PMQA เครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กร ตอน 3


เป็นเสมือนเครื่องมือแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยร่างกายขององค์กร

         ในตอนที่ 2 ผมได้บอกไว้ว่า  ถ้าไม่รู้ที่ไปที่มาของอะไรก็แล้วแต่ที่เรากำลังดำเนินการอยู่มันทำให้ไม่ค่อยโล่งในความรู้สึก  (อ่าน ตอนที่ 2)   จึงขอเล่าในส่วนที่รู้ความเป็นมาของ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) 

         PMQA ย่อมาจาก Public  Sector  Management  Quality  Award  ความหมายที่เป็นภาษาไทยก็หมายถึง   รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  แต่ในการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำมาดำเนินการกับส่วนราชการนั้นก็เพื่อ  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไปใช้เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้เป็นหน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติงานสูง  มีมาตรฐานการทำงานเทียบกับมาตรฐานสากล  ซึ่งก็หมายถึงว่าไม่ได้หวังว่าให้หน่วยงานทำเพื่อรับรางวัล  แต่ทำเพื่อตรวจความพกพร่อง  เพื่อจะได้มีโอกาสในการปรับปรุงให้ดีขึ้น 

        ก่อนมาถึง PMQA ในประเทศไทยนั้น  มีที่มาว่า ช่วง ทศวรรษ  1980  ประเทศสหรัฐสูญเสียความสามารถ   ในการแข่งขันทางธุรกิจ  อันเนื่องมาจากว่าประเทศอื่นที่เป็นคู่แข่งเขามีการพัฒนาปรับปรุงอยู่อย่างต่อเนื่อง  และโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น  ส่งสินค้าเข้าไปในสหรัฐ ถือว่าเป็นการตีตลาดในประเทศไปเลย  สหรัฐคงเห็นท่าไม่ดี  ปี ค.ศ.1987  ได้ริเริ่มสร้างเกณฑ์คุณภาพขึ้น  เพื่อที่ให้องค์กรในประเทศได้เกิดการบริหารจัดการที่ดี  โดยใช้ชื่อว่า  Malcolm  Baldrige  National Quality  Award (MBNQA)  กรอบแนวคิดต่าง ๆ มาจากการระดมสมองจากผู้บริหารและนักวิชาการระดับแนวหน้าของประเทศ  และในที่สุดเกณฑ์นี้ก็เป็นแนวทางการปรับปรุงการบริหารขนานใหญ่ในสหรัฐ  และในที่สุดเขาก็ก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในตลาดโลกในเวลาไม่นาน 

        จนมาถึงปัจจุบัน เกณฑ์คุณภาพ MBNQA  ได้รับการยิมรับว่าเป็นแนวทางในการบริหารองค์กรที่มีประสิทธิผลที่สุด  ความยอดเยี่ยมคือสามารถปรับใช้กับองค์องค์ทุกประเภท

         ประเทศไทยก็ได้สร้างเกณฑ์คุณภาพขึ้น   พื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติประเทศสหรัฐ  โดยมุ่งหวังว่าให้องค์กรธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อส่งมอบคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ

         และก็มาถึงส่วนราชการ  สำนักงาน ก.พ.ร.   ได้ดำเนินการจัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขึ้น  เพื่อให้ส่วนราชการได้นำไปใช้  ในการยกระดับ  ส่วนใหญ่ก็เพื่อสร้างโอกาสในการปรับปรุงยังไม่ถึงการประกวดรับรางวัล

         มีโมเด็ลที่เป็นเครื่องมือหลายโมเด็ลที่ได้ศึกษาเรียนรู้แล้ว   ทำให้เป็นเครื่องช่วยคิดช่วยกระตุ้นให้เกิดภาพในการพัฒนาหลาย ๆ ด้านเกิดขึ้น   คือศึกษาแล้วสอนให้เราสามารถคิดอะไรได้อย่างเป็นระบบไม่ล่องลอย  สามารถนำไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันก็ได้  ทำให้มองเห็นว่าทุกอย่างมีองค์ประกอบของมัน  และทุกส่วนที่เป็นองค์ประกอบหรือโครงสร้างนั้นต้องแข็งแรง  โดยองค์รวมจึงจะแข็งแรงได้  PMQA   เป็นเสมือนเครื่องมือแพทย์ที่ตรวจวินิจฉัยร่างกายขององค์กร  ว่าอวัยวะส่วนใดที่ไม่แข็งแรงก็ทำแผนเพื่อปรับปรุงสุขภาพซะ  แล้วก็ดำเนินการปรับปรุง  ในขณะที่ปรับปรุงก็ไม่ประมาทประเมินการปรับปรุงนั้นอยู่ตลอดว่ากระบวนการที่ปรับปรุงนั้นดีแล้วยังถ้ายังก็ปรับปรุงกระบวนการใหม่ เพื่อให้ดีขึ้น 

  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #pmqa
หมายเลขบันทึก: 180472เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • พอได้ทราบที่มาที่ไป
  • เขาให้ส่งแบบประเมิน อาทิตย์หน้าแล้ว
  • ผมรับผิดชอบหมวด4
  • ขอบคุณมาก

ขอบคุณน้องตุกที่มาเยี่ยมและแลกเปลี่ยน อยากให้แลกเปลี่ยนบรรยากาศการดำเนินการของยะลาบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท