สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

การลงนามร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาขับเคลื่อน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขแห่งชาติ


นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ หรือHealhy Public Policy(HPP)เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็น พ.ร.บ ที่มีแนวคิดในการเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อผลักดันให้การตัดสินใจหรือดำเนินนโยบายหรือโครงการใดๆของภาครัฐ เอกชน หรือชุมนท้องถิ่นแสดงความห่วงใยและความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ขณะเดียวกัน พ.ร.บ ฉบับนี้ก็มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมทั้งทั้งทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และมีทางเลือกให้ประชาชนเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีได้ ดังนั้น นโยบายสาธารณะสุขเพื่อสุขภาพ(แห่งชาติ) นี้จึงมิใช่การกำหนดนโยบายทางด้านสาธารณสุขเพียงด้านเดียว หากแต่เป็นความพยายามที่จะนำแนวคิดเรื่อง สุขภาพ เข้าไปไว้ในความตระหนักหรือความคิดคำนึงในการกำหนดนโยบายด้านต่างๆเพื่อให้นโยบายเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชน

 การลงนามความร่วมมือในเพื่อเสริมสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภาคอีสานระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น(โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรขับเคลื่อน ) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 2551ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 4 ตึกสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่โดยท่านอธิการบดี มข. รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย  และนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการใสขภาพแห่งชาติ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการบุกเบิกงานด้านนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพภาคอีสาน การลงนามครั้งนี้ใช้ชื่อว่าพิธีลงนามความร่วมมือวิชาการทวิภาคี มข.-สช มีสโลแกนว่า "ร่วมขับเคลื่นโยบายสาธารณเพื่อสุขภาวะอีสาน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของคนอีสาน " จัด มีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก จนเป้เอกสารหลายชิ้นที่มีเนื้อหาสาระน่าสนใจหลายเล่มไม่พอแจกจ่ายแขกผู้มีเกียรติที่มาในงานลงนาม การขับเคลื่อนงานด้านนี้เป็นเรื่องใหญ่ ท่านผู้อำนวนการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ได้กล่าวในรายงานนานาสาระ FM 103 วิทยุสถาบันเพื่อประชาชน (รับฟัง 8 จังหวัดภาคอีสาน)ออกอากาศเมื่อวันที่ 7-8 พค.2551ไว้อย่างน่าสนใจว่า โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ภาคอีสาน เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งครอบคลุมไปทุกมิติ ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา มข.จะต้องสร้างองค์ความรู้และเชื่อมประสานกับทุกองค์กร ทุกกลุ่ม ทุกเครือข่าย เพื่อผลักดันให้นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำธรรมนูญระบบสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นกรอบแนวทางในการดำเนิน(กำหนด)นโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศแล้ว การจัดให้มีสมัชชาสุขภาพ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนากระบวนการนโยบายในระดับชุมฃนท้องถิ่น และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เป็นการปรับแก้นโยบายในระดับประเทศ ยังต้องมีการประเมินผลกระทบทางสุขภาพหรือที่เรียกว่า HIA ซึ่งเป็นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันพิจารณาผลกระทบทางสุขภาพที่เนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการพัฒนา ตลอดจนการประสานความร่วมมือกับภาครัฐ  อาทิ สช.ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ หากยกตัวอย่างให้ชัดเจน จะเห็นได้ว่าประชาชนอีสาน กำลังประสบกับปัญหาความยากจน เครียด สุขภาพทรุดโทรม เป็นโรคความดันเลือดสูงมาก เป็นโรคเบาหวานกันอย่างกว้างขวาง โรคมะเร็ง เอดส์เพิ่มขึ้นทุกวัน จะจัดการเสริมสร้างแก้ไขและป้องกันอย่างไรให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง หาย หรือบรรเทาปัญหา จำเป็นที่องค์กรทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันผลักดันให้มีการดำเนินการกับเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง หรือหากยกตัวอย่างในประชาคมวิจัย มขปัญหาสุขภาพของคนในประชาคมเป็นอย่างไร(Healthy kku )ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย จากเรื่องที่เก็บตกเล่ามาจะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีปณิธานในการสร้างและบูรณาการองค์ความรู้การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน โดยมีคนเป็นศูนย์กลาง จึงได้รับภารกิจในการเป็นหน่วยงานกลางเชื่อมประสานการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ ทั้งภายใน มข.และภาคนอก องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานราชการทั้งหลาย แลภาคประชาสังคม องค์กรประชาชน โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างให้เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะสุขเพื่อสุขภาวะที่ดีในภูมิภาคอีสาน อันจะนำไปสู่นโยบายสาธารณะเพื่อสังคมอีสานให้พี่น้องอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนแท้จริง 

หมายเลขบันทึก: 181718เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาตามเรียนรู้ครับ น่าจะได้ R2R มาเบล่าใน UKM13 ต่อไปครั

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท