วิธีฝึกสมาธิด้วยตนเอง เบื้องต้น ตอนที่2


จิตมนุษย์นี้ไซด์ยากแท้หยั่งถึง

                    สวัสดี...ต่อเนื่องกับวิธีง่ายๆ...........การฝึกสมาธิด้วยตนเอง เบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้......

                    จากความเดิมตอนที่แล้ว เริ่มต้นเราควรรู้จักับคำว่าจิต ใจ เราได้รู้จักจิตขั้นหยาบไปแล้วขอเสริมเพิ่มเติมว่า ปกติคนเรามีจิตใจที่จะคิดอะไรได้หลายอย่าง  นอกจากความโกรธนี้แล้ว ก็มี  ความพยาบาท  ซึ่งทำให้จิตใจในขั้นนี้อยู่ได้ ซึ่งความพยาบาทนั้น มีมูลมาจากเรื่องที่ควรจะทำให้โกรธ แต่เราไม่จำเป็นต้องโกรธเสมอไป และมีความแตกต่างกัน ดังนี้

           1. ความโกรธเป็นความอ่อนแอ ส่วนความพยาบาทเป็นความแข็งแรง

           2. ความโกรธเป็นความเลือดร้อน เอะอะตึงตัง  ความพยาบาทเป็นอาการเลือดเย็น เงียบเชียบ สุขุม

           3. ความโกรธเป็นความขุ่นหมองและขมขื่นในจิตใจ ส่วนความพยาบาทเป็นความแจ่มใสและชุ่มชื้น

           4. ความโกรธ ทำให้หน้าเราบึ้งบูด แต่ความพยาบาททำให้เรายิ้มแย้มแจ่มใส

           5. ความโกรธทำให้เราเสียมารยาท แต่ความพยาบาทช่วยให้เรารักษามารยาทได้ดี

             สมัยโบราณ ถือว่าความพยาบาทเป้นความชอบธรรม ถือว่าการแก้แค้นกันเป็นสิทธิของมนุษย์  ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพดวงจิต ความพยาบาทมีทางให้คุณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นกรรมที่ติดตามไปในทุกๆชาติ

            อีก..นอกจากความโกรธ  พยาบาท  ยังมีอีกที่สำคัญ คือ  ความกลัว ความวิตกกังวล เพราะจิตใจคนเรามักเผชิญกับสิ่งเหล่านี้เสมอ

            ความกลัว  ทำให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์  บั่นทอนความคิดและสติปัญญาทำให้มนุษย์ยอมเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งเสรีภาพ ในที่สุดถึงกับยอมตาย  ฆ่าตัวตาย เพราะกลัวเผชิญกับความยากลำบากหรือทุกข์ทรมานในชีวิต ความจริงไม่มีทุกข์ลำบากอันใดจะให้ผลร้ายแรงยิ่งกว่าความตาย  แต่บางคนยอมตาย  ความกลัวมีอำนาจยิ่งกว่าความตายไปเสียอีก

           บางทีเราพยายามระวังภัยที่มาจากศัตรูภายนอก ไม่ได้เฉลียวใจว่า ศัตรูที่ร้ายแรงที่สุด คือความกลัวที่อยู่ในจิตใจเราเอง  ศัตรูภายนอกทำอะไรเราไม่ได้ ถ้าเราไม่กลัว  ถ้ากลัว หนทางป้องกันศัตรูภานนอกย่อมหมดไปด้วย  คนเรากลัวในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง แต่เมือสิ่งนั้นมาถึงจริงๆ กลับไม่กลัว และกลัวสิ่งที่เปนความจริง กลัวความคิด นึกฝันของตนเอง ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อมาถึงจริงๆกลับไม่กลัว  คนเรากลัวตาย เมื่อยังไม่ถึงเวลาตาย แต่คนที่รู้แน่ว่าจะต้องตาย  ไม่เคยบ่นรำพันว่ากลัวตาย คนที่กลัวความยากจนคือพวกร่ำรวย ถ้าล้มละลายยากจนจริงๆเข้า อาจฆ่าตัวตายก็ได้  เห็นมั๊ย?

           เหล่านี้เป็นจิตขั้นหยาบ ของบุคคลทั่วไป  ทางออกที่ดีที่สุดคือ ฝึกหัดระงับจิตใจ ไม่ให้โกรธง่าย คิดถึงเหตุผล  สร้างอำนาจจิตใจให้เข้มแข้ง  ใช้เมตตาจิต และ ความจริง ความไม่ริษยา คุณธรรมเหล่านี้จะเพิ่มพูนจิตใจของเราเป็นอันมาก

          ต่อไปเป็น  จิตขั้นปานกลาง

          จิตระดับนี้ เป็นจิตใจที่กำลังศึกษาและปฏิบัติ  เมือสภาพจิตใจระดับหยาบ ปรากฎแก่บุคคลทั่วไปเช่นนี้แล้วสามารถหาทางออกให้แก่ตนเองได้ จิตมุ่งสู่การกระทำความดีให้กับตนเองและผู้อื่น จิตใจกล้าเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว มีเมตตาธรรมมากขึ้น สุขุมรอบคอบมากขึ้นในกิจการงานทั้งปวง สนใจธรรมมะ มีเหตุผล รู้จักสร้างความดี เว้นความชั่ว ตั้งมั่นในคุณธรรมมากขึ้น

          การศึกษาธรรมะขั้นต้นถือเป็นเรื่องสำคัญของจิตใจขั้นนี้และการปฏิบัติอย่างง่ายๆ ให้เข้าถึงหลักธรรม ก็จำเป็นและสำคัญเช่นกัน  กล่าวสรุปง่ายๆ คือรู้จักการให้และแบ่งปัน ตามอัตภาพ ช่วยเหลือผุ้อื่นเมื่อตกทุกข์ได้ยาก  มีกิริยาวาจา  มารยาทเรียบร้อย เหล่านี้เป็นผุ้มีจิตใจขั้นปานกลางทั้งสิ้น

          การปฏิบัติความดีนั้นจะกระทำที่ไหนๆก็ได้  แต่อาจจะไม่เข้าจริตกับคนที่มีกรรมชั่ว  อาจจะมองว่าในแง่ร้ายต่างๆนาๆ แต่เราอย่ากลัว   ถ้าเรามีความจริงใจกระทำดีมีบุญกุศล เพื่อส่วนรวม...

          ธรรมขั้นนี้ที่ควรปฏิบัติได้แก่  ทาน  คือการให้  จะเป็นวัตถุสิ่งของหรือนามธรรมก็ได้ ให้เท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหมด เช่น น้ำใจไมตรี  ความเอื้ออารี ยกย่อง ชมเชย อย่างน้อยก็ให้การยิ้ม ทักทายถามไถ่สุขทุกข์ หรืออบรมสั่งสอน  แนะแนวทางที่ดีแก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ ก็นับเป็นการให้

          "  สัพพะ  ทานัง  ธัมมะ  ทานัง ชินาติ "

          การให้ธรรมมะ ( ความดี) ย่อมชนะการให้ทั้งปวง มีความสุขจิตใจเบิกบานมากกว่าคนที่จิตใจตระหนี่ เห็นแก่ตัว  ย่อมเป็นทุกข์ไม่มีความสุขฉันนั้น

         นอกจากนี้ การให้ธรรมทาน ก็ยิ่งใหญ่ขึ้นมาอีก เช่น การบริจาคทรัพย์ สร้างวัด  สร้าง โรงเรียน โรงพยาบาล  ศาลา บ่อน้ำสาธารณะ  มักทำได้ในคนรวยแต่เราก็สามารถทำได้ตามจิตศรัทธาและกำลังทรัพของเรา แต่ที่ง่ายทำได้ทุกคนคือ การบอกกล่าว แนะนำ  สั่งสอน อบรมในทางที่ถูกที่ควรที่ชอบ ด้วยคำพูดหรือ เอกสาร ให้คนได้ฟัง ได้อ่าน เกิดความรู้ ความเข้าใจ ก็เกิดบุญกุศลแล้ว

        ทานที่สูงขึ้นมาอีกนิดคือ อภัยทาน ได้แก่การไม่ถือโทษโกรธเคือง  ผูกใจเจ็บแค้น ไม่อาฆาตพยาบาททั้งคนและสัตว์ ไม่คิดบาดหมางกับผู้ที่มาทำล่วงเกิน ไม่เอามาคิดผูกไว้ในใจ ถือว่าเรื่องแล้วก็แล้วกันไป จะทำให้เบาใจ โปร่งโล่งใจ ไม่เหน็ดเหนื่อย อภัยทานนี้ คนจนคนรวย คนไม่มีความรู้ สามารถให้ได้เสมอกันหมด

        จิตระดับนี้ เป็นการแสดงออกถึงคุณสมบัติของมนุษย์ทั่วไป  แสดงถึงคุณธรรมทางกาย วาจา ใจ

จะถือว่าคุณธรรมนั้นสำคัญอยู่ที่จิตใจก้ว่าได้...

        ทั้งหมดนี้ได้มาจากการศึกษา อ่านตำราต่างๆ และเริ่มต่อยอดในสิ่งที่เรายังไม่มีไม่เป็น เข้าไม่ถึง พึ่งเป็นการเริ่มต้น  คิดว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ มันขึ้นอยู่กับบุญทำ กรรมเก่า  แล้วแต่บุญวาสนาของแต่ละคน

บางท่านอาจทำบุญมามากในอดีตชาติ จึงมี จึงเป็นได้สมปรารถนาในชาตินี้  แต่ถ้า  ไม่ทำความดีในชาตินี้...แล้ว...ความทุกข์คงหนีไม่พ้น.....แน่นอน

        ขอบคุนค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 179611เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 02:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท