รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับท่านผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์แบบนี้ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้า กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ วันนี้นะครับก็ถือว่ายังอยู่ในช่วงของวันหยุด ติดต่อกันหลายวันนะครับ อันเนื่องจากวันสำคัญ 2 วันด้วยกันก็คือวันแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แล้วก็วันที่ 5 พฤษภาคม ก็เป็นวันฉัตรมงคลนะครับ  สวัสดีครับ อาจารย์ครับ ซึ่งในเช้าวันนี้มีข่าวประชาสัมพันธ์เล็กน้อยครับ วันนี้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพนะครับ คุณวิเชียร ตัณฑเศรษฐีนะครับ เวลา 5 โมงเย็น ที่วัดธาตุทอง ข่าวประชาสัมพันธ์ถึงท่านที่สะดวกเดินทางไปร่วมงานนี้ด้วย แล้วก็วันนี้อย่างที่ทราบดี อาจารย์มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายเรื่องด้วยกันนะครับ โดยเฉพาะเรื่องของแรงงาน ซึ่งผ่านวันแรงงานแห่งชาติมาสด ๆ ร้อน ๆ ในบทความของอาจารย์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับเมื่อวานนี้นะครับ ก็มีบทความที่เกี่ยวข้องนี้ด้วย ชื่อหัวข้อน่าสนใจมากเลยครับ KM ไม่พอต้อง LO และ LN ด้วย นะครับ อาจารย์ครับ สวัสดีครับ

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับ คุณจีรวัฒน์ ขอบคุณสำหรับ 96.5 ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์ให้แก่คนที่รู้จักคุณแม่วิเชียร ตัณฑเศรษฐีด้วย

พิธีกร : ก็เย็นวันนี้นะครับ อาจารย์ครับ ก็มีงานพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดธาตุทอง ตอน 5 โมงเย็นด้วยนะครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ขอขอบคุณด้วย

พิธีกร : ครับ อาจารย์ครับ เราเพิ่งผ่านวันแรงงานมาสด ๆ ร้อน ๆ นะครับ อาจารย์ครับ ก็มีประเด็นหลายประเด็นเลยทีเดียว ที่ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ทำงานส่วนใหญ่รอคอยอยู่

ศ.ดร.จีระ : คุณจีรวัฒน์ก็คงได้ติดตามบ้าง สมัยที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ตั้งขึ้นมาใหม่ จริง ๆ แล้ว เขาคิดจะตั้งสถาบันแรงงาน อาจารย์ประภาส อวยชัย อาจารย์นิคม จันทรวิทุร อะไรอย่างนี้ ก็เป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ก็เห็นว่าปัญหาแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างมีเยอะ แล้วเผอิญรัฐบาลยุคนั้นเขาก็ไม่ชอบคำว่าแรงงานที่ธรรมศาสตร์  แรงงานแปลว่าการเมือง มีการประท้วง ยุคที่มีอำนาจก็เป็นแรงงานรัฐวิสาหกิจด้วย ผมก็เลยโชคดีที่ได้ทรัพยากรมนุษย์มาแทนแรงงาน ก็ท่านผู้ฟังก็คงเห็นแล้วว่าเป็นผู้อำนวยการสถาบันแรงงาน ป่านนี้ก็คงได้มองผมอีกแนวหนึ่ง เพราะจะต้องไปเน้น เย้ว เย้ว เย้ว ก็เลยถือโอกาส เผอิญวันที่ผมเขียนก็นึกถึงชีวิตของผมกว่า 20 ปีนะจีรวัฒน์ ตั้งแต่เริ่มทำงาน อย่างเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ ผมเคยเป็นกรรมการติดต่อกันทั้งหมด 6 ปี แต่ก่อนนี้ยังไม่มีกรรมการในระดับจังหวัด ก็จะมีเข้าใจว่าทั้งหมด 15 คน มีนักวิชาการ 5 คน นายจ้างลูกจ้าง จีรวัฒน์เชื่อไหม บางทีตัดสินกันไม่ได้ ตีสาม ตีสองตีสามยังเคยมีเลย เพราะว่าเรื่องเงิน 5 บาท 10 บาท เรื่องใหญ่

 ในบทความก็เลยให้เห็นว่าเคยได้รับใช้สังคมมาโดยตลอด แล้วก็พอผมจบอาชีพนี้แล้ว ผมก็เห็นว่าท่านผู้อำนวยการคนต่อไปของธรรมศาสตร์ ซึ่งตอนหลัง ๆ ก็มีตั้งหลายคน ก็ควรจะทำงาน แล้วเผอิญก็ไม่มีใครที่สนใจเรื่องแรงงานอย่างจริงจังที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปอยู่ที่อาจารย์แล ดิลกวิทยรัตน์ อยู่ที่จุฬาฯ ผมก็เลยคิดว่า ผมน่าจะกลับมาทำงานเพื่อพัฒนาผู้นำแรงงานให้มันมากขึ้น ฉะนั้นก็เลยถือโอกาสเขียนถึงเขาในวันที่ 1 แล้วก็ผมก็เลยบอกว่าคำว่าแรงงาน มันเป็นคำพูดที่เปี่ยมไปด้วยประวัติศาสตร์ใช่ไหมจีรวัฒน์ เพราะว่าแต่ก่อนแรงงานคือคำว่าแรงงาน คือแรงงานไร้ฝีมือ ความจริงวันนี้แรงงานในทาง management เขาไม่ใช้แล้ว เขาใช้เป็นทุนมนุษย์  ทรัพยากรมนุษย์กันใช่ไหม  ฉะนั้นคำว่าแรงงานก็เลยทำให้คน คล้าย ๆ แบ่งพวก นี่พวกฉันพวกเธอ อะไรอย่างนี้ ค่อนข้างจะเน้นไปทางด้านความรุนแรง ต้อง Strike ต้องประท้วงอะไรอย่างนี้

.ยุคหลัง ๆ นี่ ท่านผู้ฟังครับ ยุคของโลกาภิวัตน์นี่ บทบาทของแรงงานก็จะต้องปรับตัว เพราะว่านายจ้างเขาไม่ได้ทำธุรกิจง่าย ๆ อีกต่อไป เขาต้องแข่งขัน ฉะนั้นอยู่ดี จะไปให้เขาจ่ายเงิน โดยที่เขาอยู่ไม่ได้ แล้วก็ยิ่งยุคปัจจุบัน น้ำมันก็แพง อะไรก็แพง ข้าวก็แพง มันก็ต้องหารือกันอย่างรอบคอบ คล้าย ๆ win–win สมัยนี้มันต้อง win–win ฉะนั้นผมก็เลยเน้นประเด็นแรกก็คือ อยากให้มอง concept นี้เป็น concept ซึ่ง positive คือมองในด้านบวก ว่าเขาเป็นคนจะต้องพัฒนาตัวเขาเองอยู่ตลอดเวลา

แล้วก็สองคือ คำว่าแรงงาน ไม่ได้แปลว่าเขาคิดไม่เป็น คือตอนหลัง ๆ จีรวัฒน์ก็คงเห็น ผมไปพัฒนาระดับปวช.  ปวส. ที่ Indorama คือถ้าเราให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีเวลาให้เขาเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องประชาธิปไตย เรื่องความสามารถในการแข่งขัน อะไรอย่างนี้ เขาก็จะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้น

แล้วก็สามเขาต้องมีพันธมิตรเพิ่มขึ้น คือจริง ๆ แล้ว วันนี้วันแรงงานดังอยู่วันเดียว วันที่ 1 วันอื่นไม่มีข่าวเลย ข่าวดี ๆ ที่ทำให้คนเขายอมรับ มันก็มีน้อย เพราะฉะนั้นมันก็เลยดังแบบฟู่ฟ่าอยู่วันเดียว ข่าวในช่อง 3 ช่อง 5 ก็ดังมากเลยอยู่วันเดียว แล้วก็หายไป ฉะนั้นมันก็เลยทำงานยาก ผมก็เลยขอให้อาจารย์ไว ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนใหม่ ซึ่งผมเชื่อว่าท่านจะเป็นคนที่เข้าใจเรื่องนี้ แล้วตัวผมเองก็จะเริ่มเข้ามาช่วยมากขึ้น

แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ท่านผู้ฟังหลายคนที่ติดตามเรื่องนี้ก็คงได้ยินความคิดผมอยู่บ้างแล้วในอดีต ก็คิดว่าจะเข้ามาช่วยเขามากขึ้น มันก็มีประเด็นหลายประเด็นจีรวัฒน์ มีเรื่องแรงงานนอกระบบ แรงงานต่างประเทศ  วันก่อนผมเจอท่านชัยสิทธิ์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าภูมิภาค ไปเป็นที่ปรึกษาท่านอุไรวรรณ มาถึงท่านก็บอกว่า ท่านจีระ ของเรานี่ส่งไปแต่เจ็ดแสนคนนะ  ฟิลิปปินส์ส่งไปเจ็ดล้านอย่างนี้  ท่านก็จะคิดในแนวหาเงินจากการส่งแรงงานนอกระบบไปต่างประเทศอะไรอย่างนี้  คือวิธีมันเยอะแยะมากไปหมด รวมทั้งแรงงานส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองไทย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่มากเลยท่านผู้ฟัง ผมก็จะเริ่มกลับมาให้ความสนใจ แล้วก็จะทำงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน มีการทำวิจัย แล้วก็จะให้สถาบันทรัพยากรมนุษย์ของผม ซึ่งวันนี้ผมออกมาตั้งสิบกว่าปีแล้วให้กลับมาสนใจเรื่องนี้ แล้วก็ให้คนที่อยู่กลาง ๆ จีรวัฒน์เข้ามาเล่นบทบาทนี้ แล้วตัวจีรวัฒน์เองสมัยที่เรียนกับผม ผมก็พูดเรื่องนี้อยู่บ้างใช่ไหม

พิธีกร : ครับ ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : แล้วเวลาเราพูดถึงคำว่าทรัพยากรมนุษย์ เราจะพูดถึงเรื่อง management อย่างเดียว คือชีวิตผม ผม safe แล้ว ผมเคยเป็น ได้รับเลือกเป็นประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติตอนผมอายุแค่ 44 แล้วก็มีทิ้งอะไรไว้เยอะ ผมเคยยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น ช่วยไม่ให้นายจ้างเขาเอาเปรียบ ไม่ให้สวัสดิการอะไรอย่างนี้  ผมเคยทำงานอะไรมาเยอะแล้ว แล้วก็เป็นจังหวะที่ดี เพราะตอนนั้นท่านอาจารย์นิคม จันทรวิทุร ท่านก็จะเป็นบุคคลซึ่งให้กำลังใจผม ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เป็น mentor ของผมคนหนึ่ง ท่านก็มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง แล้วก็เผอิญท่านก็เสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังไม่มีใครที่จะ... นักวิชาการที่โดดเด่นในวันนี้ก็มีน้อย แล้วก็ที่ธรรมศาสตร์เรียกว่าไม่มีเลย

ก็จะไปอยู่ที่จุฬาฯ ก็คืออาจารย์แลอยู่คนเดียว  อาจารย์แลก็เลยใช้โอกาสอันนี้ไปนั่งเป็น board ของการไฟฟ้า แล้วก็พูดเฉพาะเรื่องแรงงานโดยมุมมองจาก point ของแรงงาน มันก็เลยนายจ้างกับคนทั่ว ๆ ไปไม่ได้เป็นพันธมิตรกับเขา คือเขาไม่ได้เป็นกลาง เขาก็จะ honour ผู้ใช้แรงงาน คนที่เชียร์เขาผมว่าก็มีไม่มาก คิด ๆ ว่ามันก็ถึงเวลา ความจริงที่พูดนี่ผมก็รู้จักกันนะ รู้จักกันดี แล้วก็โอกาสที่จะพูดเพื่อส่วนรวมก็มีไม่มาก

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : ต้องสร้าง ผมคิดว่าต้องสร้าง ประเด็นในบทความผม สร้างนักวิชาการรุ่นใหม่ มีจิตวิญญาณ ซึ่งในประเทศบางประเทศ จีรวัฒน์ก็คงเห็น เขามีบทบาทสูง อย่างในอังกฤษหรือออสเตรเลีย มีแม้กระทั่งพรรคแรงงาน จีรวัฒน์ลองคิดดู

พิธีกร : ใช่ครับ

ศ.ดร.จีระ : คือเขามีบทบาทมาดมาย ของเรายังรวมตัวกันไม่ติดเลย แล้วก็บางทีผู้นำแรงงานก็มีหลายก๊ก หลายฝ่าย ก็อยากจะมีบทบาท แต่ว่าบทบาทที่แท้จริงในด้านความรู้ เหมือนประเด็นที่ผมจะพูดตอนที่ 2 ก็คือ เขายังไม่เป็นสังคมการเรียนรู้ ยังรู้ไม่จริง ก็เลยเปลี่ยนบทบาทในลักษณะเป็นผลประโยชน์ของฝ่ายเกินไป ซึ่งในอนาคตก็คงจะต้อง... เผอิญในยุคที่ท่านรัฐมนตรีคนปัจจุบันอยู่นี่ ก็คิดว่าท่านเป็นคนที่มีความเข้าใจเรื่องแรงงานดี ก็คงจะมีโอกาสได้พัฒนาท่านบ้าง

พิธีกร : เพราะว่าในบทความของอาจารย์ เมื่อวานนี้ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า หลาย ๆ ท่านอาจจะเอ๊ะ KM ไม่พอต้อง LO และ LN , KM คืออะไร LO คืออะไร และ LN คืออะไร เดี๋ยวช่วงหน้าอาจารย์คงได้มีมาพูดคุยกันในประเด็นลึกเลยทีเดียวครับ อาจารย์ครับ น่าสนใจมาก ๆ เรียกว่าเป็นการมองระยะยาวในเรื่องของแรงงานจริง ๆ 

ศ.ดร.จีระ : ก็ก่อนอื่น ก่อนจะ break ผมขอต้อนรับคุณธนะชัย ซึ่งท่านเป็นบุคคลที่บ้าความรู้ คือคนฟังผมบางคนเชื่อว่า คุณธนะชัยจะโทรศัพท์มาให้กำลังใจ แล้วก็วันก่อนผมพูดเรื่องห้องสมุดไป ที่รู้สึกว่าในวิทยุ ท่านก็เลยเห็นด้วย จีรวัฒน์ลองคิดดู วันนี้บางคนคิดว่าห้องสมุดคงไม่เกี่ยวกับการเรียนรู้อะไร มีเยอะแยะไปหมดเมืองไทย ปรากฏว่าห้องสมุดของสิงคโปร์ เขาเอาจริง ผมก็คิดว่าสมัยคุณทักษิณเอง ก็พยายามจัดเครือข่ายอะไรนะ Knowledge Management ออกมา

แม้กระทั่งศูนย์ design ที่ Emporium ของคุณ ซึ่งผมก็ไปดู ต้องพยายามผลักดันเรื่องเหล่านี้ให้มันกลายเป็น ไม่ใช่เป็นการตีปิ๊บทางการเมือง คือคนที่จะทำเรื่อง Knowledge Management หรือการสร้าง คือสมัยที่คุณทักษิณท่านสร้าง มันฟู่ฟ่า บางทีมันสิ้นเปลือง แล้วก็ลูกค้าจริง ๆ มันมีไม่พอ อย่างสิงคโปร์เองเขาเอาจริงกับโครงสร้างการดูแลห้องสมุดชั้นนำของเขา ซึ่งผมพูดไปแล้วคราวที่แล้ว คุณธนะชัย ซึ่งอยู่อเมริกาเก่า ท่านก็เลยให้กำลังใจผม คือบางทีคนฟังคิดว่าห้องสมุดนี่ สำหรับผู้หญิงแก่ ๆ ที่เป็น Librarian อะไรนี่ เข้าไปก็ต้องทำปากเงียบ ๆ อะไรอย่างนี้ สมัยนี้ห้องสมุดก็คือต้องเอาไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

พิธีกร : เดี๋ยวเรากลับมาในช่วงหน้าครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับผม

พิธีกร : ครับ พักสักครู่ครับ

โฆษณา

 

พิธีกร : ครับ กลับมาอีกครั้งในช่วงที่สองของรายการ Human Talk นะครับ ทุกเช้าวันอาทิตย์ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้ากับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐครับ เมื่อช่วงต้นรายการนะครับ อาจารย์ได้พูดคุยในประเด็นที่เรียกว่าเกี่ยวข้องกับพวกเรากันส่วนใหญ่เลยนะครับ เพราะว่าเป็นเรื่องของคนทำงาน เป็นเรื่องของแรงงาน แล้วก็เป็นเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่เพิ่งผ่านวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคมมาสด ๆ ร้อน ๆ นี่นะครับ แล้วก็ในช่วงนี้ยังอยู่ในช่วงที่หลาย ๆ ท่านคงมีโอกาสได้ไปพักผ่อนแล้วก็กลับภูมิลำเนา ซึ่งหลายท่านยังไม่ได้กลับในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ช่วงนี้เป็นช่วงวันหยุดหลายวันก็เชื่อว่าเนื้อหาในวันนี้ที่อาจารย์เตรียมไว้ก็คงจะเกี่ยวกับทุก ๆ ท่านด้วย ครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ก็ย้อนหลังกลับไปเรื่องแรงงานนิดหนึ่ง ก็เสียดายที่ท่านนายกสมัคร ท่านอาจจะมองไม่เห็นภาพชัด ก็เลยไม่ได้ไป ความจริงยุคคุณสุรยุทธ์ ท่านไปทุกครั้ง คือวันแรงงานมันจะมี Symbolic เรียกว่าเป็น Symbol ฉะนั้นผู้นำของรัฐบาลให้ความสนใจ... เลยส่งคุณมิ่งขวัญไป แล้วก็มันก็เลย ภาพมันก็เลยไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไร เพราะเขาเป็นนักการตลาด คือเวลาเราจะทำอะไร เราต้อง Symbolic ผมเป็นคนที่สนใจเรื่องภาพลักษณ์เหล่านี้ แล้วก็ผมคิดว่า

ประเด็นที่อยากจะเรียนท่านผู้ฟังก็คือ ในฐานะที่ทำที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ มันก็มีโอกาสที่จะคิดเรื่องแรงงาน ผมว่า issue หนึ่งที่น่าจะทำก็คือ คนที่เขาเป็นผู้ใช้แรงงาน จีรวัฒน์ ไม่ได้มีแค่ทักษะแล้วนะ เขาต้องมีความรู้ด้วยนะ อย่างเช่นวันนี้ คนที่ทำ technical  อยู่ที่ TOYOTA จีรวัฒน์รู้ไหม เขาต้องรู้ภาษาอังกฤษด้วยนะ  จบปวช. ปวส. ไม่รู้ภาษาอังกฤษนี่เจ๊งเลย แล้วท่านผู้ฟังลองคิดดู คนที่ทำงานอยู่ สมมติอายุสัก 40 ค่าจ้างขั้นต่ำเลยไปแล้ว เผลอ ๆ เขาปลดเลยนะ คือคนเราจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่ productivity ของตัวเอง อายุ 20  ก็ยังค่าจ้างขั้นต่ำ อายุ 30 ก็ยังเดินตามค่าจ้างขั้นต่ำ เขาก็ปลดออก  เพราะว่านายจ้างเองสมัยนี้ เขาก็กดดันเยอะ ต้องแข่งขันกับตลาดโลก แล้วบางทีอยู่ดี ๆ เจ๊งไปตั้งเยอะแยะ  จีรวัฒน์ คือไม่มีใครมาช่วยกัน ฉะนั้นเราก็ต้องเป็นพันธมิตรกัน ไอ้ที่เย้ว เย้ว เย้ว อยากได้โน่นได้นี่ ผมเห็นใจนะ วันนี้ 9 บาทนี่ผมว่าถูกไปด้วย แต่ว่าถูกในมุมของเขา ในฐานะที่เอาเงินไปซื้อข้าว แต่ว่าแพงสำหรับคนที่เผลอ ๆ กำลังล้มละลายนะบางคน

ปีที่แล้วนี่เจอการแข่งขันกับประเทศจีนอย่างเดียว แล้ววันนี้หน้าปกของ Economist ก็พูดถึงเวียดนาม อะไรอย่างนี้ คือเขาต้องมีโลกทัศน์ที่กว้าง แล้วให้เขาเป็น ซึ่งเดี๋ยวเราจะพูดถึงองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งสหภาพแรงงานก็คงจะต้องทำ แต่ผมสัญญาว่า ก็จะเริ่มปรึกษากับทางกระทรวงแรงงาน แล้วก็ทางสถาบันทรัพยากรมนุษย์ แล้วก็ 96.5 ของเรา ซึ่งก็ไม่มีคนที่เป็น key สำหรับพูดเรื่องแรงงานโดยเฉพาะ ก็พูดไปกว้าง ๆ รายการวิทยุโทรทัศน์ส่วนมากก็จะพูดสั้น ๆ เกี่ยวกับการประท้วงว่า 9 บาทไม่ได้อะไรอย่างนี้ ประเดี๋ยวก็หายไปใช่ไหมจีรวัฒน์ เลยวันแรงงานมาสัก 2 วัน ก็ไม่มีใครพูดถึง แต่ปัญหาเขากระทบคนหลายคน รวมครอบครัวด้วย 10 ล้าน แล้วเขากำลังอยู่ในสภาพซึ่งลำบาก

แล้วยุคนี้มีคำอยู่คำหนึ่งอันตรายมาก คือศักยภาพในการแข่งขัน  ไม่มีใครมาดูแลเราหรอก ถ้าเราไม่มีความสามารถ แล้วบางทีเราก็ไม่พัฒนาตัวเอง เราก็เลือกงานด้วย ก็เลยยกงานบางอย่างให้แรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก แล้วก็หลายคนอาจคิดว่าเอ้อไม่เป็นไร เราส่งคนไปคล้าย ๆ ฟิลิปปินส์ก็ได้ มันก็ไม่มีใครว่า ถ้าส่งไปหนึ่งเรา ภาษาอังกฤษเราต้องดีด้วยนะตอนนี้ ที่ฟิลิปปินส์ไปท่านผู้ฟังครับ เพราะว่าภาษาเขาดี ของเราไปขับรถก็ยังเบิบ ๆ โบ่ ๆ อยู่ มันก็ทำงานลำบาก ถ้าให้ผมแนะนำกระทรวงแรงงานจริง คือเอาคนที่กลับมาแล้วมาดูซิว่า เขาจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายั่งยืนไหม ไม่ใช่เอาเงินกลับมาอย่างเดียว มันต้องเอาความรู้กลับมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผมไม่กล้าพูดมากหรอกท่านผู้ฟังครับ เพราะว่าผมไม่ได้ติดตาม

แต่ว่าเผอิญจังหวะที่ผมเขียนบทความ ผมก็ลงไปลึกพอสมควร ท่านก็ลองไปอ่านดูก็ได้ ครับ บทความผมอยู่ใน web สำหรับผม ผมเขียนขึ้นมาก็ถ้าใครสนใจก็เอาไปอ่าน  ใครเห็นแล้วมีประโยชน์ อย่างคุณธนะชัยเยอะ ๆ ผมก็สบาย ความจริงก็มีคนอาจจะติดตามอยู่แล้ว แต่ว่าในยุคหลัง ๆ นี่ มันก็จะมีช่องว่าง คนที่เคยติดตามผมมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วอะไรอย่างนี้ ตอนนี้ก็อาจจะคิดว่า บางคนอาจจะไม่ได้ทำงานทางด้านสื่อแล้ว อาจจะคนรุ่นหลัง ๆ เขาอาจจะต้องหันมาติดตามคนรุ่นเก่า ๆ คืออย่างผม ผมไม่ถือว่าผมเก่า ผมก็จะทำงานของผมต่อไป แล้ววันก่อนจีรวัฒน์ ก่อนจะไปถึง LO ก็เลยได้โทรศัพท์คุยกับนายเพื่อนผม 2 คนก็คือ คุณวิสิทธิ์ กับคุณปกาศิต คุณปกาศิตท่านเลยย้ายไปอยู่เป็นบรรณาธิการข่าว ที่ Thai PBS  ส่วนคุณวิสิทธิ์นี่ก็เป็นห่วงลูกชายท่าน ว่าจะต้องเข้าเรียนใหม่ ก็เลยปรึกษากัน ปรากฏลูกชายเข้าที่บดินทร์เรียบร้อยแล้ว ก็การเอาเด็กเข้าโรงเรียน เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง คุณจีรวัฒน์ที่ใหญ่โตมหาศาลเลยตอนนี้

แล้วก็ผมก็ในฐานะนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับทราบความลำบากของพ่อแม่ ฉะนั้นโรงเรียนที่มีคุณภาพกระจายออกไป มันก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้ เพราะว่ามีแต่โรงเรียนที่มีคุณภาพกระจุกตัวอยู่ไม่กี่แห่ง อะไรอย่างนี้ เหมือนกับคุณหญิงชฎา พูดกับผมคราวที่แล้ว ถามว่าการศึกษาไทยเป็นไง ท่านบอกว่า บางแห่งนี่สุดยอดเลย แต่ก็มีนิดเดียว ฉะนั้นการกระจายการศึกษาไปสู่ความเสมอภาคกัน ก็จะเป็นอีกหนึ่งที่ท่านรองนายกสมชาย ท่านเอาจริงหน่อยก็ดี ไม่เช่นนั้นเราจะมีแต่โรงเรียนที่คนไม่อยากเข้า โรงเรียนที่คนอยากเข้า โหทารุณมากเลย จีรวัฒน์ ก็ขอสรุป แล้วก็ขอขอบคุณที่เราได้ยกย่องผู้ใช้แรงงาน ผมคิดว่าเราต้องให้เขามีศักดิ์ศรี มีเกียรติ อยู่บนเวทีของสังคมไทยทุกวัน ไม่ใช่วันแรงงานวันเดียว แล้วสื่อต่าง ๆ ก็ศึกษาหน่อย เพราะว่าไม่เช่นนั้นจะมีข่าววันแรงงาน มีคนถือธง ถือป้ายเดินไปเดินมา โอ๊ยสมัยนี้เดินอย่างเดียวพอแล้ว มันต้องมีฐาน อย่างสื่อมวลชนนี่ เขามีฐานน้อยมากเลย แล้วจะเป็น Issue ที่สื่อเล่น จะได้ไหม 9 บาท

ผมจำได้ตอนผมอยู่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ผมไม่เคยจะพูดวันอาทิตย์ จีรวัฒน์ เพราะจะเป็นข่าววันจันทร์ มีครั้งหนึ่งเขาขอมา 10 บาท แล้วก็มีการตกลงกันเหลือแค่ 5 บาท เขาก็พาดหัวข่าวเลยนะ  ขออะไรนะ ปลาทูได้ปลาซิวอะไรอย่างนี้ นักข่าวเขาเก่ง แล้วเขาจะหาช่องเล่น ฉะนั้นเล่นข่าวของผู้ใช้แรงงาน ก็จะเป็นข่าวทางลบ  ข่าวทางบวกไม่ค่อยมี ฉะนั้นคนก็เลยไม่ค่อยศรัทธา จีรวัฒน์ลองคิดดูในเรื่องขบวนการแรงงาน มันคล้าย ๆ ขบวนการสหกรณ์ คือมันคนเยอะก็จริง แต่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแย่พอ ๆ กัน สหกรณ์การเกษตรก็จะอย่างนี้ พอมีราคาข้าวขึ้นมา ก็ปรากฏว่าผู้ส่งออกรายใหญ่เอาไปกินหมด ท่านผู้ฟังก็คงเห็นแล้วว่า อาชีพผมในการให้คนมีความรู้นี่เป็นความฝันอันยิ่งใหญ่ของผม ก็จะทำต่อไป

พิธีกร : ครับ ในบทความของอาจารย์เมื่อวานนี้ หลายท่านที่อาจจะไม่ค่อยได้ติดตามเท่าไรนี่ อาจจะเอ๊ะ  KM คืออะไร KM คือ Knowledge Management ใช่ไหมครับอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : คือวันนี้เราจับประเด็น 3 ประเด็นนะ แล้วท่านผู้ฟังก็คง...คือผมเอง แต่ก่อนผมก็ไม่กล้าเขียนเรื่องนี้ จีรวัฒน์ เพราะว่ามีเรื่องที่สับสน แล้วเผอิญหลังจากผมได้รับเชิญไปพูดเรื่องสังคมการเรียนรู้นี่บ่อย มีครั้งหนึ่งสมาคมพยาบาลทั้งประเทศเลย ผมก็ค่อย ๆ นึกถึงตัวผมเอง เวลาผมจะพูดอะไร ผมจะไม่อ่านทฤษฎีก่อน นึกถึงตัวผมเองว่า ผมจบปริญญาเอกมา ถ้าผมมีความดีก็คือสิ่งที่ผมไปพูดที่ไหน เกิดการแบ่งปันกัน แล้วก็เกิดปัญญาขึ้นมา แล้วก็เอาปัญญานั้นไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม หลักมันคือแค่นี้ เวลา..ก็เหมือนวันนี้รายการของเราอยู่ได้ไม่ใช่มีความรู้อย่างเดียวใช่ไหมจีรวัฒน์ เป็นความรู้ที่สด ทันสมัย ข้ามศาสตร์ แล้วก็สามารถไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แล้วก็ทำให้พฤติกรรมอันนั้นไปเกิด performance ได้ ในทางมุมต่าง ๆ ของสังคม

ผมก็เลยนึกถึงตัวผมเองเป็นหลัก คราวนี้ในทางทฤษฎีท่านผู้ฟังครับ มันก็มีนักคิดเยอะ มันก็ชอบคิด Idea ต่าง ๆ อย่าง KM นี่มันก็จะเป็นการมองว่า คือหลัก ๆ เขาจะบอกว่า ความรู้ไม่ได้มาจากความรู้อย่างเป็นทางการ ความรู้ส่วนมากมาจากประสบการณ์ด้วย ผมยกตัวอย่างอาจารย์ธรรมศาสตร์คนหนึ่ง ท่านอายุ 60 อย่างนี้ ท่านก็ทำงานเยอะ อย่างเช่น อาจารย์นิคม จันทรวิทุร ท่านจะมีความรู้ 2 ชนิด คืออันหนึ่งที่ท่านเขียนไว้ ปาฐกถาไว้ เขียน paper ไว้ กับความรู้ที่อยู่ข้างในท่าน ที่เรียกว่า Tacit ผมก็เลยบอกว่า KM ไม่ใช่ความรู้ที่ได้มาจากปริญญาหรือประสบการณ์ที่เห็นชัด ๆ มันต้องเอาความรู้ที่อยู่ข้างใน มองไม่เห็น มาเปลี่ยนเป็น ความรู้ที่เห็นได้ชัด ๆ อย่างวันนี้เวลาเราฟังวิทยุ ส่วนหนึ่งของผมเป็นความรู้ที่ผมมีอยู่ข้างนอก แต่ข้างในของผมก็มี แล้วเผอิญผมก็มีวิทยุ โทรทัศน์ เขียนบทความอย่างนี้ มันก็เลยเอาความรู้ที่หรือบางทีเราคุยกัน ก็เลยเอาประสบการณ์ออกมา

ผมก็เลยบอกว่า KM มันจำเป็นต้องเน้นความรู้ที่เรามองไม่เห็น แต่มีคุณค่ามาก ผมยกตัวอย่างที่ การไฟฟ้าภูมิภาค มีผู้เก็บเงินคนหนึ่ง อายุ 55 เคย deal กับผู้ใช้ไฟบนดอย ซึ่งต้องเดินทางไปหาเขาอะไรอย่างนี้ แล้วเงินเขาก็ไม่พอ เขาก็ทำงานสำเร็จ จ่ายเงินสม่ำเสมอ เราก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าเขาทำยังไง เพราะว่าที่การไฟฟ้าภูมิภาค เขามีกฎเยอะ  จีรวัฒน์ คนไม่จ่ายเงิน 7 วันตัด อะไรอย่างนี้ ท่านผู้ฟังครับ ใครก็ทำได้ ตัดไฟ จริงไหม แต่หลักก็คือว่าผู้บริโภคไม่พอใจกับการไฟฟ้าภูมิภาคเรื่อย ๆ วันหนึ่งการไฟฟ้าภูมิภาคก็เจ๊ง ก็เลยอยากจะศึกษาคนเหล่านี้ เพราะแต่ก่อนนี้การไฟฟ้าภูมิภาค นี่ยกตัวอย่าง เขาก็จะมีคนจบ ปวช. ปวส. ไปทำงานเทคนิค แล้วก็ขยายไปเป็นนักการตลาดด้วย เพราะเขาต้องเก็บเงินกับลูกค้ารายย่อย จีรวัฒน์ โอย คุณนักการตลาด คุณน่าจะแนะนำเขาบ้าง เขาต้องเดินไปตามที่ต่าง ๆ แล้วบางแห่งเขาก็ไม่ไป เขาต้องมาที่สำนักงาน อำเภอหรือจังหวัด จีรวัฒน์ ใช้ไฟแล้วยังต้องเดินมาอีก มันก็เลยต้องศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 181540เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ฉะนั้นผมก็เลยบอกว่า KM ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ก็เลยเน้นว่า K ไม่ได้มาจากความรู้ที่ได้มาจากปริญญา อย่างเช่นวันนี้ เราไปจบปริญญาตรีมา เราก็ได้ K ระดับหนึ่ง แต่ K อันนั้นมันต้องสด ทันสมัย ต้องปะทะกับความจริง ผมก็เลยใช้ทฤษฎีใน K อันหนึ่ง ผมเรียกว่า หนึ่งก็ต้องถามว่า หลังจากจบแล้ว คุณได้ความรู้แต่ละวันด้วยวิธีอะไร คล้าย ๆ กับคำว่า Acquire คือผมเอง ผมสนใจคำว่า Acquire อย่างเช้าวันนี้ ถ้าคนฟังรายการของเรา เขาก็จะ ได้มีโอกาสได้เห็นข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องวันแรงงาน ในลักษณะที่ลึก ทีนี้เขา Acquire เสร็จ เขาก็ต้องมี.. มันก็มาตัวที่อันหนึ่ง เขาเรียกว่า นอกจาก K แล้ว ก็ต้องมี LO

LO ในที่นี้ก็คือ Learning Organization แต่ก่อนจะมี Learning Organization หรือ Learning family หรือ Learning ชุมชน เขาก็ต้องมีวิธีการฟังข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แบ่งปันข้อมูล แล้วก็ต้องคิด วิเคราะห์ให้เป็น อันนี้สำคัญที่สุดคือ เราฟังข่าวตอนเช้า ถ้าเราไม่นิ่ง ไม่วิเคราะห์ ไม่คิดเป็นยุทธศาสตร์ ไม่คิดการแก้ปัญหา อะไรอย่างนี้ เราก็ได้แต่บริโภค Information ใช่ไหม.

Information อันนั้นก็เลยยังไม่เป็น Knowledge ผมก็เลยเน้นว่ามี KM ก็ลำบากแล้วในเมืองไทย ก็จะต้องมี LO ด้วย LO ก็คือวัฒนธรรมการเรียนรู้นั่นเอง อย่างทฤษฎีผมที่ผมใช้อยู่เป็นประจำ แล้วก็จีรวัฒน์ก็คงเรียนตั้งแต่สมัยผมเรียนกับคุณ คือเวลาผมสอนหนังสือ ผมจะใช้วิธีการสอนที่มันน่าสนใจ กระตุ้น เร้าให้เขาคิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีการโต้ตอบกัน คุณเป็นตัวอย่างที่ดี คุณชอบเรียนแบบนี้

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : สองคุณชอบบรรยากาศที่มันไม่เครียด คือเด็กบางคนที่ธรรมศาสตร์ อาจจะนั่งหลังห้องสุด อาจจะเป็นคนเรียนเก่งที่สุดก็ได้ แต่ในชีวิตนี่ พอให้เขาพูดอะไรก็จะประหม่า แล้วก็ก้มหน้าก้มตา แล้วก็บอกว่าหนูไม่ทราบค่ะ ชีวิตนี้นี่ ถ้าเรามีความรู้ เราไม่แบ่งปัน เราไม่ share เราไม่ถกเถียงกัน ก็เป็นที่มาของทฤษฎี 4 L ของผม ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายมากไปกว่านี้ เสร็จแล้วก็ไปเจอทฤษฎีของ Peter Senge ซึ่งเขาอยู่ที่ MIT เขาบอกว่าคนเราต้องรู้จริง คนเราต้องมีกรอบความคิดที่ถูกต้อง แต่ก่อนบอกว่า ฝนไม่ตกเดือนเมษา อย่าเชื่อ เดี๋ยวนี้ฝนตกแล้ว กรอบความคิด รถเคยทำเหมือนเกวียนใช่ไหม ต้องเอาล้อหลังวิ่ง เดี๋ยวนี้ล้อหน้าวิ่งก็ได้ ทีนี้บางคน อาจจะบอกว่า มีเงินแล้วไม่โกง ไม่จริงก็ได้ คือเราต้องฟังให้ดี เสร็จแล้วก็มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มองไปอนาคตร่วมกัน อย่างคุณกับคุณเจ้าของ Emporium ก็ต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่สั่ง จีรวัฒน์ทำ จีรวัฒน์ไม่เห็นด้วย หรือจีรวัฒน์แนะนำเขา เขาไม่เห็นด้วย ถ้าไม่มี share vision กัน ยุ่ง แล้วก็ต่อมาก็คือการเรียนหนังสือเป็นทีม ซึ่งคนไทยลืมไป อยู่ห้อง King ก็จะรู้อยู่คนเดียว ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่เทพศิรินทร์ หนอนหนังสือมากเลย แล้วก็เรียนอยู่คนเดียว ในที่สุดอายุยี่สิบกว่า เขาก็บ้าไปเลย ตอนที่เขาไปเรียนปริญญาโทที่อังกฤษ คือมันไม่มีการเข้าใจถึงมุมมองของคนอื่น สิ่งเหล่านี้ก็เลย....

ฉะนั้นก็ไปที่การมีสังคมการเรียนรู้ก็คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือต้องมีวัฒนธรรมในการคิด วิเคราะห์ เอาไปปะทะความจริง ความจริงพระเจ้าอยู่หัวในเศรษฐกิจพอเพียงลึก ๆ นั่นแหละท่านก็สอนไว้ ให้คนเดินทางสายกลาง เป็นระบบ คิดในลักษณะบริหารความเสี่ยง อยากให้มันเกิดภูมิคุ้มกัน อะไรอย่างนี้ สิ่งเหล่านี้มันเรียนรู้ทั้งนั้นจีรวัฒน์ แล้วท่านก็บอกว่าทำได้ก็ต้องเป็นคนมีความรู้ที่ทันสมัย แล้วก็ต้องมีคุณธรรมจริยธรรม อะไรอย่างนี้ ฉะนั้นการเรียนเกี่ยวกับเรื่องสังคมการเรียนรู้ มันอยู่ในตัวเราเองอยู่แล้ว มันอยู่ที่ว่า มันจะเอาไปใช้เป็นประโยชน์หรือไม่ อย่างการอ่านหนังสือนี่ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของ K ใช่ไหม

พิธีกร : ครับ

ศ.ดร.จีระ : แต่มันไม่พอ อ่านเสร็จเก็บไว้คนเดียว ไม่แบ่งให้คนอื่น อย่าง Bill Gates มีเพื่อนคนหนึ่งชื่อ Paul Allen ,มันอ่านเสร็จ มันก็คุยกันไปคุยกันมา อย่างผมแนะนำว่าเวลาผมไปสัมมนา ห้อง 3 – 400 คน ผมให้เขาจับมือกัน เป็น buddy กัน 2 คนคุยกัน เพราะว่าถ้าเป็นห้องไม่เกิน 30 คน ผมให้เขานั่งเป็นโต๊ะกลม แต่ถ้ามาฟังผม 4 – 500 คน ผมรีบให้เขาจับ buddy กันก่อน เอออาจารย์เขาพูดอย่างนี้ เราคิดยังไง ถ้าเราไปนั่งเฉย ๆ แล้วก็ฟังอย่างเดียว ไม่มีการ share idea เลย สมองคนไทยนี่มันไม่เก่งในการคิด จีรวัฒน์ แต่ถ้ามีเพื่อนมาช่วยคิด อย่างผมทำเรื่อง LO มานาน ผมก็เลยค่อนข้างจะรู้ไต๋คนไทยว่าหนึ่งให้โอกาสเขาคิด ให้โอกาสเขามีเพื่อนในการฟังสัมมนา เขาก็จะทำได้ดี จริงนะครับ แต่ถ้าเราบอกว่า เอ้าใครมีอะไรจะออกความเห็น คนไทยเงียบกริบเลย แล้วก็มีคนบ้าพูดอยู่คนหนึ่ง ไปที่ไหนมันพูดที่นั่น แล้วสิ่งที่มันพูดไร้สาระน่าดูเลย คือมันพูดเก่ง แต่คิดไม่เป็น อย่างนี้ ฉะนั้นผมเองค่อนข้างจะมีประสบการณ์เล็กน้อยในสิ่งเหล่านี้ แล้วก็คราวนี้เราทำเรื่อง LO แค่บริษัทข้ามชาติ บริษัทอื่นไม่ได้ ผมก็อยากให้กลายเป็น LN ก็คือ Learning Nation ก็หมายความว่า

พิธีกร : เป็นระดับประเทศแล้ว

ศ.ดร.จีระ : คือ Learning Nation มันก็มาจาก concept ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่ท่านเขียนว่า

Village that learn

School that learn

Industry that learn

แล้วก็ Nation that learn

แล้วก็เผอิญไปเจอกับลีกวนยู มันบอกว่า Investing for the learning nation ผมก็เลยคิดว่าคุณพารณ คิดไว้ตั้งนานแล้ว ของคุณพารณ ท่านเอาแนวของผมไปทำให้ทุกคนในองค์กรในประเทศเรียน มีป้าคนหนึ่งที่มหาสารคาม สอน software ให้คนอื่น เพราะว่าเราไปให้เขา แล้วผมเคยเห็นปวช. ปวส. คนหนึ่งที่ปูนซีเมนต์หรือไง ออกมา present ต่อหน้าวิศวจุฬาฯ ใช่ไหม คือมันฝึกได้ครับท่านผู้ฟัง มันฝึกได้ ทีนี้ HR manager เมืองไทย มันก็อยู่ที่เขา ว่าเขาจะชอบสิ่งที่ผมพูดไหม เพราะว่าจะให้ปวช. ปวส. กล้าพูดต่อหน้า CEO นี่ มันก็ต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เขาได้ฝึก ผมเคยเห็นคุณพารณฝึกบ่อย ท่านชอบให้ผมไปดู

มีอาชีวะคนหนึ่งมีความรู้มากขึ้น เหมือนกลับมาผู้ใช้แรงงาน จีรวัฒน์ เราน่ามีสถาบันพัฒนาความรู้ของผู้ใช้แรงงาน ไม่ใช่ทักษะอย่างเดียว อย่างวันนี้เรามีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นช่างกลึง ช่างไม้ ช่างอะไรนี่ ดีมากเลย ผมไม่ขัดข้องอะไรเลย แต่เวลาเราไปทำงาน ต้องใช้ภาษาอังกฤษ เราก็ต้องมีใช่ไหม เราต้องบริหารจัดการ เราต้องมี Emotional Intelligence เราต้องแก้ปัญหาในแต่ละวัน เราต้องมองอนาคตของเรา อายุ 40 แล้วจะทำอะไร เราต้องคิดเรื่องประชาธิปไตย เราต้องคิดเรื่องสิ่งแวดล้อม เราต้องคิดเรื่องการแข่งขันในโลก เราต้องรู้จักโลกาภิวัตน์ เราต้องรู้จัก FTA ซึ่งสำคัญมากเลย เพราะความรู้คือการมีไฟฉายในถ้ำมืด

พิธีกร : ใช่ครับ อาจารย์เคยพูดไว้

ศ.ดร.จีระ : ผมได้รับเชิญไปบ่อย ๆ ในช่วงแรก ๆ สิบกว่าปี เรื่องสังคมการเรียนรู้ ผมคิดถึงตัวผมเอง บางทีผมก็นึกถึงคุณ เออจีรวัฒน์ เรียนหนังสือแบบเปิดกว้าง open mind ใช่ไหม แล้ววันก่อนผมขอสรุปนิดหนึ่ง ผมเพิ่งไปเปิด course ล่าสุดให้ผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าเป็นรุ่นที่ 4 นะ ก็มีประธานคนหนึ่งเขาจบไปแล้ว เขาขึ้นจากผู้อำนวยการเป็นผู้ช่วยผู้ว่า เขาอยู่กับอาจารย์จีระ มีอย่างเดียวคือ มองอะไรกว้างไว้ อย่ามองแคบ คุณคณิตศาสตร์ดี คุณเก็บไว้ไม่ต้องมาบอกผมหรอก คุณสอบเข้าวิศวจุฬาฯ ได้ ไม่มีใครเขาว่าหรอก แต่พอคุณเป็นนักไฟฟ้า คุณต้องดูเรื่องพลังงานโลก ต้องรู้เรื่อง Global warming ต้องรู้เรื่องว่าชุมชนเขาไม่ชอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คุณจัดการได้ยังไง หรือคุณจะบริหารได้ยังไง ไม่งั้นวิศวะก็ไม่มีงานทำ นี่คือรายการวิทยุของผม ซึ่งจังหวะที่จะพูดแบบนี้ นาน ๆ ก็มีสักทีหนึ่ง

พิธีกร : ครับ ถือว่าเป็นของขวัญในวันแรงงานแทน 9 บาท นะครับอาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : 9 บาทก็ไม่พอ อยากให้ขึ้นเยอะกว่านี้ แต่ว่าคงต้องรออีกสักพักหนึ่ง

พิธีกร : ครับ แล้วเราพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ อาจารย์ครับ

พิธีกร : แล้วกลับมาพบกับอาจารย์ได้ใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ

นายศรายุทธ ยิ้มอยู่

       Blog   นี้ของอาจารย์มีประโยชน์ มากๆ ครับ ได้ติดตามอ่านหลายครั้ง ได้รับความรู้ในหลายๆ  เรื่อง ครับ อย่างให้ทุกๆ คนที่มีโอกาส  ติดตามอ่าน แล้วจะทราบว่ามีประโยชน์อย่างมาก ๆ ครับ

                                                                                                                                                                                     สวัสดีครับ

                                                                                           นายศรายุทธ    ยิ้มอยู่

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท