เป็นวิทยากรที่ "จนมุม"


เมื่อเข้าตาจน คนเราก้อยากจะเรียนรู้โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
ความต้องการเรียนรู้ เป็นจุดบ่งชี้ถึงความอยากเรียนรู้และการขวนขวายเพื่อทำความเข้าใจกับความรู้และภารกิจงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้ทันกับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงไปของข้อเท็จจริง โดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศที่แปรผันไปอย่างรวดเร็วนั้นกลายมาเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้คนเราต้องมีการปรับตัวและดิ้นรนให้เกิดการพัฒนาตนเองกับการทำงานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรให้บรรลุผล ความต้องการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร จึงเป็นสาเหตุและแรงจูงใจให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทุกระดับหันกลับมาจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของตนเองและความต้องการของเกษตรกร มีการคิดทบทวนงานที่ทำ การคิดที่จะสร้างงานใหม่ และการคิดที่จะพัฒนาตนเองให้เท่าทันผู้อื่น สำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร ก็เช่นเดียวกันที่ได้รวมเจ้าหน้าที่ทั้งในระดับจังหวัดและระดับอำเภอทุกคน รวมประมาณ 50 คน เพื่อมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "การใช้เครื่องมือ KM ...เพื่อพัฒนางานตามระบบส่งเสริมการเกษตร" โดยมีทีมวิทยากรจากกรมส่งเสริมการเกษตรที่เป็น "คณธทำงานบริหารองค์ความรู้" จำนวน 3 คน ได้มาจัดกระบวนการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KM ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาสาระของ KM นั้น ดิฉันและทีมงาน ได้ออกแบบกระบวนการ คือ ขั้นที่ 1 สร้างความภูมิใจกับผลงานและความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ โดยตั้งประเด็นคำถามเพื่อถอดความรู้ที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนชำนาญการ/ถนัด และผลงานส่งเสริมการเกษตร ที่เจ้าหน้าที่ทำแล้วได้ผล/ภาคภูมิใจ ขั้นที่ 2 สร้างความรู้และผลงานเป็นขององค์กร โดยการแบ่งกลุ่มและมอบโจทย์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้นำความรู้และผลงานของตนเองมาแลกเปลี่ยนและรวบรวมเป็น ความภาคภูมิใจให้กับองค์กร ขั้นที่ 3 สร้างความรู้เพื่อยกระดับตนเอง โดยใช้แบบประเมินผล "การเป็นวิทยากรกระบวนการ" ให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนได้ประเมินผลความรู้ความสามารถและทักษะของ ตนเอง โดยใช้ เกรด A B C และ D ขั้นที่ 4 เสริมทักษะการใช้เครื่องมือเพื่อประมวลผลข้อมูล โดยการแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่และแนะนำให้เจ้าหน้าที่แต่ละคน (ทุกกลุ่ม) ได้รู้จัก "กราฟเส้น" เพื่อนำมาใช้ ลงข้อมูลให้เป็นของกลุ่มและเป็นภาพรวมขององค์กรเกี่ยวกับ "ผลการประเมินบทบาทการเป็นวิทยากรกระบวนการ" ขั้นที่ 5 แนะแนวให้เจ้าหน้าที่ได้ทดลองอ่านข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล และสรุปผลข้อมูล โดยใช้ "กราฟเส้น" เพื่อเสริมความรู้เกี่ยวกับ KV KS และ KA ขั้นที่ 6 ประมวลและเชื่อมโยง "ความรู้ ผลงาน และผลการประเมินตนเอง" จากขั้นที่ 1 ถึง ขั้นที่ 5 เข้าสู่แนวคิดและหลักการ KM ขั้นที่ 7 เสริมความรู้เรื่องการจัดการความรู้ (KM) โดยการนำเสนอ Power Point ประมาณ 22 ภาพ เพื่อให้เห็นความหมาย ประเภท ประโยชน์ ปัญหาอุปสรรค ข้อคิด การขยายผล และตัวอย่างการนำ KM ไปใช้กับการทำงาน ซึ่งได้เชื่อมโยงกับประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ความรู้ ผลงาน และทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ ขั้นที่ 8 ประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการตั้งประเด็นคำถาม ได้แก่ การสรุปความเกี่ยวกับ KM องค์ประกอบ กระบวนการ และการนำ KM ไปใช้ เป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตร ขั้นที่ 9 เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น โดยเจ้าหน้าที่ (ผู้ฟัง) ได้ตั้งประเด็นคำถามถึงเนื้องานส่งเสริมการเกษตรที่ต้องปฏิบัติแล้วให้ทีมวิทยากรทดลองจัดเนื้อหาเข้ากับเครื่องมือ KM เพื่อเป็นตัวอย่างเหตุการณ์จริง ได้แก่ โครงการสายใยรัก งานวิสาหกิจชุมชน และงานสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้เจ้าของงานดังกล่าวก็ได้เล่าข้อมูลและข้อเท็จจริงให้ฟัง แล้วทีมวิทยากรก็จัดกรอบเนื้อหาโดยใช้ KM เข้ามาช่วยดำเนินงาน หลังจากนั้นก็ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน เช่น การแสดงความคิดเห็น การซักถาม การตั้งประเด็นสังเกตุ และอื่น ๆ จึงสรุปได้ว่า ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ KM ให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร ประมาณ 50 คน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานครนั้น ทีมวิทยากร มีจำนวน 3 คน โดยมี "แผนการเรียนรู้" เป็นเครื่องมือ มีการถอดความรู้ ผลงาน และประเมินทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเชื่อมโยงสู่การทำความเข้าใจเรื่อง KM มีการเสริมความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการ KM มีการยกตัวอย่างงานส่งเสริมการเกษตรกับการนำ KM ไปประยุกต์ใช้ และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำ KM ไปใช้ในการทำงาน ดังนั้น จึงทำให้บรรยากาศการเรียนรู้มีทั้งบรรยากาศของความเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลกลุ่ม และข้อมูลองค์กร ผู้รับการถ่ายทอดความรู้มีการซักถามโดยยกตัวอย่างงานของตนเองที่ต้องรับผิดชอบมาใช้เป็น Case Study เพื่อทดลองนำเครื่อง KM เข้ามาใช้ในการทำงาน ประมาณ 3 กรณีตัวอย่าง จึงส่งผลให้บรรยากาศที่เกิดขึ้นนั้น "เป็นแบบอยากรู้อยากเห็น ไขข้อข้องใจ/ข้อสงสัย และอยากทดลองนำไปใช้จริง" ซึ่งสังเกตมาจากการตั้งประเด็นคำถาม การตั้งประเด็นข้อสงสัย และการร่วมแสดงความคิดเห็น" ดังนั้น การจัดการความรู้ หรือ KM เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการกันอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดการทำความเข้าใจและขาดการสรุปความที่เป็นองค์ความรู้และผลงานที่เป็นของตนเองและองค์กร จึงส่งผลให้ขาดความเป็นรูปธรรมเพื่อใช้สำหรับสื่อสารและการบอกกล่าวที่ชัดเจนนั่นเอง.
หมายเลขบันทึก: 181421เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 01:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีครับ อ.ศิริวรรณ
  • ตั้งใจมาแวะเยี่ยมครับ
  • เห็นด้วยที่ว่าKM เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการกันอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดการทำความเข้าใจและขาดการสรุปความที่เป็นองค์ความรู้และผลงานที่เป็นของตนเองและองค์กร จึงส่งผลให้ขาดความเป็นรูปธรรมเพื่อใช้สำหรับสื่อสารและการบอกกล่าวที่ชัดเจนนั่นเอง.
  • แต่คาดหวังว่า วันที่ 12-14 พค.นี้น่าจะหาคำตอบได้ไม่ยากครับ
  • ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท