ลำดับความสำคัญของความรู้


ความรู้ที่ควรค่าแก่การยกย่อง

บันทึกนี้เป็นลำดับความสำคัญของความรู้ครับ...เห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาแบ่งปันกันอ่านครับ

อิมาม อาบู ฮามิด มูฮัมหมัด อัล-ฆอซาลี (ค.ศ. 1058-1111) อาจารย์ผู้ทรงความรู้แห่งสถาบันนิซอมียะฮฺในกรุงแบกแดด พัฒนาหลักการโครงสร้างของความรู้ในหนังสือ Book of Knowledge ของท่าน ซึ่งวางอยู่บนหลักพื้นฐาน 3 ข้อ คือ :

1.แหล่งของความรู้

ก.ความรู้ที่รับจากวิวรณ์(วะหยุ) ซึ่งได้มาจากท่านศาสนทูตทั้งหลายและไม่ได้มาจากสติปัญญาของมนุษย์

ข.ความรู้ที่ไม่ได้รับจากวิวรณ์(วะหยุ) ซึ่งแหล่งความรู้มูลฐานของมันก็คือการใช้เหตุผล อย่าง คณิตศาสตร์ หรือมาจากการทดลอง เช่น ทางการแพทย์ หรือมาจากการได้ยิน เช่นภาษาต่างๆ

แหล่งความรู้ที่บริสุทธิ์ที่สุด คือจากผู้ทรงสร้าง ซึ่งติดต่อกับมนุษย์ผ่านทางผู้นำสาส์นที่ได้รับคัดเลือกของพระองค์ โดยวิธีการของการเปิดเผยของพระเจ้า(วะหฺยุ) การเปิดเผยของพระเจ้ามาในแบบทางตรงจากคัมภีร์(อัลกุรอาน)และเช่นเดียวกันกับแบบทางอ้อมจากแนวทางการดำเนินชีวิต(ซุนนะฮฺ)ของท่านศาสดา

การสั่งสมประสบการณ์ของมนุษย์เป็นวิธีการที่ได้รับความรู้ ถึงแม้ว่าความรู้นั้นจะไม่บริสุทธิ์หรือไม่น่าเชื่อถือก็ตาม ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์นี้ แม้ว่าจะมีความจำเป็นสำหรับการศึกษา แต่ก็ต้องตรวจสอบด้วยความระมัดระวังจากทรรศนะของความรู้ที่จากการเปิดเผยจากพระเจ้า(วะหฺยุ)  

2.ระดับความจำเป็นของความรู้

ก.ความรู้ซึ่งจำเป็นสำหรับแต่ละบุคคล(ฟัรดู-อีน) ซึ่งก็คือความรู้ที่จำเป็นสำหรับสำหรับบุคคลหนึ่งๆในการใช้ชีวิตเพื่อการดำรงอยู่ เช่น หลักจริยธรรมทางสังคม ศีลธรรม กฎหมายทางวัฒนธรรม และอื่นๆ

ข.ความรู้ซึ่งมีความจำเป็นต่อสังคม(ฟัรดู-กิฟายะฮฺ) หรือความรู้ซึ่งมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดของสังคมทั้งหมด เช่น ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร การแพทย์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรม เป็นต้น

3.หน้าที่ทางสังคม

ก. ความรู้ที่ควรค่าแก่การยกย่อง ซึ่งสนามของความรู้นี้เป็นประโยชน์และมีความจำเป็น โดยที่เป็นความรู้ซึ่งมีผลต่อชีวิตทั้งในโลกนี้และการมีความสำเร็จในโลกหน้าด้วย

ข.ความรู้ที่อนุมัติให้ศึกษาซึ่งเป็นความรู้ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับศิลปะและความรู้ทั่วไป อย่างเช่น บทกวี  ประวัติศาสตร์ มนุษยวิทยา เป็นต้น

ค.ความรู้ที่ควรถูกตำหนิ ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ที่ต้องห้ามในกฎหมายอิสลาม เช่น ความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์ มายากล การพนัน เป็นต้น

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความรู้ซึ่งเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติทั้งชีวิตในโลกนี้และโลกหน้าจะเป็นความรู้ที่มีความสำคัญมากกว่าความรู้ที่เป็นประโยชน์เพียงเฉพาะชีวิตในโลกนี้เท่านั้น ดังนั้น คำสอนเกี่ยวกับศาสนาหรือความรู้ที่ไดัรับการเปิดเผยจากอัลลอฮฺ(วะหฺยุ) ซึ่งเป็นทางนำแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์ในลักษณะความสัมพันธ์ของพวกเขาต่อพระผู้สร้าง สังคมมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม จะต้องให้ความสำคัญมากกว่าการได้มาซึ่งความรู้ทางโลกวัตถุ  ซึ่งแม้ว่ามันจะมีความจำเป็นไปตามระดับต่างๆที่แตกต่างกันไปในโลกนี้ก็ตาม และแม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วมันจะให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีพในชีวิตนี้

ความรู้ที่มีความจำเป็นต่อสังคม ก็คือความรู้ที่จำเป็นต้องช่วยสังคมให้รอดก็จะถูกพิจารณาว่ามีความสำคัญที่เป็นหน้าที่ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ของคนในสังคมโดยรวม(ฟัรดู-กิฟายะฮฺ) ...

 

ข้อมูลอ้างอิงจากhttp://www.muslimthai.com/main/thai/network.php?url=http://www.bandhitislam.com

 

หมายเลขบันทึก: 180688เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตัวหนังสือ เล็กไปหน่อยครับ..แต่ขอบคุณสำหรับความรู้

ขอบคุณครับ

1. คนโรงงาน ผมแก้ไขให้แล้วครับ พอดีเข้ามาไวนิดนึงอ่าครับ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ กับความสำคัญของความรู้

การจัดระบบความรู้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ

3. บัวปริ่มน้ำ ที่แวะมาเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท