กระบวนการ ATA เพื่อการพัฒนาคน


ตั้งชื่อให้มันโก้ๆอย่างนั้นแหละ ไม่มีอะไรในกอไผ่หรอก เพียงอยากจะเพิ่มเติมประสบการณ์เรื่องการพัฒนาคน พัฒนาบุคลากร สักหน่อย

 

หลังจากที่ระดมฝึกเจ้าหน้าที่รัฐให้มีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาชนบท การพัฒนาคน โดยใช้กระบวนการ TOT แล้ว ก็ฝึกเจ้าหน้าที่สนามใหม่ ซึ่งจะเป็นสองรูปแบบผสมผสานกันคือ การฝึกอบรมหลักการ ซึ่งมักจัดในห้อง หรือร่มไม้ก็แล้วแต่พระเดชพระคุณเถอะ แต่ต้องมีการฝึกอบรมในสนามที่เรียกว่า OJT หรือ On the Job Training

 

อันนี้ว่ากันเป็นสัปดาห์ เป็นเดือนเลย ลงสนามไปกินนอนกับชาวบ้าน ทำงานร่วมกับชาวบ้าน พูดคุยกับชาวบ้าน ฯลฯ ทั้งที่ให้โจทย์ไป และไม่ได้ให้โจทย์ไป  สักสัปดาห์หนึ่งก็ออกมาคุยกันในที่เหมาะสม แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มา ความรู้สึก การปรับตัว การเรียนรู้ต่างๆ สนุกจะตายไป แล้วกลับเข้าไปใหม่ หนุ่มสาวที่อ้างว่าเป็นคนมาจากชนบทบางคนทนไม่ไหวก็ลาออกไปเลย เพราะไม่สามารถปรับตัวกับชนบทกำพืดเขาได้  ก็ไม่ว่ากัน ลูกเศรษฐีส่งสินค้าออกบางคนกลับปรับตัวง่ายดาย ชอบซะอีก   

 

เมื่อกระบวนการเสร็จสิ้น ต่างคนต่างก็แยกย้ายเข้าประจำพื้นที่ที่ได้กำหนดกันไว้แล้ว  แล้วก็ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่จัดทำไว้แล้ว และพูดคุยกันแล้ว...

 

พี่เลี้ยงทั้งหลายพวก Field Coordinator หรือ Zone coordinator ก็จะออกตระเวนไปเยี่ยมน้องๆทุกสัปดาห์  ประชุมบ้าง คุยกันถึงเรื่องราวต่างๆ ให้กำลังใจ แนะนำเพิ่มเติม เก็บรวบรวมข้อมูลเข้ามาสำนักงานใหญ่ ฯลฯ...

 

แต่เมื่อผมออกตระเวนเยี่ยมน้องๆ พร้อมๆกับพี่เลี้ยงทั้งหลายนั้นผมพบว่า

 

  • การเรียนรู้หลักการ ทฤษฎี แนวทางในหลักสูตรการฝึกอบรมนั้นไม่เพียงพอ เพราะเมื่อน้องๆลงพื้นที่มันมีรายละเอียดมากมายที่เป็นเงื่อนไข เป็นองค์ประกอบ  น้องๆไม่เข้าใจจะตีความหมายอย่างไร หรือไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เขาคิดนั้นถูกหรือผิด หรือควรจะทำอย่างไรต่อจึงดีที่สุด

  • พี่เลี้ยง แม้ว่าจะอาวุโสกว่า ประสบการณ์มากกว่า แต่ก็ยังพบข้อจำกัดในการตัดสินใจ  การให้คำแนะนำ หรือกระบวนการ Consultation

 

  • ระบบการประชุมประจำเดือน (Monthly meeting) นั้นช้าเกินไปสำหรับการที่น้องๆต้องการคำแนะนำทันทีทันใด 

  • เจ้าหน้าที่ของรัฐเองที่เป็น Partner กับผู้ประสานงานสนามนั้น แม้ว่าจะผ่านการฝึกอบรม TOT มาแล้ว  แต่เงอะงะในการปฏิบัติ  เนื่องจากถนัดแต่รับคำสั่งจากนายแล้วสั่งต่อ อะไรที่เป็นความรู้ความสามารุที่ต้องทำเอง ตัดสินใจเองนั้นไม่กล้าหาญพอ หรือรู้ไม่จริงเลยไม่กล้าแนะนำ

  • เนื่องจากความใหม่ของน้องๆ หรือเรียกว่า อ่อนหัด ต้องการตอกย้ำในความรู้เรื่อยๆ และความรู้นั้นต้องย่อยออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ อาจจะลงละเอียดถึง ตัวอย่างแบบฟอร์มต่างๆด้วย

 

  • น้องๆเกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมา ต้องการปรึกษากับพี่พี่ แต่ไม่ง่ายนักที่จะสานต่อความคิดอย่างทันท่วงที ก่อนที่ไฟจะมอดลงเสียก่อน
  • ฯลฯ

 

เมื่อผมเห็นจึงมาปรับกระบวนยุทธ์ใหม่ คือ

 

  • ทำสายโทรศัพท์ Consultation Hotline (CH) ตลอดเวลาทำงาน เพื่อรองรับการปรึกษาหารือทันทีในเรื่องงาน ยกเว้นโทรมาขอยืมเงินพี่ไปเที่ยว..ไม่เอา

 

  • เพิ่มเติมความรู้ที่พบว่าต้องการกับทีมพี่เลี้ยง ทันที และให้นำไปแลกเปลี่ยนกับน้องๆในสนาม

 

  • นอกจากจะนำประเด็นทั้งหมดไปพูดคุยในการประชุมประจำเดือนแล้ว หากสามารถประชุมประจำสัปดาห์ได้ก็ต้องทำ เพื่อกระชับความสอดคล้องต้องการให้มากที่สุด

 

  • ที่สำคัญสุดคือการเพิ่มเติมรายละเอียดความรู้ต่างๆประจำรายสะดวก ที่ผมเรียกว่า KM เหมือนกัน แต่เป็น Knowledge Memo ครับ เพื่อไม่ให้ซ้ำกัน ผมขอเรียก Knowledge Memo ว่า KMe ก็แล้วกันครับ

 

อะไรคือ Knowledge Memo ทำอย่างไร เมื่อไหร่

 

  • คือการทำบันทึกความรู้สั้นๆเติมเต็มจุดอ่อนที่พบว่าน้องๆในสนามยังขาดอยู่ มันมีหลักการที่ไหน ประสบการณ์ที่ไหน ความรู้ที่ไหน ค้นมาเติมให้น้อง ทุกคน ทุกพื้นที่

 

  • หลายครั้งไม่ใช่ส่วนที่น้องขาดความรู้ แต่เป็นการแสดงความเห็นเพิ่มเติม ที่คิดว่าสามารถช่วยให้เกิดความกระจ่างมากขึ้นแก่คนที่ปฏิบัติในสนาม (คล้ายๆเขียนบันทึกในบล็อกนี่เองที่ผมทำมานานแล้ว)

  

  • ความรู้สั้นๆนี้เขียนไม่เกินสองหน้ากระดาษ A4

 

  • เขียนตามรายสะดวก ไม่ใช่ทุกวัน เฉลี่ยประมาณ 3 ฉบับต่อสัปดาห์

  

  • เขียนแล้ว ทำสำเนาโดยใช้กระดาษใช้แล้ว เท่าจำนวนน้องๆ พับแล้วส่งไปให้น้องตามระบบ Logistic ที่โครงการมีอยู่ เก็บต้นฉบับใส่แฟ้มเฉพาะไว้ค้นหา เมื่อน้องๆเข้ามาสำนักงาน หรือเพื่อร่วมงานคนอื่นๆต้องการ

  • เมื่อสิ้นปี หรือสิ้นโครงการ ก็รวมเล่ม ทิ้งไว้ให้หน่วยงานนั้นๆใช้ต่อไป ให้น้องติดตัวเป็นแหล่งอ้างอิงความรู้ต่อไป
  • ฯลฯ

 

(เอารูปสวยๆมาอวด พักผ่อนสายตาครับ)

สรุป

 

กระบวนการ TOT สำคัญมาก จำเป็นมาก แต่กระบวนการเรียนรู้ไม่สิ้นสุดลงที่ห้องเรียน หรือการผ่านหลักสูตรนี้เท่านั้น

 

กระบวนการเรียนรู้ต้องต่อเนื่องจึงต้องทำ After Training Action (ATA) ก็สำคัญและจำเป็นมาก รูปแบบการทำ ATA นั้นก็หลากหลาย แล้วแต่ความเหมาะสม 

 

การทำ KMe ที่ผมทำนั้นมีทั้งประสบผลสำเร็จและล้มเหลวครับ ที่ล้มเหลวเพราะ ผู้บริหารระดับสูงไม่สนับสนุน เปลืองกระดาษ ฝึกอบรมแล้วก็พอแล้ว ฯ ผมไม่ใช่เขียน KMe คนเดียวสนับสนุนให้ผู้ประสานงานเขียนด้วย หรือน้องๆเอง แต่คนไทยไม่เขียน ชอบคุย ข้ามวันข้ามคืนคุยกันได้ บอกให้บันทึก อิอิ ไม่เอา..

 

เอาประสบการณ์มาเผื่ออีกแล้วนะ

ตาหวานเบื่อหรือยัง อิอิ..

หมายเลขบันทึก: 181586เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขออนุญาต อิ อิ

 แบบนี้ต้องจับมาเขียนบล็อก เรียน/ฝึกรายงาน สอบ-ถาม เสนอ-สนองพัฒนาการผ่านG2K.น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการซ่อมเสริมทักษะและประสบการณ์ ใครไม่มีเขียน เท่ากับไม่มีอะไรรายการ เพราะเราให้รายงาน เพียงแต่ไม่ใช่ในหน้ากระดาษ แต่เปลี่ยนมาเป็นหน้าจอ

แก้ได้-ปรับได้ ง่าย-เร็ว  อย่างนี้ไม่สนใจก็ไม่รู้จะรอพัฒนาไปอีกกี่ปีถึงจะ เออ

แม่นบ่แม่นก็บ่ฮู้นะขอรับ

แม่นแล้วครับท่านครูบา นี่เป็นอีกทางหนึ่ง ที่น้องๆสามารถจะบันทึกได้ ทำได้ และมีเพื่อนๆทั่วประเทศคอยเพิ่มเติมอีกนะครับ

ฝึก ครับ ต้องฝึกครับ  เอาเวลาที่ไปเล่นเกมส์ออนไลน์ แบ่งมาสักครึ่งชั่วโมงก็ดี  ทีเกมส์หละเล่นได้ ข้าวปลาไม่กินเชียว  น่าหยิกนัก..

ร้อนจัง อาบน้ำแล้ว ทำไมยังร้อนๆตัวหว่า...  แต่คนไทยไม่เขียน ชอบคุย ข้ามวันข้ามคืนคุยกันได้ บอกให้บันทึก อิอิ ไม่เอา....

อิอิ  ขอเปิดแอร์สักหน่อยเผื่อจะดีขึ้น

น้องหนิงหนิง คนสวยแซ่เฮ

จุ๊ จุ๊ ฝนตกมาแล้วน่า  เย็นสบายดี ไม่ร้อนหรอก จริงๆ อิอิ

ตรงกับที่ท่านบางทรายถาม  ทำยังไงให้เกิดการปฏิบัติ

เชื่อและเขียนบทความไว้เรื่อง  รู้  แต่ไม่ทำ  ไว้นานแล้ว

การอบรมจึงไม่ใช่แค่อบรมหรือบรรยายให้รู้แต่เพียงอย่างเดียว

ต้องมองและตีโจทย์ทะลุไปถึง  ทำอย่างไรให้ทำ  ให้เกิดการปฏิบัติที่ได้ผล

การติดตามให้คำปรึกษา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหลังการอบรม  ในขณะทำงานจึงมีความสำคัญมาก

ทำอย่างไรที่จะสร้างเครือข่ายให้ยั่งยืน   ( Node , Bonding )  จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย  อิอิ

 

 

สวัสดีคะพี่บางทราย

ตามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดี ๆ

ขอบคุณคะ

 

ยอดเยี่ยมเลยครับ

คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยเห็นเรื่องนี้ที่ไหน  ของคุณหมอนี่เอง อย่างนี้ต้องเปลี่ยนเป็น P 5. ชอบ คน วิ่ง  อิอิ

สวัสดีครับน้องหมู P 6. อ.หมู แซ่เฮ

ตามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดี ๆ

น้องหมูไม่มีเวลามาสวนป่าเน๊าะ โอกาสหน้ายังมีครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงจ๋า

ลุงจ๋าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คิดถึงงงงงงงงงงงงงง เมื่อวานลุงเอก ป้าจุ๋ม แม่หมู พาน้องจิไปขี่ควายมาด้วยแหละค่ะ คิคิ สนุกๆมากๆๆ แต่สงสารพี่ควาย คงจะหนักแย่ เพราะน้องจิหนัก 48 น้องติวประมาณ 28 น้องเต้อีก เกือบ 60 งานนี้ควายรับร้อยกว่าโล คิคิ สงสารพี่ควาย พี่ควายอายุ 22 ปีค่ะ แก่กว่าน้องจิประมาณ 5 ปีแหนะค่ะ คิคิ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---> น้องจิ ^_^

  • ใช่เลยน้องชายเหมือนกันในรูปแบบ
  • ต่างกันก็แค่เวลาสถานที่และเทคโนโลยี
  • สมัยนั้นที่พี่ศึกษาสำรวจการใช้พื้นที่ในประเทศตูนีเชียซึ่งเป็นหนึ่งในอัฟริกาเหนือ
  • ในเขตโลกของอาหรับ เราต้องเรียนรู้ศึกษาภูมิหลังของประเทศนั้นจากเอกสารทางสิ่งแวดทั้งกายภาพและวัฒนธรรม และจากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้ควบคุม เราทำงานเป็นทีมในต่างแดน (พี่เป็นผู้หญิงคนเดียวในทีม)
  • ที่ไม่เคยพบเห็นตั้งแต่เกิดจากท้องแม่
  • จากคนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากหลากหลายสาขาวิชา หลายเชื้อชาติ มาทำงานเป็นทีมในพื้นที่เดียวกัน
  • เช้าถูกส่งออกไปทำงานเป็นจุดๆ กลางวันมารับอาหารตามจุดที่นัดไว้ ก็ใช้ระบบลอจีสติกสมัยนั้น ไม่เคยอดข้าวมือเที้ยงเลย ตอนเย็นก็มารับกลับที่พักเป็นโรงแรมเล็กๆที่ตั้งอยู่ขอบทะเลทราย
  • หลังทานอาหารมื้อเย็นก็มาสรุปการทำงาน ลปรร กัน เจอปัญหาอะไรแก้ไขอย่างไร และต้องทำอย่างไรบ้าง อาจารย์ก็จะคอยให้ความช่วยเหลือเป็นแค่พี่เลี้ยง เพื่อให้ทุกคนใช้ศักยภาพที่มีในตัวออกมาให้มากที่สุด จะช่วยก็เฉพาะเรื่องที่มันเกินกำลังคนในทีม
  • ทำให้เราได้เรียนรู้จากการทำงานทั้งของเราและเพี่อนๆได้อย่างเข้าใจแจ่มแจ้งดีกว่าเรียนในห้องเรียนเสียเป็นไหนๆ
  • หลังจากนั้นทุกคนสรุปเขียนรายงานเป็นวันๆค่ะ ทำงานจนเสร็จโครงการ ได้งานได้ประสบการณ์เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ทำให้มองโลกใบนี้กว้างขึ้นมาก ไดรับมิตรภาพที่เหนีวแน่น ช่วยเหลือพึ่งพากันได้
  • ได้เรียนรู้ความแตกต่าง
  • แต่ความป็นมนุษย์ไม่แตกต่างกันเลยค่ะ
  • ขอบคุณที่นำสาระที่เป็นประโยชน์มาแบ่งปันกันค่ะ

หลายจิ P 9. โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^!

  • จ๊ากสสสสส ขี่ควายเข้าไปได้อย่างไร 3 คน เดี๋ยวพี่ควายก็สะบัดหลุด ตกลงมา แข้งขาหัก หรือว่าพี่ควายชอบให้หลานๆขี่ หือ
  • สมัยก่อนลุงมีควายสองตัวชื่อ พี่ม่วงกับพี่มั่น เขาเป็นควายถึก แข็งแรงมาก ตัวใหญ่ปึบเลยเหมือนลุงตอนนี้ อิอิ
  • ช่วงฤดูเกี่ยวข้าว เอาเขาเทียมเกวียนทั้งสองตัว ลุงเป็นเด็กนั่งบนเกวียนไปคนเดียวเพื่อไปหาพี่กลางนาเพื่อขนข้าวเข้าลานข้าว  เจ้าม่วงกับเจ้ามั่นเห็นควายตัวเมีย มันก็คึกวิ่งไปหาน่ะซี  ห้ามเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง แถมวิ่งไปซะอีก 
  • โอย เจ้าสองตัววิ่งไป ทั้งๆที่เทียมเกวียน  เกวียนมันก็ปีนคันนา กระดอนสุดๆ ลุงตกลงมาจากเกวียน  ตกใจร้องให้วิ่งไปหาพ่อ   กว่าจะจับเจ้าสองตัวได้ เกวียนพังเลย
  • สนุกไหมล่ะขี่ควาย..สนุกกว่านั่งเครื่องบินไหมล่ะ ..อิอิ 
  • ขี่พี่ควายแล้วเอาหญ้าให้เขาด้วยนะ เขาจะได้ชอบใจเป็นการขอบคุณเขา

สวัสดีครับพี่ใหญ่ P 10. Lin Hui

  • ประสบการณ์ของพี่น่าสนุกและน่าสนใจเพราะเป็นการเรียนรู้ด้วย
  • เวลาผมไปต่างประเทศ มันรู้สึกถึงการตื่นตัวของการเรียนรู้ และตื่นเต้นที่มาต่างถิ่นฐาน พบคนแปลกหน้า แปลกไปหมดทุกอย่าง  ยกเว้นความเป็นคนที่ต้องกิน นอน....
  • โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการที่เขาคิด แสดงออก กระทำ แลกเปลี่ยน มุมมอง  ซึ่งหลายครั้งเราก็ทึ่งว่าเขามีมุมมองที่เราไม่เคยคิด
  • โดยเฉพาะประเทศที่มีการปกครองแตกต่างไปจากเรา  วิธีคิด ปฏิบัติ ของเขาทำให้เราตื่นเต้นไปหมด  และดูเหมือนว่า แง่คิดดีดี เราสามารถนำมาปรับใช้และใช้มุมมองกับบ้านเราได้ด้วย จากการที่ไม่เคยมองมาก่อน
  • ความเป็นเพื่อน ดูจะลดช่องว่าระหว่างเพศ วัย ความรู้ ฐานะ ฯลฯ ลงไปหมด มีแต่ความเป็นเพื่อน  แต่ก็แปลก พอกลับมาบ้านเรา เรื่องต่างๆกลับเข้ามาแทนที่ความรู้สึกดีดีนั้นไปหมด เช่น มียศฐาบรรดาศักดิ์  มีชั้นวรรณะแม้จะไม่ได้ประกาศออกมาแต่การกระทำมันแฝงลึกๆอย่างนั้น
  • อันนี้เองคนที่ท่องไปในโลกกว้างจึงมีมุมมองที่กว้างมาก อย่างพี่สาวผมคนนี้แหละ
  • หากมีโอกาสเหมาะอยากเชิญพี่มาเล่าประสบการณ์จังเลยครับ คงมีอะไรมากมายที่น่าเรียนรู้ มุมมอง แนวคิดต่างๆนะครับพี่ครับ
  • ขอบคุณครับพี่ครับ

ขอบพระคุณท่านประจักษ์มากนะครับที่กรุณามอบดอกไม้สวยๆให้ผม  ชื่นใจครับ คงมีโอกาสได้พบกันนะครับ

สวัสดีค่ะ

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ.....งานหนักหนาสาหัสนะคะ

* พัฒนาวัตถุ..สัตว์....ง่ายกว่าคนค่ะ

สวัสดีครับ P 15. นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

สวัสดีค่ะ

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ.....งานหนักหนาสาหัสนะคะ

* พัฒนาวัตถุ..สัตว์....ง่ายกว่าคนค่ะ

อะ...จ๊ากสสสส ท่านครับ พูดไม่ออกเลยครับ

ขอบคุณครับที่เป็นกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท