเล่าให้ฟัง แล้วก็ตัวผมเองคุณจีรวัฒน์ ก็จะมีโครงการดี ๆ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางวิทยุต่อไป

พิธีกร : ครับ ในเช้าวันนี้ก็คงมีเรื่องราวของประเทศเพื่อนบ้านของเรา ซึ่งประเทศนี้นี่อาจารย์ก็ได้เดินทางไปหลายครั้งเหมือนกันนะครับ คงต้องพูดถึงนิดหนึ่ง เพราะว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีประเด็นน่าสนใจหลายเรื่องด้วยกันนะครับ ก็เหตุการณ์พายุไซโคลน Nargis ที่ถล่มพื้นที่ย่างกุ้ง แล้วก็สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีที่ประเทศพม่านะครับ ก็เรียกว่าเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียวของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจุบันล่าสุดนี่เห็นว่ายอดผู้เสียชีวิตแล้วก็ยอดผู้สูญหาย ผู้บาดเจ็บ เป็นหลักแสนกันแล้วนะครับ อาจารย์ครับ นับว่าเป็นการที่... ก็หลาย ๆ ประเทศเอง ก็มองในหลาย ๆ แง่มุมเหมือนกันนะครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับผม ก็ในช่วงเช้า ก่อนจะเบรกแรก ผมคิดว่า ผมจะใช้เวลาคุยกับจีรวัฒน์ในเรื่องประเทศพม่าสักช่วงหนึ่ง แล้วก็หลังจากนั้น ผมก็อยากจะยกตัวอย่างของผู้นำในสหรัฐมาให้ฟังต่อ คราวนี้จะไม่พูดตรง ๆ เกี่ยวกับ Obama จะไปพูดถึงคุณ McCain ซึ่งเราไม่ค่อยจะได้คุยกัน เพราะว่าคุณ McCain นี่แกก็ชนะมานาน แล้วก็บางครั้งคนก็อาจจะไม่ได้ศึกษาตัวแกเองมากเท่าไร

ก็ในเรื่องแรก ผมคิดว่าผมเองเป็นคนหนึ่งซึ่งมีโอกาสได้ไปที่พม่าบ่อย ตั้งแต่สิบปีที่แล้ว ได้มีโอกาสได้เข้าไปในฐานะเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ คือเวลาเข้าไปในพม่านี่เหนื่อย คือรัฐบาลเขาเป็นรัฐบาลทหาร แล้วก็ไม่ค่อยจะเปิดประเทศเท่าไร ท่านผู้ฟังก็คงทราบดี ถึงแม้จะเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของการศึกษาก็ดี

ฉะนั้นข้อแรกที่น่าจะต้องวิตกมาก ๆ คือ การให้ visa เข้าไปในประเทศเขานี่ยุ่งยากมาก ซึ่งไม่เหมือนประเทศของประเทศไทย ซึ่งบางทีก็มี visa on arrival เลย ฉะนั้นเวลาพม่าบอกจะมีการท่องเที่ยว อะไรอย่างนี้ ก็จะเห็นว่า สิทธิต่าง ๆ ... เหตุผลก็คือว่า ความอยู่รอดของรัฐบาลเขาเป็นเรื่องสำคัญ ท่านผู้ฟังก็คงทราบดี เขาเป็นรัฐบาลเผด็จการทหารมาเป็นเวลานาน แล้วก็เขาคงจะต้องมีเป้าหมายของความอยู่รอด เพราะว่าเขาเคยเจอกับคุณอองซานซูจีมาแล้ว แล้วก็เราก็เคยคุยกันหลายครั้ง อย่างล่าสุดก็มีพระสงฆ์ต่อต้านเขา

ฉะนั้นสิ่งแรกที่เป็นความจริงก็คือรัฐบาลเผด็จการ แล้วก็ไม่รู้จะปรับตัวอย่างไร หาทางลงไม่ได้ อย่างวันนี้เป็นวัน เมื่อวานนี้เป็นวันรับร่างของเขานะจีรวัฒน์ ระหว่างที่มีปัญหา Nargis อยู่นี่ มีการให้ลงประชามติ แล้วก็ตลกที่สุดก็คือ การลงประชามติ รัฐธรรมนูญคราวนี้บอกว่าอองซานซูจี ลงไม่ได้เพราะว่าสามีเป็นฝรั่ง อะไรอย่างนี้ คือเวลาเขาเขียนรัฐธรรมนูญ เขาก็กลัวคุณอองซานซูจี เขาก็คงทราบ อีกหน่อยคุณอองซานซูจีก็คงตายไปเอง ก็เลยจัดการการเมืองของตัวเองด้วยความระมัดระวังในความอยู่รอดของตัวเอง

ซึ่งท่านผู้ฟังลองถามตัวเองนะครับ ผมเคยไปพม่าหลายครั้ง อย่างประเทศไทยเรานื่ บางทีเราบ่นมากเลย ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลของเรา จีรวัฒน์ แต่ที่นั่นนี่แย่กว่าเราประมาณ 10 เท่า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา อย่างเช่นผมจำได้ เวลามีประท้วงนี่ ท่านผู้ฟังทราบไหมครับ เขาหยุดการเรียนมหาวิทยาลัยเป็นปีนะ อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง เขาก็ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอะไร ปีดอร์ ซึ่งใช้เวลานั่งเรือบินไปตั้งชั่วโมงกว่า ๆ ขับรถก็เกือบ 300 กิโล ฉะนั้นสิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจพม่าก็คือ เขาไม่ได้มีรัฐบาลเหมือนของประเทศทั่วไป แล้วอย่างคราวนี้นี่ พอมันเกิดภัยธรรมชาติครั้งแรกนี่ ครั้งสำคัญที่สุดนี่ สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ ภัยธรรมชาตินี่มันเกิดได้ใช่ไหมจีรวัฒน์

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : แต่รัฐบาลต้องเตรียมตัวให้ดี อย่างน้อย early warning ของเขาไม่มีเลย เขาไม่มีระบบที่เตือนภัยเลย  สิ่งแรกที่รัฐบาลเขาผิดพลาดมากก็คือ  เขาไม่เคยคิดถึงประชาชน เขาคิดถึงตัวเขาเอง คราวนี้เมื่อไม่มี early warning เหตุการณ์มันเกิดขึ้นแล้ว ผมได้สังเกตดู เรียนรู้ด้วยตัวเองว่า มันจะมีองค์กรต่าง ๆ ในโลก จีรวัฒน์ ซึ่งคนในโลกก็แปลก พอเขามีรายได้ดี ในตะวันตกก็ดี ในภาคประชาชนก็ดี เขาก็ยังมีคณะที่พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว อย่างระบบ UN ก็จะมีกลุ่มหนึ่ง อย่างคราวนี้รัฐบาลอเมริกันโดยเฉพาะ และคนอเมริกัน ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบ เขาเป็นคนที่มีความสนใจที่เข้าไป ปรากฏว่าพม่า Anti คนอเมริกัน รัฐบาลอเมริกันมากเลย ว่าคนอเมริกัน รัฐบาลใน EU เขาคงเห็นว่า เคยสร้างแรงกดดันให้เขา ฉะนั้นเขาก็เลยห้ามไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือ โดย... แม้กระทั่งในเรื่องของมนุษยธรรมทั่ว ๆ ไป

.         มีการพูดกันว่าเงินได้ แต่คนมาไม่ได้ อะไรอย่างนี้ ก็แสดงว่าคนนี่ เขากลัวว่าจะไปสร้าง เขาเรียกอะไร ความกดดันทางด้านการเมืองให้เขา ก็เป็นที่น่าเศร้ามากเลย ที่มันเกิดขึ้นในประเทศเขา ฉะนั้นท่านผู้ฟังก็ลองตั้งข้อสังเกตดูนะ ผมว่าสำคัญที่สุดคือ ลองสังเกตดูว่า เรามีรัฐบาลไปเพื่ออะไร ถ้ารัฐบาลเหล่านั้นไม่ทำให้ประชาชน มันก็ต้องหันมาจัดการ คราวนี้หันมาจัดการยังไง มันก็ไม่สำเร็จ อันนี้ก็จะเป็นแรงกดดันอีกอันหนึ่งที่ทำให้โลก เขามองรัฐบาลพม่าโดยความเศร้าสลด

แล้วก็วันนี้นี่โลกมันก็ต้องอยู่ร่วมกัน มันก็ต้องช่วยเหลือกัน มันก็เลยทำให้รู้สึกว่า มีรัฐบาลอันนี้ไปเพื่ออะไร ท่านผู้ฟังก็ลองสังเกตดู ก็ลองเปรียบเทียบตัวเราเองกับคนพม่าดูนะว่า ยังโชคดีแค่ไหน  เวลาเรา complain เกี่ยวกับประเทศของเรา เราก็ยังโชคดีกว่าพม่าหลายสิบเท่า ผมรู้จักรัฐบาลพม่าดี เวลาเขาพร้อม เขาก็จะต้อนรับอย่างดี ผมเล่าให้ฟังครั้งหนึ่ง สมัยผมอยู่ธรรมศาสตร์ ผมมีเงินอยู่ก้อนหนึ่งจากญี่ปุ่น ก็ตกลงกันเรียบร้อยว่า จะเข้าไปพัฒนาคนที่พม่า พอนโยบายเขาเปลี่ยน จีรวัฒน์ เขาไม่นึกถึงเราเลย พอเปลี่ยนแล้ว ก็หมายความว่าเรา.. เขาไม่นึกถึงลูกค้าเขา เขาไม่ได้นึกถึงประชาชน เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือความอยู่รอดของเขา ฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ก็จีรวัฒน์ ก็เป็นคนหนึ่งซึ่งเป็นห่วงคนพม่าใช่ไหม

พิธีกร : ใช่ครับ อาจารย์ ถ้ามองในแง่มนุษยธรรมนะครับ ก็เชื่อว่าเหตุการณ์นี้ ในหลายประเทศจากที่ไม่เคย  อาจจะเคยสนใจประเทศพม่า แล้วก็ต้อง... เขาเรียกว่าอะไรครับ เรียกว่าอาจจะไม่ได้รับการเปิดประเทศต่าง ๆ อะไรอย่างนี้ แต่ครั้งนี้มันอาจจะเพิกเฉยไม่ได้ มองในแง่มนุษยชาติแล้วนี่ เออมนุษยธรรมแล้วนี่ อาจารย์ ประเทศไทยก็ถือเป็นช่องทางหนึ่งในการที่มีการส่งความช่วยเหลือผ่านประเทศไทยด้วย

ศ.ดร.จีระ :  ผมว่าคราวนี้ดูข่าวทั่ว ๆ ไปแล้ว เขาก็จะใช้กรุงเทพฯ เป็น base

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ :  การขอ visa ก็จะผ่านสถานทูตพม่าในไทย อย่างนี้ รู้สึกว่ามีคนมองเราดี เพราะว่าเราเป็นประเทศที่เปิด แล้วก็ประชาชนก็พร้อมจะร่วมมือ ผมคิดว่าประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่า รายการของเราในวันนี้ เราเทียบกับสื่ออื่น ๆ ใช่ไหม ข่าวเยอะใช่ไหม จีรวัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ เราน่าจะถามตัวเองว่า แล้วเช้าวันนี้ จีระกับจีรวัฒน์นี่ให้แนวคิดอะไรเกี่ยวกับพม่าที่สื่อทั่ว ๆ ไปไม่ได้ให้  เพราะว่าไม่เช่นนั้นเราก็จะเหมือนสื่อทั่ว ๆ ไป ผมคิดว่า ผมพูดก่อนนะ เดี๋ยวจีรวัฒน์ออกความเห็นทีหลัง

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : น่าจะเป็น 2 เรื่อง หนึ่งก็คือ เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องภัยธรรมชาติ เปรียบเทียบกับเมืองไทยด้วยอีกครั้งหนึ่ง เพราะเมืองไทย ท่านผู้ฟังครับ บางคนอาจจะรุ่นเด็ก ๆ เคยมีพายุไต้ฝุ่น ผมจำความได้นะ สมัยที่ผมไปเรียนหนังสือที่นิวซีแลนด์ครั้งแรกนี่ เขาเรียกไต้ฝุ่นแหลมตะลุมพุก จีรวัฒน์อาจจะยังไม่ได้เกิด แล้วก็มีพายุเกย์ แต่อันนั้นมันจะกระทบมาทางอ่าวไทย ซึ่งเรียกว่าเป็น เขาเรียกว่าไต้ฝุ่น แต่ว่าทางพม่า มันเกิดจากความร้อน

พิธีกร : ใช่ครับ  เป็นพายุไซโคลน

ศ.ดร.จีระ :มหาสมุทรอันดามัน.ใช่ไหม

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ. แล้วเขาก็จะบอกว่า กระทบผ่านไทยไปพม่า แล้วก็จะไปบังคลาเทศ ไซโคลนนี่รุนแรงที่สุดอยู่ในบังคลาเทศส่วนใหญ่ แต่ผมเพิ่งทำรายการโทรทัศน์ไป ผมก็ถามผู้สื่อข่าวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพิธีกร คำว่าไซโคลนนี่แปลว่าอยู่ในแถว Asia หรือเปล่า ไม่ใช่ ไซโคลนที่ไหนก็ได้ เพียงแต่ว่าจะต้องมาจากความร้อนของมหาสมุทร ไซโคลนเกิดขึ้นในซิมบับเวก็ได้  ฉะนั้นมันก็น่าสนใจ ทำไมในอเมริกาเรียกว่า อะไรนะ เฮอริเคน  ทำไมในเมืองไทยเรียกว่าได้ฝุ่น แล้วทำไมในพม่าเรียกว่าไซโคลน ซึ่งอันนี้ท่านผู้ฟังครับ เวลาเปิดเข้าไป คำว่าไซโคลน search เข้าไปใน Internet นี่ โหมีข้อมูลเยอะแยะเลย  

แล้วเผอิญผมก็ชอบเรียนรู้พวกนี้ เพราะว่าผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ กับทรัพยากรมนุษย์ เพราะมนุษย์เราต้องทำ 2 อย่าง คือป้องกัน  early warning อพยพให้ได้ เสร็จแล้วพอมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาวิกฤติ อย่างวันก่อนจีรวัฒน์ ผมเดินไปที่โรงแรม Landmark  มีฝรั่งคนหนึ่ง อาชีพเขา decatur psychologist น่าสนใจมากเลย คือเป็นอาชีพใหม่ คือวิกฤติการณ์ในโลก ไม่ว่าจะเป็น earthquake ไม่ว่าจะเป็น Tsunami มันจะเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเขาก็มีอาชีพใหม่

อย่างคราวนี้ที่พม่านี่ สิ่งแรกที่อันตรายที่สุดก็คือ สุขภาพอนามัยแล้วก็สุขภาพจิต แล้วก็วันนี้มีคนพูดกันเรื่องโรคระบาดด้วย ฉะนั้นการที่สร้างความรู้สึกเหมือนกรมสุขภาพจิตของเรา เวลาไปที่ Tsunami นี่จะช่วยกัน อาชีพใหม่ของเด็กรุ่นใหม่ ผมว่าถ้าจะเรียนก็เรียนทางด้านจิตวิทยา แต่ว่าแทนที่จิตวิทยาในการทำงาน ก็จะเป็นจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่องการแก้ปัญหา crisis คือจีรวัฒน์ เอาตัวเราเองไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น น้ำก็ไม่มี ไฟก็ไม่มี ข้าวก็ไม่มี อะไรอย่างนี้ แล้วก็จะปรับตัวเองยังไง ในเมื่อมันเสียหายไปแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้นอันนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่หนึ่งที่เราเรียนรู้ search เข้าไปใน Internet เกี่ยวกับพายุต่าง ๆ ซึ่งผมเองก็ยังไม่ได้เก่งเรื่องนี้

สองผมว่าน่าจะเข้าใจถึงรัฐบาล เรามีรัฐบาลไปเพื่ออะไร คือพม่า ตามปกติเขาก็รู้อยู่แล้วว่ามันห่วย แต่มันห่วยยกกำลังห้า แล้วก็ไม่รู้ผู้นำเขาทำไมเลือดเย็นอย่างนั้น แต่ว่าถ้าดูอีกมุมหนึ่ง ท่านผู้ฟังครับ มันก็เป็นเรื่องจิตวิทยาของคน ดูทิเบตกับจีน ไม่ว่าเขาจะประท้วงยังไง รัฐบาลจีนก็ยังนิ่งเฉย แล้วก็ล่าสุดในหนังสือ Economist ก็บอกว่าจีน ลึก ๆ แล้วโกรธ โกรธโลกที่ยังจะต้าน จะมี Olympic เป็นเรื่องใหญ่โตของฉัน แล้วก็สื่อ 95 % ด่าเรื่องทิเบต มันก็ไม่เห็นเปลี่ยนใจเขา เหมือนวันนี้หลายคนไม่ชอบการแก้รัฐธรรมนูญ ก็เลยเปลี่ยนใจรัฐบาลชุดนี้ได้ไหม  ฉะนั้นประเด็นที่สองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ Psychology ของการเมืองแต่ละประเทศ แล้วคุณจีรวัฒน์ คุณเรียนรู้อะไรจากรายการของเราในเช้าวันนี้ ในเรื่องพม่า ที่สื่ออื่นอาจจะไม่มีมุมมองเหมือนเรา 

พิธีกร : ครับ ความรู้สึกแรกเลยนะอาจารย์ครับ ผมมองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่าในครั้งนี้ มันเหมือนความเดือดร้อนที่เกิดในบ้าน ๆ หนึ่ง ที่เขาปิดบ้านไว้ครับ

ศ.ดร.จีระ : แล้วไม่มีคนไปช่วย

พิธีกร : ใช่

ศ.ดร.จีระ : คือเขาก็บอกไม่ต้อง เขาจัดการเอง

พิธีกร : มันทำให้เกิด มองในแง่ประเทศเขา ก็ค่อนข้างเรียกว่า ไม่รู้จะปิดประเทศไปทำไม มองในแง่ของว่าความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่จะไหลเข้าไป ช่วยได้ทันเวลา ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องใหญ่ที่เรื่องของการลงคะแนน เรื่องของร่างรัฐธรรมนูญต่าง ๆ นี่ ประชาชนส่วนหนึ่งก็ค่อนข้างไม่พอใจ

ศ.ดร.จีระ : แทนที่เขาจะเลื่อน

พิธีกร : ใช่ครับ 

ศ.ดร.จีระ : ก็แสดงว่าการประชามติครั้งนี้ดีสำหรับเขา ล่าสุด ผม check Internet แล้ว คะแนนเบื้องต้นบอกว่าดีสำหรับรัฐบาลจะได้อยู่ต่อ

พิธีกร :  ใช่ แต่ว่าไปในทางกลับกันก็คือ สถานการณ์แบบนี้ ความเดือดร้อนต่าง ๆ ขนาดนี้ มันน่าจะมี priority ของการบริหารจัดการประเภทที่เป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่านี้

ศ.ดร.จีระ : ประเด็นก็คือคุณคิดใน rational ของคุณ ก็คือเหตุผล แต่ว่า rational ของผู้นำพม่าก็คือ ฉันต้องอยู่รอดก่อน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ท่านผู้ฟังต้องเข้าใจ เพราะว่าเวลาเราอยู่ในสถานการณ์ที่มีเหตุมีผล พระเจ้าอยู่หัว ท่านเรียกว่าเป็น system thinking หรือคุณ Peter Senge ก็บอกว่าคนเราจะเป็นสังคมการเรียนรู้ได้ ต้องรู้เหตุและผล อะไรอย่างนี้ แต่เหตุและผลมันจะเป็นลักษณะผลประโยชน์ mutual แต่ของเรานี่ผลประโยชน์ของผู้นำพม่าเขาไม่เป็นกลางนี่ ฉะนั้นเวลาบางทีเราเห็นการเมือง บางคนแต่ก่อนดี เดี๋ยวนี้วิ่งเข้าไปหาการเมือง แล้วก็ทำตัวประหลาด ไม่ต้องอธิบายว่าเป็นใคร แล้วก็เราก็ประหลาดใจในตัวเขา แต่ว่าในระยะสั้นเขาได้ เขาได้เป็นรัฐมนตรี ได้ไปโน่นไปนี่ ก็เป้าหมายเขาอาจดังแค่ระยะสั้นก็ได้ ไม่ต้องการดัง ยั่งยืน 80 ก็ยังมีคนนับถืออยู่ เขาอาจจะคิดว่าในชีวิตเขา ได้เป็นรัฐมนตรีสักครั้งหนึ่ง ก็อาจจะคุ้มอยู่ มันอยู่ที่วิธีการคิด จีรวัฒน์ ฉะนั้นผมก็ว่า ท่านผู้ฟังครับ โลกในอนาคตนี่ ถึงอยากให้เป็นสังคมการเรียนรู้

พิธีกร : ครับ เดี๋ยวเราต้องไปพักฟังสิ่งที่น่าสนใจสักครู่ครับ เดี๋ยวกลับมาต่อในช่วงหน้าครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ผมมีเรื่องพูดเยอะเลยครับท่านผู้ฟัง ผมจะขอเรียนนิดหนึ่ง พอเข้ามาปุ๊บ ผมจะพูดเรื่อง McCain สัก 5 นาที เสร็จแล้วผมจะขอพูดเรื่องคนชั้นกลางกับรากหญ้าจะต้องทำงานร่วมกันอย่างไร แล้วจะขอเป็นโครงการที่เกิดขึ้นใน Human talk ซึ่งผมจะเป็นผู้ประสานงาน เสร็จแล้วผมก็จะพูดถึงการพัฒนาผู้นำแบบใหม่ ถ้ามีเวลานะ

พิธีกร : ครับ สักครู่ครับ อาจารย์ครับ

โฆษณา

 

พิธีกร : ครับ พบกันในช่วงที่สองของรายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า ทาง FM 96.5 MHz กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ

ศ.ดร.จีระ : ย้ำอีกที คุณจีรวัฒน์ หลังจาก 7 โมงแล้ว จบรายการแล้ว ผมจะนั่งอยู่ที่บ้านผม แล้วก็ท่านผู้ฟังที่อยากคุยกับผม จดไว้เลยนะครับ 886-4254 เป็นเบอร์บ้าน ผมก็จะให้โอกาสท่านได้คุยประมาณสัก 30 45 นาที  สุดท้าย ผมก็จะจบรายการแล้วก็จะไปวิ่งเลย ไม่งั้นตายเลย เหมือนคุณจีรวัฒน์

          ท่านผู้ฟังครับ เขาเป็นคนที่เด็กรุ่นใหม่ที่ออกกำลังกาย แล้วก็ เป็นเรื่อง habit ในการออกกำลังกาย นี่เป็นเรื่องสำคัญ มีคนถามว่าเอ๊ะทำไมยังทำงานอยู่ อายุ 60 กว่าแล้ว ความจริงอายุมันเป็นแค่ตัวเลข วันก่อนเจอคุณหมอเฉก ท่านก็ 83 อะไรนี่แล้วก็จีรวัฒน์ลองคิดดู เวลาเรามอง อย่างคุณชวลิต หรือคุณบรรหารนี่ แล้วรู้ไหมท่านแก่ แต่จริง ๆ แล้วท่านยังมีพลัง เดี๋ยวนี้ก็มีทฤษฎีใหม่ เขาเรียกว่า Energy คือถ้าเรามี Energy อยู่ มีพลังอยู่ อายุ 60 , 70 , 80 ก็ไม่สำคัญ บางคนเด็กอายุ 18 แกติดยา หมด Energy ไปแล้ว ฉะนั้นท่านผู้ฟังที่อยากจะปรึกษากับผม คุยกับผม จะได้มีโอกาส เพราะมีคนอยากคุยเยอะแต่หาเบอร์ไม่เจอ อย่างคุณธนะชัยที่ผมเล่าให้ฟัง ซึ่งผมจะเชิญท่านมาเป็นแนวร่วม คือถ้าใครก็ตาม บ้าความรู้ แล้วก็พร้อมจะเป็นแนวร่วม บางทีคุณก็ไปดูงานของผมได้ ผมมีงาน 7 วันนี่มีแทบทุกวัน จะได้ให้สื่ออันนี้เป็นประโยชน์ ก็ย้ำอีกทีนะครับ 886-4254 แต่ว่าจะอยู่ได้ประมาณชั่วโมงเดียว หรือ 45 นาที แล้วเดี๋ยวผมก็ต้องไปออกกำลังกาย จีรวัฒน์ตอนนี้ออกทุกวันไหม

พิธีกร : ก็พยายามทำให้มากที่สุด ครับอาจารย์ครับ

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 183034เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 05:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ศ.ดร.จีระ : แต่เด็กรุ่นใหม่นี่ อย่างรุ่นคุณนี่ กว่าจะเข้าใจเรื่องออกกำลังกาย โดยมากก็จะ 35 เกือบ 40 มั้ง โดยมากช่วงแรกก็จะบ้างาน เป็นของธรรมดาท่านผู้ฟัง ผมหนุ่ม ๆ รุ่นจีรวัฒน์นี่ ผมไม่ได้กลับบ้าน ทำสองสามทุ่มผมถือว่าธรรมดา เพราะตอนนั้นเราฟิต แต่เราลืมไปว่า ฟิตนี่ ถ้าเราไม่ดูแลตัวเราเอง เหมือนรถ ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง เราก็ไม่รอด การจะเป็นคนที่สมบูรณ์ในชีวิตที่ต้องมีทั้งจิตใจ ร่างกาย แล้วก็ออกกำลังกาย นี่สำคัญที่สุด

พิธีกร : ครับ เมื่อช่วงแรกในรายการ Human talk เราได้เปิดประเด็นในเรื่องของประเทศเพื่อนบ้านของเรานะครับ ก็เป็นการที่พายุไซโคลน Nargis ได้เข้าถล่มประเทศพม่า แล้วก็ก่อความเสียหาย ทั้งทรัพยากรมนุษย์แล้วก็ทรัพยากรทั่วไปด้วย ก็ถือว่ามีประเด็นที่เราได้เรียนรู้จากอาจารย์หลายประเด็นด้วยกัน

ศ.ดร.จีระ : แต่ว่าประเด็นสำคัญที่สุด ให้รู้จักชนิดของพายุด้วย

พิธีกร : ครับ เพราะว่า

ศ.ดร.จีระ : มีหลายชนิดเหลือเกิน

พิธีกร : ครับ ลองเข้าไปดูข้อมูล

ศ.ดร.จีระ : แต่ว่าไซโคลนนี่ ใน web นี่เยอะมาก

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : แล้วก็ เรา ผมเองเป็นแนวร่วมกับท่านอธิบดีศุภฤกษ์ ลูกน้องผมก็เป็นคนทำ web ให้ท่าน ท่านก็เป็นคนที่มองประชาชนเป็นแนวร่วมด้วย เดี๋ยวนี้มีไต้ฝุ่นหรือน้ำถล่มก็มี จีรวัฒน์ โดยอะไรนะ น้ำป่าไหลบ่า อะไรอย่างนี้ ท่านก็ต้องไปช่วยเขา เพราะเป็นกลุ่มหนึ่ง แต่ก่อนเราคิดว่า คนจบอุตุนิยม อะไรอย่างนี้ ไม่มีคนเรียน จริง ๆ แล้ว ในอเมริกามี University of Washington ที่ผมเรียนมีวิชาหนึ่ง oceanography ดังมากเลยในโลกนี้ เกี่ยวกับเรื่องศึกษาเกี่ยวกับมหาสมุทร ไทยเราต้องวิศวไฟฟ้า ต้องหมอ อย่างที่ผมเล่าให้ฟังว่า decatur psychologist น่าสนใจมาก ฉะนั้นผมคิดว่าคนไทยเก่งจิตวิทยา ก็น่าจะเรียนเรื่องเหล่านี้ บางทีเราจะมีประเด็นเรื่องอาชีพต่าง ๆ ด้วย เวลาผมเจอใคร ผมก็จะเล่าให้ฟัง แล้วก็เวลาที่เหลืออยู่ ขอเวลา 5 นาที พูดถึง

พิธีกร : McCain

ศ.ดร.จีระ : คุณ McCain นี่เราไม่ค่อยได้พูดถึงเขา อาจจะเป็นเพราะว่า ผมว่าอันที่หนึ่งก็คือ แกชนะเร็วไปมั้ง จีรวัฒน์ คู่แข่งไม่มี แต่ตอนนั้นคู่แข่งของแก มีคนชื่อ Mitt Romney ซึ่งเผอิญเขาเป็นศาสนา norman แล้วบุคลิกดี พ่อเขาเคยเป็นนักการเมืองมาก่อน แต่อยู่ดี ๆ แกก็แพ้คุณ McCain ค่อนข้างจะลิ่วเลย แล้วก็ทีแรก มีคนบอกว่า McCain เหมือนกับ come back pitch เงินก็ไม่ค่อยมี แต่จริง ๆ แล้วคำว่าเงิน

วันนี้ผมอยากจะพูดให้ฟังนิดหนึ่งว่า ชีวิตของแก ตอนที่แกยังไม่ได้เป็นนักการเมือง หลังจากกลับมาจากเวียดนามแล้วนี่ แกก็ได้ทำงาน ช่วงนั้นจีรวัฒน์ อาชีพแรกของเขานี่ เขาเป็น PR นะ เหมือนจีรวัฒน์เลย เขาอยู่ในบริษัทของภรรยาคนปัจจุบันของเขา เป็นบริษัท beer distributor คล้าย ๆ เป็นตัวแทนขาย Beer แล้วก็ในที่สุดก็แต่งงานกัน

แล้วเขา ตอนนี้เขากำลัง ใน Internet เขามีการ search ข้อมูลกันว่า ภรรยาท่านมี network ก็ไม่เยอะนะ ถ้าเทียบกับคนอเมริกา แต่ว่าเขามีทรัพย์สินโดยประมาณ 100 ล้านเหรียญ US ซึ่งก็เป็นรายได้ที่.. แล้วก็ เขาก็จะแบ่งเลย คุณ McCain แกรู้แกจะเล่นการเมือง แกก็บอกว่านี่เงินของเมียแก ไม่เกี่ยวกับตัวแก แล้ววันก่อน ก็มีคนหนึ่งบอกให้ภรรยาแกเปิด เหมือนแกเปิดบัญชีทรัพย์สิน แล้วแกก็ถือเท่าไร ภรรยาแกบอกไม่ใช่ ไม่ใช่เงินของคุณ McCain อะไรอย่างนี้ แล้วผมคิดว่ามันจะเป็นประเด็นในการโจมตีเรื่องการหาเสียงของเขาเหมือนกัน เพราะว่าถึงแม้ว่าเขาแยกกันในการใช้ทรัพย์สิน

แต่จีรวัฒน์ก็รู้ใช่ไหมว่า บางทีสามีภรรยามันก็ทำให้การช่วยเหลือในการหาเสียงอาจจะมาจาก... มีครั้งหนึ่งแกก็ไปเปิดงานเกี่ยวกับรถยนต์ รถแข่งจีรวัฒน์ รถแข่งนี่กิน beer เยอะนะ แกก็ได้คะแนนมาแบบนี้ ก็เลยคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ส่วนในด้านการเมืองของแก มีเรื่องที่จะต้องคิดแค่ 2 เรื่องตอนนี้ หนึ่งแกแก่เกินไปหรือเปล่า อายุ 72 นี่กว่าจะเป็นครบเทอมแรกก็ 76 แต่แน่นอนสมัยนี้บางคน เขาจะอะไรนะ stem cell ก็อยู่ได้ แล้วสองมีอยู่ว่า แกเป็นพรรค Republican

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : ซึ่งก็ถูกคนอเมริกันด่ามาครบ 8 ปีพอดี เพราะฉะนั้นแกจะมีเชื้อของคุณ Bush ติดมาแค่ไหน ท่านผู้ฟังก็คงจะต้อง... แล้วก็อาจจะเป็นประเด็นที่สามก็คือ ถ้าแกจะเลือกคนเป็น vice president นี่จะต้องเลือกคนหนุ่ม เพราะแกแก่ แล้วก็มีคนพูดกันตลก ๆ เลย จีรวัฒน์ บอกว่า ถ้าคุณ Obama เป็น แกต้องเลือกคนแก่มาเป็น vice president เพื่อจะให้มัน Balance กัน เพราะ Obama อายุน้อย แล้วก็ข่าวล่าสุดก็คือ ที่เราเคยพูดกันถึงเรื่อง Super delegate ล่าสุดใน web เขาพบปรากฏว่า คุณ Hillary โอกาสที่จะถอนตัวนี่สูง เพราะว่า Super delegate ขณะนี้ก็ไปอยู่กับ Obama นี่เกินครึ่งแล้ว

เพราะฉะนั้นคะแนนทางคณิตศาสตร์นี่ ไม่ว่าคุณ Hillary จะชนะที่ West Virginia หรือเปล่า อะไรอย่างนี้ คะแนนแกก็ตีตื้นไม่ได้ ชนะไม่ได้ แต่ว่าอาจจะ เรียกว่า รู้สึก ไม่มีใคร ตัดสินไม่ได้จนบางครั้ง convention ได้ ผมคิดว่าคุณ Hillary น่าจะถอยให้เป็น ในความเห็นผม คืนนี้สองวันที่แล้วคุยกันที่ประชุมสภาของมหาวิทยาลัย Stamford ท่านอาจารย์ณรงค์ชัยที่ท่านเป็นกรรมการ ท่านก็มาเล่าให้ฟังว่า บางทีการเป็นผู้นำที่ดีนี่ อาจจะต้องว่าตรงไหนเราหยุดก่อน เพื่อจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง อย่างคุณ Hillary แกต้องคิดว่าจะแพ้อย่างสง่างามอย่างไร

ผมจำได้คนที่ทำเรื่องนี้ได้ดีคือ นายกฯ เปรม ท่านเคยเป็นนายกฯ มาตั้ง 12 ปี แล้ววันหนึ่งท่านก็บอก ท่านพอแล้ว การถอยที่ดีก็เป็นความสำเร็จอันหนึ่งของมนุษย์เรา ฉะนั้นมนุษย์เราไม่จำเป็นต้องชนะตลอด ถอยเพื่อจะตั้งหลัก คุณรู้ไหม อย่าง Nelson Mandela จีรวัฒน์รู้ไหม เขาอยู่ในคุกตั้ง 27 ปี เขาก็กลับมาได้ ฉะนั้นมนุษย์เราต้องมองความยั่งยืน ความจริงก็มีคนพูดถึงคุณทักษิณว่าท่าน จังหวะที่ท่านเข้า ท่านออก ท่านถอย อะไรอย่างนี้ บางทีมันอาจจะเป็นจุดที่ไม่เหมาะสมเท่าไร ก็อาจจะเป็นบทเรียนสำหรับนักการเมืองทั่ว ๆ ไป

พิธีกร : ครับ ซึ่งของคุณ McCain นี่เขาก็ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ก็พูดกันว่าในแต่ละท่านก็ถือว่าจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองอเมริกาเลยก็ว่าได้ อย่างของคุณ McCain ก็จะเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยเช่นเดียวกัน ในฝั่งของคุณ Obama

ศ.ดร.จีระ : ผิวดำ

พิธีกร : หรือ คุณ Hillary ก็เหมือนกัน ก็ถือว่าเป็น new record ใหม่ของ..

ศ.ดร.จีระ : เป็นทั้งผู้หญิง เป็นทั้งผิวดำ

พิธีกร : แล้วก็ แต่ว่าในส่วนของคุณ Obama เอง ได้ข่าวมาว่า ถ้าในกรณีคุณ Hillary นี่ไม่ได้เป็นตัวแทน ก็มีการทาบทามให้เป็น สมัครในตัวแทนรองประธานาธิบดี

ศ.ดร.จีระ : ความจริงอันนี้ก็น่าคิดนะ แทนคุณ Hillary มองระยะช่วงที่แก อยากจะมีบทบาท มาเป็น vice president ก็ได้

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : เพราะว่าคุณ Obama ถึงจุดหนึ่ง เลือกตั้งใหญ่เดือนพฤศจิกา มันก็ไม่ง่ายหรอก เพราะว่าคนที่อเมริกาที่ผมเคยเล่าให้จีรวัฒน์ฟัง เป็นคนค่อนข้างจะ conservative อนุรักษ์นิยม แล้วก็ยิ่งไปบอกจะถอนทหารอะไรอย่างนี้ คนชอบก็มีเยอะ แต่คนชอบจะเป็นพวกอ่านหนังสือพิมพ์ New York Time อะไรอย่างนี้ เหมือนคนจบธรรมศาสตร์ ก็จะมี view เกี่ยวกับการเมืองอย่างหนึ่ง แต่ไปเจอ view การเมืองในบุรีรัมย์อย่างนี้ มันก็ขัดแย้งกัน ซึ่งพวกนี้เราต้องเป็น เป็นเรื่องของความจริง แล้วก็ตอนหลังนี่

ในเรื่องพูดถึงการเมืองนิดหนึ่งก็มีสัญญาณออกมามากขึ้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผู้นำอย่างคุณอภิสิทธิ์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องกล้าพูดว่า ท่านจะเหมาะสมในการเป็นผู้นำของพรรคต่อไปหรือไม่ อันนี้หมายถึงคนอื่นพูดนะ ผมยังไม่ได้พูด แต่การมองผู้นำนี่ก็สำคัญ เพราะผู้นำ ถ้าให้โอกาสแล้ว มันก็ต้องฉกฉวย ทำให้ได้ ไม่ใช่เป็นผู้นำไปเรื่อย ๆ แล้วก็เป็นผู้แพ้ไปเรื่อย ๆ ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่การเมืองนี่มัน... ผมเรียกว่าเป็นการเมืองประเภทโหดร้าย จีรวัฒน์ โหดร้ายนี่ คือถ้าใครไม่พร้อมก็อย่าเข้าไป แต่ถ้าทำแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ ถ้ามีโอกาสแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ ก็จะเป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องหัวหน้าพรรคอภิสิทธิ์ ก็มีมากขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท่านเองจะต้องสำรวจตัวเองมากขึ้น ว่าจะนำไปทางไหนกันแน่

พิธีกร : ครับ ก็เหลือเวลาอีกประมาณไม่ถึง 10 นาทีดีนะครับอาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ที่ผมอยากจะพูดก็คือ เมื่อวันพุธ วันพฤหัส ผมได้เริ่มเปิด course อีกครั้งหนึ่งรุ่นที่ 4 ของผู้นำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ท่านผู้ฟังที่ติดตามมาก็จะรู้ว่าผมไปฝึกผู้นำ แล้วเวลาผมทำ ผมจะทำค่อนข้างจะครบ ก็คือคัดเลือกบุคคล ที่ผ่านมา 3 ครั้ง ก็คัดเลือกระดับผู้อำนวยการฝ่าย ท่านผู้ฟังครับผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เขาดูแลคนบางทีตั้ง 800 คนนะ คราวนี้ผมก็เลยขอท่านผู้ว่าสมบัติ ซึ่งก็เป็นรุ่นน้องผมที่เทพศิรินทร์ ขอให้ท่านเลือกระดับหนึ่งลงมาหน่อย จีรวัฒน์ เรียกว่าเป็นผู้ช่วยฝ่าย ซึ่งในฝ่ายแต่ละฝ่ายก็จะมีประมาณเกือบ 100 ฝ่าย มีผู้ช่วยฝ่ายประมาณ 100 กว่าคน แล้วเลือกมาให้ผม 40 คน

แล้วผมก็เลยได้พาเขาไปเรียนหนังสือที่.. สำหรับโรงแรมนี้หลายคนคงยังไม่เคยไป ก็น่าจะไป ชื่อโรงแรมคือ ทวารวดี ผมเคยบอกจีรวัฒน์แล้วหนหนึ่ง เลยปราจีนบุรีไปหน่อย ใกล้ ๆ กับพนมสารคาม ประเด็นผมจะมีเรื่องเดียวก็คือ เวลาผมสอนหนังสือ ผมอยากให้คนได้มาถกเถียงกัน เวลานั่งรถ bus ก็อย่าไปร้องเพลงอย่างเดียว อาจจะมีการหารือกัน แล้วปรากฏว่า ระหว่างที่ผมนั่งกลับมาก็มี หนึ่งใน 38 คนเข้ามากระซิบกับผมเรื่อง เขาเรียกว่าการเลือกตั้งกับโครงสร้างประชากร

ซึ่งเรื่องนี้หลายคนก็รู้อยู่แล้ว แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าจะแก็ยังไง ก็คือจำนวนประชากรที่มีรายได้น้อย ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในภาคอิสาน แล้วก็ส่วนหนึ่งในภาคเหนือ รวมกันแล้วจำนวนก็เกือบครึ่งหนึ่ง ของ สส. ทั้งหมด หรือบางครั้งเราเรียกว่ารากหญ้า ฉะนั้นถ้าเราแบ่งขั้ว ขั้วนี้ไปอยู่กลุ่มของพรรคคุณทักษิณหรือ nominee ของคุณทักษิณ อีกขั้วหนึ่งคือ คนชั้นกลาง อาจจะเป็นคนภาคใต้ หรือคนที่อยู่ในชุมชนเมืองเข้ามาขั้วประชาธิปัตย์อย่างนี้ แต่ก่อนนี้มันก็ไม่แบ่งขั้วอย่างชัดเจน

สมัยคุณชวลิตเป็นนายกฯ นี่ ท่านก็จะได้ภาคอิสานบางส่วน ไม่ได้ได้หมด คราวนี้มันก็เลยคล้าย ๆ แบ่งเป็น 2 ขั้ว ลูกศิษย์ผมคนนี้ก็เลยถามว่า เอ๊ะอาจารย์ครับ แล้วคนชั้นกลางกับคนรากหญ้านี่ จะแบ่งกันอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ หรือเปล่า หรือว่ากลัวจะไม่มีขั้ว เขาก็เลยบอกว่า คนกรุงเทพฯ ก็ดีที่มี.. ยกตัวอย่าง จีรวัฒน์เป็นตัวอย่าง มีรายได้ดี มีความู้ดี แต่วันนี้คุณไม่มีบทบาทในการเมืองแล้ว เพราะว่าคะแนนไม่พอ คุณก็จะถูกคนที่มีปริมาณมากกว่า กำหนดนโยบาย ฉะนั้นถ้าการเมืองอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

อย่างในอดีต เขาจะให้คน เขาเรียก proportional vote คือคนไหนมีความรู้ก็จะได้คะแนนมากหน่อย ซึ่งเดี๋ยวนี้ประชาธิปไตยไม่มี มัน one man one vote ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ทำยังไงถึงจะให้คนที่มีความรู้มีบทบาทมากขึ้น ฉะนั้นผมก็เลยเขียนบทความอันนี้ขึ้นมา เพราะว่าตัวผมเอง ผมทำอยู่แล้ว ผมไปภาคอิสาน ไปภาคเหนืออยู่แล้ว แล้วก็รู้ว่าคนภาคอิสาน ภาคเหนือนี่เป็นคนที่ใฝ่รู้ แต่เขายังไม่ได้เป็นสังคมการเรียนรู้ เพราะว่าเขาไม่มีโอกาสที่มีคนมารับฟังความคิดเห็นของเขา ให้เขาได้เห็นปัญหาในอนาคต ได้เห็นถึงสิ่งที่เขาควรจะต้องดูแลประเทศทุกกลุ่ม ไม่ใช่ดูแลเฉพาะรากหญ้า

ฉะนั้นผมก็เลยเสนอว่าน่าจะมีตัวเชื่อมไปสู่รากหญ้า อย่างเช่นวันนี้ถ้าเราพูดถึงภาคเกษตร ถ้าเราไม่เอา modern management เข้าไปแก็ปัญหาภาคเกษตร ภาคเกษตรก็อยู่ไม่ได้ ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คนกรุงเทพฯ ซึ่งมีพลังในด้านการเงิน ในด้านความรู้ ในด้านการจัดการ อย่าต่างคนต่างอยู่ มีการเชื่อมโยงกันกับคนเหล่านี้ด้วย ความจริงวันนี้มีการเชื่อมโยงอยู่แล้ว 2 ด้านนะจีรวัฒน์ ไหนลองทดสอบความสามารถจีรวัฒน์ดู คิดว่าเราเชื่อมโยงกับคนเหล่านี้อย่างไร

พิธีกร : บางทีเราต้องเรียนถามอาจารย์ว่า จริง ๆ แล้วเรื่องของการเชื่อมโยงครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : มีเชื่อมโยงอยู่แล้ว ผมยกตัวอย่าง คนที่อพยพ รุ่นหนุ่มรุ่นสาวอพยพมาทำงานในกรุงเทพฯ นั่นก็เป็นการเชื่อมโยงอย่างหนึ่ง แต่เป็นการเชื่อมโยงทางด้านอาชีพ

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : แต่ไม่ได้เป็นการเชื่อมโยงทางด้านความรู้ แล้วก็สองผมคิดว่า เด็กรุ่นใหม่ที่มาเรียนมหาวิทยาลัย ก็เป็นเด็กต่างจังหวัด

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : มันก็เป็นการเชื่อมโยง แต่ว่าจำนวนยังไม่พอ แล้วผมยกตัวอย่าง เด็กรับใช้ที่บ้านหรือผู้ช่วยแม่บ้านที่บ้านผม ก็เป็นคนอิสาน แต่ผมรับประกันได้เลย ที่บ้านผมนี่ เขาเข้าใจ เขาเข้าใจแล้วว่าสถานการณ์เป็นไง คือคำว่ามาอยู่กรุงเทพฯ นี่ มันไม่ได้มาทำงานอย่างเดียว เพราะว่าคนกรุงเทพฯ กลุ่มหนึ่งที่เปลี่ยนมาเป็นคนชั้นกลาง ก็คือคนรากหญ้าในอดีตใช่ไหม ลูกหลานคนรากหญ้า แต่จำนวนมันไม่พอ จำนวนยังไม่พอ ที่จะเห็นว่าการเมืองเป็นยังไง จะไปในทิศทางไหน เราก็ต้องมียุทธศาสตร์ที่จะต้องเข้าใจ

ลูกศิษย์ผมท่านหนึ่ง ท่านก็เลยยกตัวอย่างว่า หนึ่งคนชั้นกลางก็คงจะต้องเริ่มนึกถึงคนรากหญ้าด้วย สองต้องเอาปราชญ์ชาวบ้าน ต้องเอาพระ ต้องเอานักวิชาการมาทำงานร่วมกัน แล้วก็ต้องเป็นกระแส ต้องปลุกกระแสขึ้นมา ไม่ใช่ทำเล็ก ๆ บางทีก็ได้ประโยชน์แค่พันคน สองพันคน ต้องเป็นกระแสที่ทำแล้วได้ผล อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของสังคมในเมือง คราวนี้ในเมืองต่างคนต่างอยู่ จีรวัฒน์ลองสังเกตดู เป้าหมายของพ่อแม่ พอมีลูกแล้วก็จะให้ลูกเข้าเรียนโรงเรียนประถมดี ๆ เสร็จแล้วเรียนมัธยมได้ดี เสร็จแล้วเรียนมหาวิทยาลัยได้ดี แล้วเสร็จแล้วคนปกครองเราที่ไม่ทันกับโลกาภิวัตน์ หรือทันแต่ว่าเรารู้ไม่เท่าทันเขานี่ ก็ไม่รู้จะมีคนเก่งไปเพื่ออะไร

ฉะนั้นประเทศของเราก็ต้องมีศักดิ์ศรีอยู่ในโลกด้วยความสง่างาม เอาความรู้.. คือผมไม่ได้บอกว่ารากหญ้าไม่สำคัญ แต่ว่าเราจะต้องผสมกันระหว่างคนที่มีความรู้.กับคนที่... คือตอนนี้ไม่อยากให้ปริมาณเป็นตัวกำหนดทิศทางของการเมืองเรา เราไม่ต้องบอกว่ารอไปสักพักหนึ่งเถอะ โครงสร้างประชากรก็คงจะเปลี่ยน มันก็เปลี่ยนจริงนะท่านผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ตัวเลขคนอยู่ในภาคเกษตรนี่ สมัยผมสอนใหม่ ๆ เคยถึง 70 % สมัยจีรวัฒน์เรียนกับผมก็เห็นแล้ว trend มันจะลงมาเหลือประมาณ 45 แต่ 45 คนในภาคเกษตรยังสูงอยู่นะ สูงมากเลยสำหรับประเทศที่มีความเจริญแบบไทย

ท่านก็เห็น ท่านผู้ฟังก็เห็น พอเกษตรทำท่าจะดี คนที่ได้ประโยชน์กลับไม่ใช่ภาคเกษตร กลับเป็นนายทุนขุนศึกไป ผมก็เลยเขียนบทความขึ้นมาว่า คนชั้นกลางกับรากหญ้า แล้วผมดู rating ของบทความผมคราวนี้จาก web ของแนวหน้า ปรากฏมีคนเห็นด้วยหลายคน แล้วก็มันไม่ได้แปลว่าเราจะเป็นนักการเมือง เพียงแต่ว่าเราอยากจะมีความเชื่อมโยงกัน ระหว่างภาคชนบทกับภาคเมือง อย่าไปแยกกัน เหมือนที่อาจารย์เอนกเคยพูดเลยนะ สองขั้วอะไรอย่างนี้ มันไม่น่าจะมีขั้ว เพราะว่าคนในกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งที่เป็นคนชั้นกลาง ก็อดีตก็เป็นคนต่างจังหวัด อย่างพ่อผมก็สุนทร หงส์ลดารมภ์ ก็เป็นคนต่างจังหวัด คนนครสวรรค์

แต่วันนี้เขามีความคิดไปเรียนหนังสือ ความคิดเขาก็ต้องทันสมัย ต้องมอง มองทันสมัย เหมือนปัญหานี้ มันคล้าย ๆ ปัญหาที่พม่า แต่ของเรารุนแรงน้อยกว่า คนพม่า คนที่คุมคือ คนที่มีปืน แล้วก็มีอำนาจทางการเมือง ตรงนี้ก็เหมือนกัน ประชาธิปไตยก็คือการเลือกผู้นำ ถ้าจำนวนของคนในภาคอิสาน ภาคเหนือมากกว่า เราก็จะปล่อยอย่างนี้ไปไม่ได้ เราก็ต้องเข้าไป intervene เพื่อให้คนเหล่านี้เขาได้รับความรู้ คือจริง ๆ แล้วคือ Education แต่ว่าเป็น Education ที่มันเร็วหน่อย อย่างในสิงคโปร์เขาเรียกว่า Investing for the learning nation ใช่ไหม เขาคนเขาน้อย เขาก็จะ learning ไปให้สิงคโปร์นี่เป็นโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว ผมคิดว่าในเมืองไทย ขอให้คนเหล่านี้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น เข้าใจการเปลี่ยนแปลง เข้าใจว่าระยะสั้นมันคืออะไร ระยะยาวคืออะไร ไม่งั้น 500 พันหนึ่ง เขาก็ถือว่าคุ้มแล้ว สำหรับประเทศผมว่ามันไม่คุ้ม

พิธีกร : ครับ เราคงมาต่อในสัปดาห์หน้าครับ อาจารย์ครับ เพราะว่าเวลาหมดแล้ว

ศ.ดร.จีระ : ครับ

พิธีกร : ขอบพระคุณ อาจารย์ครับ ครับแล้วพบกันใหม่ได้ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ

รายการ Human Talk  2 พ.ย. 51 เชียร์ฝ่ายพันธมิตรมากเกินไป ขาดความเป็นกลาง นี่เป็นรายการวิชาการ โปรดอย่านำเสนอข้อมูลที่มีอคติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท