บันทึกการทำงาน : C-Peptide


เมื่อวานตอนเย็นขณะต่อแถวใช้คูปองในการซื้ออาหารในงานกีฬาสีคณะแพทย์ ขอเล่าหน่อยว่า เกือบชั่วโมง ได้หอยครก ปลาหมึกครก มาอย่างละกล่อง ตอนแรกกะซื้อแค่ห่อเดียว แต่ต่อแถวตั้งนาน ไม่คุ้มเลยซื้อสองกล่อง เพราะมองไปทางไหนก็แถวยาวทั้งน๊าน 1 ชม.ใช้คูปองไป 40 บาท แถวทั้งยาว ทั้งร้อน เพราะอัดกันอยู่ในเต๊นท์ พอกะทะร้อน ควันขึ้น แถวเราก็จะเอียงเบี่ยงออก เป็นเส้นโค้ง บ้างเส้นตรงบ้าง ผู้เขียนยังชมตัวเองเลยว่ามีความอดทนในการรอคอยมาก อ้อ!! แต่ก็อดยิ้ม ๆ ไม่ได้เพราะพ่อค้าอารมณ์ดี บอกลูกค้าว่า "ใจเย็น ๆ อยากขาย ครับอยากขาย รอหน่อย"ประมาณนี้ ...

ระหว่างต่อแถวเจอเพื่อนสนิทสมัยม.ต้น เป็นพยาบาลอยู่ ถามเรื่องการทดสอบ C-peptide เจาะยังไง ส่งที่ไหน เพราะแพทย์สั่งมา ผู้เขียนบอกตามตรงไม่รู้ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าภาคเรามีทำรึเปล่า หรือว่าทำที่ไหน ตอนนี้ก็ยังไม่ทราบ เพื่อนถามว่ารู้อะไรบ้าง บอกไม่รู้เลย หันกลับมาทบทวนตัวเอง แย่มาก เราเป็นนักเทคนิคการแพทย์ที่แย่มาก ไม่ตามสมัยในความรู้ข่าวสาร ที่ควรจะรู้ แม้จะพยายามแก้ตัวเล็ก ๆ กับตัวเองว่า...ขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการแต่ละที่ วิธีการของแต่ละแห่ง เราไม่ได้ตรวจก็เลยไม่รู้ไง แต่ฟังไม่ขึ้นยังไงก็ไม่รู้

วันนี้เลยได้โอกาสค้น google จึงได้รับความรู้มาบ้างไม่มาก ก็อยากเขียนบันทึกเก็บไว้ เสียแต่ว่าตัวเองชอบอ่านอะไรเป็นภาษาไทย ๆ ข้อมูลภาษาอังกฤษเยอะมาก แทบจะไม่เปิด เลือกที่แปลเป็นไทย ดังนี้ค่ะ

"C-peptide 1เกี่ยวข้องกับ insulin คือ ใช้ในการประเมินการทำงานของ -cell ของตับอ่อนเนื่องจากตับอ่อนหลั่ง C-peptide พร้อมกับ insulin ในปริมาณที่เท่ากัน ไม่ถูกทำลายโดยขบวนการ first pass effect เหมือน insulin และจะอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 4 ชม. ในขณะที่ insulin จะอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 30 นาที นอกจากนั้นการวัด insulin ในกระแสเลือดยังวัดได้ยากเนื่องจากในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย insulin ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็น exogenous insulin หรือ endogenous insulin กรณีที่วัด C-peptide ได้ น้อยกว่า 0.2 nmol/L แสดงว่า -cell เริ่มมีการสูญเสียการทำงานแล้ว
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ C-peptide 2 ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 พบว่าช่วยลด glomerular hyperfiltration , filtration fraction และช่วยลด albumin excretion แต่ไม่ช่วยลด platelet fibrinogen binding 3
ช่วยเพิ่ม cardiac perfusion 4 ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ที่ขาด C-peptide โดยไม่เพิ่ม oxygen consumption และยังมีฤทธิ์ช่วยทำใให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นมากขึ้นทั้งในขณะพักและในขณะออกกำลังกาย มีเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มมากขึ้นโดยกระตุ้นผ่าน Na, K-ATPase ที่ capillary tissue ซึ่งจะเสริมฤทธิ์กับ insulin ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
มีการศึกษา 5 การใช้ C-peptide ในหนูที่โตเต็มวัยที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานพบว่าช่วยทำให้มีการส่งกระแสประสาทได้ดีขึ้นซึ่ง จะเกิดในเส้นประสาทเส้นเล็กเช่นที่บริเวณหน้าขา ได้ดีกว่าเส้นประสาทขนาดใหญ่
เช่น บริเวณก้นกบ"

แต่การเก็บตัวอย่างอย่างไร ส่งตรวจที่ไหน ผู้เขียนยังไม่รู้เลยว่า รพ.เราภาคไหน ๆ  หรือในภาควิชาเราทำการตรวจวิเคราะห์รึเปล่า??

คำสำคัญ (Tags): #c-peptide#การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 180700เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท