วิมุตติ


วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง

วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
       ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
       ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
       ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
       ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
       ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
           ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
           ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ

 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิมุตติ_๕
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%D4%C1%D8%B5%B5%D4_%F5

 

คำสำคัญ (Tags): #www.84000.org#วิมุตติ
หมายเลขบันทึก: 182919เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

               บทว่า เอวํ วิมุตฺตา ความว่า ความพ้นในบทนี้มี ๕ อย่าง คือ
               พ้นด้วยข่มไว้ (วิกขัมภนวิมุตติ) พ้นชั่วคราว (ตทังควิมุตติ) พ้นเด็ดขาด (สมุจเฉทวิมุตติ) พ้นอย่างสงบ (ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ) พ้นออกไป (นิสสรณวิมุตติ).
               ในวิมุตติเหล่านั้น สมาบัติ ๘ จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพ้นจากนิวรณ์เป็นต้นที่ข่มไว้ได้เอง. อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปสัสนาเป็นต้นจัดเป็นตทังควิมุตติ เพราะกำหนดด้วยสามารถเป็นข้าศึกของธรรมนั้นๆ เอง เพราะพ้นจากนิจจสัญญาเป็นต้นเหล่านั้น. อริยมรรค ๔ จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ เพราะพ้นจากกิเลสที่ตัดขาดแล้วเอง. สามัญญผล ๔ จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสงบของกิเลสด้วยอานุภาพมรรค. นิพพานจัดเป็นนิสสรณวิมุตติ เพราะพ้น คือเพราะปราศจาก คือเพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า พ้นแล้วอย่างนี้ด้วยสามารถแห่งวิมุตติ ๕ เหล่านี้.
               บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฎฺฐิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากความเป็นผู้ประทับอยู่พระองค์เดียว.
               ถามว่า สืบเนื่องกันอย่างไรจากบทว่า อิโต โส ภิกฺขเว ดังนี้.
               ตอบว่า ก็พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยสองบทเหล่านี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้แทงตลอดธรรมธาตุนี้ และว่าแม้ทวยเทพก็พากันกราบทูลความนี้แก่ตถาคตดังนี้.
               ในบททั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทกราบทูลของเทวดา จักใคร่ครวญถึงโกลาหลของเทวจารึกในตอนจบพระสูตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ด้วยสามารถการสืบเนื่องจากบทธรรมธาตุ.
               ในบทเหล่านั้น พึงทราบ ๑๑ บท เป็นต้นว่า ขตฺติโย ชาติยา โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทานกัณฑ์.

.. อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปทานสูตร
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1&Z=1454

สวัสดีครับ

P

1. ญาณภัทร
เมื่อ ส. 17 พฤษภาคม 2551 @ 09:56
656648 [ลบ]
  • ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
  • สุขสันต์เทศกาลวันวิสาขบูชาครับ

สวัสดีครับ

P

4. ดินทอง
เมื่อ ส. 17 พฤษภาคม 2551 @ 10:19
656671 [ลบ]
  • ขอให้เจริญในธรรมเช่นเดียวกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท