ร่าง "มาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ ประเภทวิชาการ สายงานนักรังสีการแพทย์"


อนาคตชาวรังสีเทคนิคจะเป็นอย่างไร? ชาวเราช่วยกันได้

ด่วนที่สุด

     ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติที่เรียกเข้าใจง่ายๆคือ ยกเลิกระบบซีไปเป็นแท่ง และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กองการเจ้าหน้าที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำ ร่าง "มาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ ประเภทวิชาการ สายงานนักรังสีการแพทย์" โดยมีผู้แทนชาวรังสี ทั้งต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ รวมทั้งนายสละ อุบลฉาย ได้เข้าร่วมพิจารณาด้วยส่วนหนึ่ง และเตรียมการเสนอร่างดังกล่าวไปยัง ก.พ. ในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ นี้ จึงถือเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญอย่างยิ่ง และมีผลกระทบโดยตรงต่ออนาคตของชาวรังสีทุกคน ท่านสามารถดูร่างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ฯ ตามที่ กจ. จัดทำโดย click

     วันที่ ๒ พ.ค. ๒๕๕๑ นายสละ อุบลฉาย คณะกรรมการวิชาชีพฯ และ นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ได้นำเรื่องนี้เสนอในที่ประชุมการพิจารณาจัดทำคลังข้อสอบฯ โดยขอเสนอเป็นกรณีพิเศษ เพราะเห็นว่ามีชาวรังสีมาร่วมประชุมหลากหลาย ทั้งผู้ผลิต และผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อต้องการรับฟังข้อเสนอแนะ ซึ่งที่ประชุมได้ ร่วมกันพิจารณาและได้ข้อสรุปว่า จะพิจารณาในภาพรวมของการกำหนดตำแหน่งเสียก่อน ซึ่งตามหลักมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งประกอบด้วย ๔ ส่วนสำคัญ ได้แก่ ด้านปฏิบัติการ ด้านการวางแผน ด้านการประสานงาน และด้านบริการ ที่ประชุมเห็นว่าควรมีสัดส่วนของด้านต่างๆ ของแต่ละตำแหน่งในสายงานรังสีการแพทย์ สรุปได้ดังรูป หรือดูข้อสรุปละเอียดโดย click

     คณะกรรมการวิชาชีพฯ และสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย เห็นว่า เรื่องนี้สำคัญมาก และจะมีผลกระทบระยะยาว จึงขอให้มีการสัมมนาอีกครั้งโดยด่วน ในวันที่ ๖ พ.ค. ๒๕๕๑ เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ที่ ห้องบรรยายชั้น ๑๐ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราช โดยได้เชิญ ก.ช. สถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคทั้งหมด ตัวแทนผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เข้าร่วมสัมมนา และเมื่อได้ขอสรุปแล้ว จะได้เสนอ กจ. ในวันที่ ๗ พ.ค. ๒๕๕๑ ต่อไป

     สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ศึกษาเรื่องนี้และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ มายังสมาคมฯ โดยเขียนใน block ด้านล่างสะดวกที่สุด และโปรดบอกชื่อและนามสกุลด้วยนะครับ ส่งข้อคิดเห็นภายในวันที่ ๕ พ.ค. ๒๕๕๑

ร่างตามที่ กจ. เสนอ

ข้อสรุปจากที่ประชุม KU Home ๒ พ.ค. ๒๕๕๑

อ่านร่างที่ส่ง กจ. ๖ พ.ค. ๒๕๕๑

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ประกายรังสี
หมายเลขบันทึก: 180302เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เดี๋ยวจะนำไปแจ้งเพื่อนๆ ทางมอชอให้รับรู้ด้วยค่ะ

ขอบคุณนะคะ

เรียน อ.มานัส

พอได้อ่านร่างมาตรฐานกำหนดตำแหน่งใหม่ (กพ.) แล้ว มีข้อสงสัย / ข้อสังเกต หลายประการ ดังนี้

1. ระดับตําแหน่ง ปฏิบัติการ

-คำนิยามของ "ปฏิบัติงานที่ใช้องค์ความรู้ในทางวิชาชีพรังสีการแพทย์ในระดับต้น" ซึ่งอ่าน ๆ ไปก็คิดว่าไม่แตกต่างจากที่เคยทำ (เพียงแต่เขียนเป็นภาพรวม ๆ ไม่ลงในรายละเอียดค่ะ)

- คุณสมบัติ ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพรังสีการแพทย์ ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกันหรือไม่ค่ะ และความแตกต่างของผู้ที่จบ ป.ตรี . ป.โท หรือ ป.เอก คือสิ่งใดในระดับนี้นะค่ะ (ซึ่งจากที่อ่านก็ไม่เห็นถึงความแตกต่างค่ะ)

2. ระดับตําแหน่ง ชํานาญการ

-ถ้าการปฏิบัติงาน มิได้อยู่ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับต้น (ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อยลำบากสำหรับงานทางสายนี้) จะสามารถใช้คำว่า "ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์" แทน แล้วสามารถอยูในระดับนี้ได้หรือไม่ (ทั้งผู้ที่จบ ป.ตรี, ป.โท, ป.เอก เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด) ทั้งนี้ความแตกต่างของสายนี้ กับสายปฎิบัติการ คือ ต้องทำงานวิจัย (เพิ่มเติม) หรือไม่

สำหรับสัดส่วนในแต่ละด้านของแต่ละระดับ ขออนุญาตไม่ออกความคิดเห็นค่ะ (เนื่องจากไม่ทราบถึงความสำคัญ และรายละเอียดเชิงลึกของแต่ละด้าน) คงขึ้นกับการพิจารณาทั้งจากที่ประชุม และ กช. ค่ะ

ภัสสุรีย์

เรียน อ.มานัส ที่เคารพรัก

แก้วได้เข้าไปดูใน website ที่แนะนำแล้วนะค่ะ แต่แก้วมีคำถามและข้อคิดเห็นดังนี้ค่ะ

1. เนื่องจากการรับราชการเป็นทหาร จึงไม่ค่อยทราบรายละเอียดเกี่ยวกับซีที่เปลี่ยนเป็นแท่ง จึงไม่เข้าใจว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับการกำหนดตำแหน่งวิชาการใหม่ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามขอ อนุญาตออกความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่เลือกในการจัดตำแหน่งฯ ดังนี้

1.1 การใช้เกณฑ์ ทั้ง 4 นั้น จำเป็นต้องมีนิยามชัดเจน เช่นการบริการ ครอบคลุมเพียงการ สอนหรือบรรยายกับการQA เท่านั้นจะคลอบคลุมถึงคำว่าบริการหรือไม่ การวางแผนจะรวม เกี่ยวกับการบริหารหรือไม่ เพราะผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่จะมีงานที่ต้องบริหารเป็นหลักและบาง ท่านอาจบริหารองค์กร หรือระบบการศึกษา มิใช่แต่งานรังสีเท่านั้น

1.2 มีเกณฑ์แล้วใครเป็นผู้ประเมิน ผู้ประเมินเป็น ใคร เป็น third party หรือไม่ เมื่อนักรังสี ผู้นั้นได้รับการประเมินให้เป็นระดับใดก็ตามแต่ จะมีผลอะไรต่อผู้นั้น และจะมีอะไรเป็นตัววัด ในการให้ผู้นั้นขยับระดับของนักวิชาการได้

2. คำถามที่เรียนถามอาจารย์เป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าใจว่า การจัดตำแหน่งทางวิชาการนี้ จะให้อะไรกับนักรังสี มีข้อดีและข้อแตกต่างจากเดิมอย่างไรค่ะ

ด้วยความเคารพ

ศุภขจี แสงเรืองอ่อน

แล้วร่างมาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐานของ สภา หรือ สมาคม

เช่นการกำหนด จำนวน นักรังสีเทคนิค ต่อเครื่องกำเนิดรังสี หรือ ขนาดของโรงพยาบาล

มาตรฐานขอบเขตงานรับผิดชอบที่ชัดเจน เช่นการทำอัลตร้าซาวด์

การรับผิดชอบงาน เช่น ใช้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง ทำอะไรแทนได้บ้าง หรืออะไรที่ทำไม่ ได้

มาตรฐานงานบริการด้านรังสีกำหนดว่าอย่างไรบ้าง

มาตรฐานงานทางห้องปฏโบติการทางรังสี

เพราะที่อ่นดูมันกว้างมาก ไม่ชัดเจนเหมือน พยาบาลหรือวิชาชีพอื่น

ไม่ทราบว่าจะดูได้จากร่างมาตณฐาน ของอะไรเปนหลักค่ะ

เห็นของห้อง Lab ห้อง ยา เขาทำมาตรฐานกัน ค่ะ อยากทำมาก แต่ตอนนี้เอามาตรฐานของประกันสังคมมาจับอยู่คะ อยากได้มาตรฐานฉบับของสมาคมเลยหรือ มาตรฐานกลางค่ะ

จาก โรงพยาบเอกชนที่อยากทำมาตรฐานให้เทียบเท่าวิชาชีพอื่น

  • กราบเรียนอาจารย์มานัส
  • ได้แจ้งเพื่อนนักศึกษาต่อเนื่อง ทั้งใน-นอกสถานที่ และแจ้งกลุ่มนักรังสีฯ
  • เปิดกระทู้สาธารณะ บน Board ที่ภาควิชา และ Webboard ของภาควิชา
  • มีการ Disscuss พอสมควร
  • มีหลายประเด็นที่กระผม จะนำไปร่วมประชุมในวันอังคารที่ 6 พ.ค.2551 ที่ศิริราชครับ

 

* กราบเรียน ท่านประธาน กช.และท่าน อาจารย์ทุกท่าน

อ่านร่างมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ก็ยังรู้สึกมึนงงอยู่ดีก็เลยขอเรียนสอบถามอีกครั้งคะ

1.สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี(รังสีเทคนิค)มีใบประกอบโรคศิลปะฯ

แล้ว ดำรงตำแหน่ง เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์6 เมื่อจัดเข้าแท่งแล้วจะอยู่ในแท่ง

วิชาการหรือได้เลยหรือไม่ และใช้ข้อจำกัด อย่างไรเป็นเกณฑ์

2.สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี(รังสีเทคนิค)มีใบประกอบโรคศิลปะฯ

แล้ว ดำรงตำแหน่ง นักรังสีการแพทย์ (ลูกจ้างชั่วคราว)ในโรงพยาบาลของรัฐ

จะได้รับการ บรรจุเข้าแท่งตามระบบได้หรือไม่ (ร่วมถึงพนักงานราชการด้วย)

ขอขอบพระคุณอย่างสูงคะ

อาจารย์มานัสคะ ขอเสนอแนะตาม <Link> นี้นะคะ และจะส่ง file ไปให้ด้วยค่ะ

เรียน อาจารย์ครับ ผมอยากให้ระบุให้ชัดเจนไปเลยว่านักรังสีระดับปฎิบัติการถึงผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำอะไรเป็นบ้าง เพราะเครื่องมือทางรังสีมีเยอะ ขอบคุณครับ

เรียน อาจารย์มานัส

อาจารย์ค่ะหนูคือ หนึ่งในล้านที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะหนูจบ มน.รุ่น 1ค่ะ หนูกำลังเตรียมตัวสอบบรรจุตำแหน่งข้าราชการ หนูอยากขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ช่วยส่งหนูข้ามฝั่งทีค่ะ หนูอยากได้แนวข้อสอบคะอาจารย์

ด้วยเคารพอย่างสูง

ศิษย์เก่า

ถึงศิษย์เก่า

ผมลองนับดู ผมมีลูกศิษย์ไม่ถึงล้านคนแน่นอนครับ ยังห่างไกลมากๆๆๆๆๆๆ ขอให้โชคดีกับการสอบครับ แนวข้อสอบคือ จงมั่นใจตัวเอง มีสติมั่น ไม่ประมาท จบ.....

โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท