ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนชั้น ม.3 ปีการศึกษา 2550 ตกต่ำ


              เมื่อข้อมูลบ่งชี้ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ นักเรียนชั้น ม.3  ปีการศึกษา 2550  โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงจากปีการศึกษา 2549  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ต่ำลงไปอย่างน่าใจหาย จึงถือเป็นปัญหาความต้องการจำเป็น(NA)เร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเรื่องหนึ่งของคนในวงการศึกษา
         สาเหตุของปัญหาคืออะไร
? ทีมงานเล็กๆของเราลองนำปัญหานี้มาวิเคราะห์  ก็พบว่า ที่จริงปีนี้เราตระหนักเรื่องนี้กันมาก  แต่ละ สพท.พยายามกวดขันกันอย่างมาก  หากลวิธีต่างๆมากระตุ้นให้โรงเรียนเตรียมความพร้อมกันก่อนสอบ  จะบอกว่าข้อสอบยากเกินไป  ออกไม่ตรงหลักสูตร ก็คงไม่ใช่  เพราะกว่าจะนำข้อสอบออกมาใช้  เขาได้มีการวิเคราะห์ความยากง่าย  ความตรงกับหลักสูตรมาอย่างดีแล้ว โดยเฉพาะทั้งสองวิชานี้มีหน่วยงาน/องค์กรสนับสนุนส่งเสริมการสอน ที่อาจจะพูดได้ว่ามากกว่ากลุ่มสาระอื่นๆด้วยซ้ำ  สาเหตุจึงน่าจะเป็นปัจจัยภายในของเรามากกว่า  กล่าวคือ
        1.ข้อสอบออกในเชิงคิดวิเคราะห์มาก  แต่เราไม่ได้สอนที่เน้นเรื่องนี้หรือไม่ 
        2.ขาดสิ่งจูงใจให้นักเรียนเอาจริงเอาจังและตั้งใจที่จะทำข้อสอบจริงๆหรือไม่
        3.พื้นฐานความรู้ของครูผู้สอนตามกลุ่มสาระด้อยไปหรือไม่ และตั้งใจที่จะกวดขันเพียงใด
        4.พื้นฐานความรู้ของนักเรียนอ่อนด้อยไปหรือไม่
        5.สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเอาจริงเอาจังเรื่องนี้หรือไม่ ฯลฯ

       พอเรามาวิเคราะห์ในวิชาภาษาอังกฤษที่จังหวัดนนทบุรี  ซึ่ง อบจ.สนับสนุนจ้างครูต่างประเทศเป็นจำนวนมากมาช่วยสอนทุกโรงเรียน  ก็พบความจริงอย่างหนึ่งว่า  โรงเรียนมอบชั่วโมงสอนให้ครูต่างชาติสอนเป็นจำนวนมาก  ซึ่งเขาจะเน้นสอน การสนทนา
หรือฝึกพูด เป็นหลัก  แต่ข้อสอบเขาเน้น ไวยากรณ์ และความเข้าใจ เป็นต้น
          ผมจึงคิดว่า ผู้บริหาร  ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง  ควรจะได้นำปัญหานี้มาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่แท้จริงและกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีในปีการศึกษาใหม่นี้  ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น  โดยเฉพาะครูผู้สอนน่าจะนำตัวอย่างข้อสอบมาศึกษาแนวทางการออกข้อสอบ(ไม่ใช่วิเคราะห์ข้อสอบ เพราะผู้ออกข้อสอบเขาวิเคราะห์มาแล้ว) ว่ามีแนวโน้มในการออกอย่างไร  เช่น  เน้นคิดวิเคราะห์  เน้นไวยากรณ์  ความเข้าใจ ฯลฯ แล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าที่ผ่านมาเราสอนกันอย่างไร  และถ้าจะสอนให้ตรงจะสอนกันอย่างไร เพื่อนำไปปรับวิธีสอนของตน เป็นต้น
        และถ้าหากเราจะคิดปัญหาให้เป็นโอกาส ก็อาจมองว่าสถานการณ์ผลสัมฤทธิ์ตกต่ำปีนี้อาจจะเป็นเป็นสภาพปัจจุบันที่ท้าทายให้เราคิดกลวิธีการสอนให้เกิดมูลค่าเพิ่มในปีการศึกษา 2551 ที่เห็นเด่นชัดขึ้น  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเลื่อนวิทยฐานะตามแนวทางใหม่ที่จะใช้ใน 1 ตุลาคม 2551 ก็ได้
       ตอนประชุมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทพศิรินทร์เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว  เราได้เอาเรื่องนี้มาถกกัน ว่าโรงเรียนทำอย่างไรจึงทำให้ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชาติปีนี้ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโรงเรียนใน กทม.   ก็พบว่า โรงเรียนได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียน ม.3 ของโรงเรียน เข้าเรียนต่อ ชั้น ม.4 ของโรงเรียนว่า  จะดูที่ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ชั้น ม.3 เป็นเกณฑ์พิจารณา  พอประกาศไปเช่นนี้  ทุกคนก็เอาจริงเอาจังกันหมด
        เห็นหรือยังว่าการคิดเชิงกลยุทธ์มีผลต่อการพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ทันตา...
          
         

หมายเลขบันทึก: 179909เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หาคณะทำงานชุดใหม่  ควรจะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในสถานศึกษาจริงๆๆและมากๆๆด้วย  ควรหาวิธีการให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริง  ให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง  กี่ปี กี่ครั้ง ก็ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียน  ตกต่ำ  ไม่เป็นที่พึ่งพอใจ  ทำไมไม่ใช้ KM

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท