วิวัฒนาการดนตรีไทยในสมัยปัจจุบัน(รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)



วิวัฒนาการดนตรีไทยในสมัยปัจจุบัน
(รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
     ดนตรีไทย ถือว่าเป็นดนตรีของชาติไทย ที่มีมาแต่โบราณและมีที่มาแตกต่างกันไป เริ่มจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีแต่เพียงเครื่องสาย ต่อมาสมัย อยุธยาเริ่มมีการนำ ระนาด เข้ามาผสมวงและมีการเพิ่มเครื่องดนตรีต่างๆอาทิเช่น ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทย หรือเสียงไทยคือมี ๗ เสียงเท่า ซึ่งยังคงมีอยู่เดิมและในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าใช่หรือไม่
      เมื่อมีการติดต่อกับโลกตะวันตกมากขึ้น วัฒนธรรมทางดนตรีที่มีความแตกต่างกันนำมาซึ่งความคิดที่จะประสานทำนองกันได้อย่างลงตัว จึงเกิดดนตรีไทยในระบบเสียงสากลคือมี ๑๒ เสียง ภายใต้รูปแบบคงเดิมแต่แตกต่างกันที่โครงสร้างบันไดเสียงที่เป็นสำเนียงสากลแตกต่างจากแบบเก่าที่เป็นเสียงไทยเดิม
 แบบไทย    โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
แบบสากล   C C#/Db D D#/Eb E  F F#/Gb GG#/Ab A A#/Bb B     
      ปัจจุบันมีหลายท่านพยายามปรับให้ดนตรีไทยสามารถเล่นกับโน้ตสากลให้ได้แต่ติดที่โครงสร้างของเครื่องดนตรี และวิธีการเล่นที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก อย่างดีก็ทำได้เพียงปรับให้เล่นได้ในบันไดเสียงหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระนาด เทียบเสียง c ของสากลซึ่งก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ในความเป็นสากลเพราะเล่นได้เพียงบันไดเสียงเดียว
            การปรับเสียงทำให้ดนตรีไทยวิบัติหรือไม่
นี่เป็นคำถามที่ผู้เขียนถูกถามมากที่สุดและจะขออธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
๑.     จากที่กล่าวข้างต้นเสียงไทยเดิมและเสียงสากล แตกต่างกันกันอย่างสิ้นเชิง เพียงแต่เราต้องพิจารณาถึงบทเพลงที่จะเล่นกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดว่า ถูกเพลงและถูก เครื่องมือหรือไม่
๒.   มุมมองที่เห็นว่าดนตรีไทยจะวิบัติเป็นเพราะมองเห็นแค่เพียงความแตกต่างจากของเดิม ซึ่งลืมคิดไปว่าดนตรีไทยถูกพัฒนามาโดยตลอด และมีความคล้ายคลึงกับดนตรีเพื่อนบ้านจนบางครั้งอดคิดไม่ได้ว่า ใครลอกเลียนแบบใคร
๓.   ของทุกอย่างต้องมีการปรับให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความคงอยู่ เพราะวันนั้นไม่ใช่วันนี้ มุมมอง หรือ องค์ความรู้มีมากขึ้น ย่อมก่อให้เกิดสิ่งใหม่แต่จะดีหรือแย่ลง กว่าเดิมหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้เพราะเป็นคนละอย่างกัน
๔.   ถ้าพูดว่าดนตรีไทยจะวิบัติ แสดงว่า ปัจจุบันดนตรีไทยเดิม เจริญงอกงามมีผู้ที่เล่นหรือฟังดนตรีไทยเดิมกันอย่างกว้างขวางใช่หรือไม่ มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นระบบ หรือมีวิธีการที่จูงใจให้คนรักดนตรีไทย จนไม่อยากไปหาดนตรีประเภทอื่นใช่หรือไม่
๕.   คำว่าวิบัติ คือ การนำไปทำให้เกิดความเสื่อมเสีย น่าจะลองคิดกันดูว่า ของใหม่ไม่ใช่ของเก่า ไม่สามารถแทนกันได้เลยไม่รู้ว่าของเก่าจะเสียตรงไหน เพียงแต่นำไปปรับปรุงหรือพัฒนาในรูปแบบที่ของเดิมไม่มีหรือทำไม่ได้
                 ดนตรีไทยประยุกต์เป็นแบบไหน 
          ปัจจุบันหลายคนพยายามคิดนอกกรอบในรูปแบบที่สร้างสรรค์ปรับปรุงวิธีการเล่น การรวมวง การผสมวง ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เท่าที่เห็นในปัจจุบันมีวิธีการดังนี้
๑.     นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นกับดนตรีสากลเลยโดยไม่ปรับเสียง
๒.   นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นกับดนตรีสากลโดยปรับเสียงเป็นบันไดเสียงหนึ่งถ้าต้องเล่นโน้ตที่ดนตรีไทยไม่มีก็ให้เครื่องดนตรีอื่นเล่นแทน
๓.   การประยุกต์ส่วนใหญ่ประยุกต์กันที่บทเพลงหรือวิธีการเล่น ไม่เคยเห็นใคร ประยุกต์ที่ตัวเครื่องดนตรี
๔.   เครื่องดนตรีไทยในปัจจุบันนำมาเล่นกับดนตรีสากลน่าจะพูดได้ว่าดนตรีผสมมากกว่าเป็นการประยุกต์
            อย่างไรที่จะทำให้ดนตรีไทยวิบัติ
      ดังที่กล่าวมาในข้างต้น ดนตรีไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะเรื่องของบันไดเสียงไทย แม้จะแตกต่างกันบ้างในแต่ละวงหรือแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเมื่อเราได้ฟังแล้วก็จะรู้ทันทีว่านี่เป็นเพลงไทยเดิม เพราะบันไดเสียงต่างจากสากล
๑.     สอนดนตรีไทยโดยขาดความรู้ที่แท้จริง ไม่ปลูกฝังการเคารพครูอาจารย์ แต่ทั้งนี้ครูอาจารย์ในปัจจุบันก็ต้องทำตัวให้เป็นที่เคารพด้วย
๒.   ไม่ยอมฟังความคิดเห็นผู้อื่นคิดว่า ตนเองนั้นเป็นหนึ่ง ปิดกั้นความคิดของเด็ก ไม่เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่เพื่อเสริมสิ่งเก่า หวงในสิ่งที่ตนเองมีซึ่งคิดว่ามีค่า แต่พอเปิดออกมาก็ไม่มีอะไรในกอไผ่
๓.   ขาดการสนับสนุนทดลองในสิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเล่น การสอน การแต่งเพลงใหม่ การคิดเทคนิคใหม่ ที่ส่วนใหญ่คิดว่านอกกรอบ ทำให้ผู้เรียนไม่กล้าจะทำอะไรจนเกิดการเบื่อหน่าย
๔.   นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นเพลงสากลโดยไม่ปรับเสียง แน่นอน เพลงนั้นก็จะเพี้ยนจนรับฟังไม่ได้ เพราะเลือกเพลงที่ไม่เหมาะกับเครื่องดนตรี
๕.   นำเครื่องดนตรีไทยเดิมมาปรับเสียงเป็นสากลในระดับหนึ่งแล้วเล่นเพลงไทยเดิมก็ทำให้เพี้ยนเสียงไทยเดิม และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็เป็นเครื่องสากลที่ไม่สมบูรณ์ยกตัวอย่างเช่น นำระนาดไทย มาปรับเสียง เป็น บันไดเสียง c ของสากลก็ทำให้ระนาดไทยผืนนั้นไม่ใช่ระนาดอีกต่อไป เพราะขาดวิญญาณแห่งความเป็นระนาดไป
๖.     การรวมวงของไทยมีความแตกต่างในเรื่องระดับเสียง บางทีจูนเสียงขิมเป็นสากล แต่มารวมวงกับระนาดที่เป็นเสียงไทย แล้วเล่นทั้งเพลงไทยและสากลทำให้ขาดความชัดเจนของบทเพลงไป คือเสียทั้งไทยเดิม และสากล
            ทำอย่างไรให้ดนตรีไทยมีคุณค่าคงอยู่ได้ต่อไป
๑.     ปรับวิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัยไม่น่าเบื่อหน่ายเปิดรับฟังความคิดเห็น แต่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของไทยอยู่ เช่น การบูชาครู หรือ การครอบครูเป็นต้น
๒.   ครู อาจารย์ ปรับทิศทางการสอนไปในทางเดียวกัน มีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันให้มากขึ้น
๓.    ดนตรีไทยเป็นหนึ่งเดียวในโลก ควรจะนำสิ่งนั้นมาแสดงให้อย่างสมบูรณ์ เช่น เครื่องดนตรีไทยเดิม เสียงไทย ก็ต้องเล่น แต่เพลงไทยเดิมของเราเท่านั้น
๔.    วิธีการบรรเลง การผสมวง การประชัน ควรรักษาไว้ซึ่งความเป็นไทยเดิม อย่านำมาผสมกันจนเสียความเป็นดนตรีไทยไป
๕.    ปรับระดับความสำคัญของคนเล่นดนตรีไทย ให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากล
                           
 
ดนตรีไทยประยุกต์ในปัจจุบัน
       เพื่อเป็นการให้ดนตรีไทยเป็นที่ยอมรับของ นานาประเทศ เรามีดาบเพียงเล่มเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะเป็นที่ยอมรับเพราะระบบเสียงของไทยเราไม่เหมือนใครในโลกการที่เราจะต้องสื่อสาร กับโลกภายนอกเราจำเป็นจะต้องพูดภาษากลางเป็น มิเช่นนั้นแล้วก็จะสื่อสารกันไม่รู้เรื่องจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ขึ้นมา ภายใต้แนวคิดที่ว่า รักษาของเดิมไว้ให้มากที่สุดบนความแตกต่างที่สุด.
      ดนตรีไทยประยุกต์ชุดที่กล่าวถึงนี้ แตกต่างจากไทยเดิมในเรื่องของสำเนียง เพราะเป็น ระบบเสียงโครมาติค คือมี ๑๒ เสียง แต่ยังคงรูปลักษณ์ เสียง วิธีการไว้เสมือนเป็นการเพิ่มในสิ่งที่ดนตรีไทยเดิมไม่มี อีกทั้งมีการตั้งชื่อเสียใหม่ไม่ให้ไปสับสนกับของเดิมจึงไม่ต้องกลัวว่าของไทยเดิมจะเสียเพราะเป็นคนละประเภทกัน
เครื่องดนตรีไทยประยุกต์มีอะไรบ้าง
 
 ๑.    ตะเลงเอก เปรียบได้กับระนาดเอกของไทยเดิม ทำไมต้องตั้งชื่อว่า ตะเลง เป็นเพราะเสียงของระนาดคือ เต็ง ๆ ตะเลง ๆ จึงใช้เสียงนำมาตั้งเป็นชื่อ การตีตะเลง เหมือนกับ การตีระนาดทุกอย่าง ต่างที่วิธีการ และองค์ความรู้    ซึ่งระนาดปัจจุบันมี ๒๒ ลูก แต่ ตะเลง มี ๓๗ ลูก แต่มีความยาวผืนเท่ากัน สามารถใช้รางเดียวกันได้เลย ระยะห่างของมือก็เท่ากัน คือ ห่าง ๘ ลูกระนาด เท่ากับห่าง ๑๓ ลูก ของตะเลง เราสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นตะเลงได้ในแบบสากลสามารถอ่านโน้ตสากลได้ มีการประสานเสียงเป็นแบบสากลทั่วโลก
 
 ๒. ตะเลงทุ้ม   เปรียบได้กับระนาดทุ้มของไทย ทำหน้าที่ ประสาน สอดทำนอง ความยาวผืนเท่ากับระนาดทุ้มไทยเช่นกันแต่มี ๒๙ ลูก
 
 ๓.   ขิมโครมาติค เป็นเครื่องมือที่ผู้เขียนมีความภูมิใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเครื่องแรกที่ประยุกต์ขึ้นมาอีกทั้งมีเทคนิคและรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก สามารถเล่นโน้ตสากลได้ครบสมบูรณ์โดยไม่ต้องเสริมหลักเหมือนขิมทั่วไป มีขนาด ๑๘ หย่องที่เป็นมาตรฐานซึ่งมีขนาดเท่ากับขิม ๑๑ หย่องทั่วไป
 
 ๔. แข่   หรือ จะเข้สากล ขนาดเท่าจะเข้เดิมทุกอย่างต่างกันที่มี นม ๑๙ นม ของเดิมมี ๑๑ นม และแข่มีทั้ง ๓ สาย กับ ๔ สาย สามารถเล่นคอร์ดได้
 
 ๕. ฆ้องสากล   เหมือนกับฆ้องไทย เป็นการรวม เอาฆ้องวงใหญ่ มารวม กันกับฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๒๖ ลูก สามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนองและ แนวประสาน
 
 ๖. กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ มี ๔ สาย แต่เรานำมาแยกสายออกจากกัน วิธีการเล่นเหมือนกับการเล่นกีตาร์สากล
๗. ขลุ่ย เหมือนขลุ่ยทั่วไป มี๗ รูแต่มีเสียงสากลครบ
        และยังมีอื่นๆอีกมากอาทิเช่น เปิงมางคอก ซึ่งเดิมมี ๗ ลูก แต่ประยุกต์แล้วมี ๑๓ ลูก ตั้งเสียงเป็นแบบสากลครบทุกเสียง
                  ทำไมต้องสร้างดนตรีไทยประยุกต์
๑.     เพื่อเป็นการนำดนตรีไทยสู่เวทีสากลได้อย่างสมบูรณ์ สามารถเล่นเพลงต่างๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งเป็นการนำรูปลักษณ์ ความเป็นไทย วัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง
๒.    เพื่อเพิ่มความสำคัญให้กับดนตรีไทยเดิมให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ เพราะมีระบบเสียงที่เป็นแบบเฉพาะไม่เหมือนใครในโลก แต่เราก็ควรที่จะเล่นกับทั่วโลกได้ ด้วยดนตรีไทยประยุกต์
๓.   เพื่อ สร้างความชัดเจน ของการเลือกเพลง เลือกเครื่องมือ ให้เหมาะสมไม่สับสนไร้ทิศทาง เหมือนในปัจจุบัน
๔.    สร้างระบบการเรียนการสอนให้เป็นแบบสากล แต่ยังคงยึดรูปแบบที่ดีงามของดนตรีไทยเดิมอยู่
๕.   สร้างความกลมกลืนของวัฒนธรรมทางดนตรี มีทั้งอนุรักษ์ และพัฒนาไปพร้อมกัน
              และนอกเหนือจากที่กล่าวมาในข้างต้น เรามีความปรารถนาที่จะทำให้ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นไทยเดิม หรือไทยประยุกต์ มีความสอดคล้อง และชัดเจน ในรูปแบบ และวิธีการนำเสนอ นำมาซึ่งความเป็นดนตรีไทยอย่างสมบูรณ์ ดนตรีไทยจะดำรงอยู่ได้ต้องมีการ อนุรักษ์ และพัฒนาไปพร้อมกัน และวันนี้ ดนตรีไทย พร้อมแล้วในรูปแบบความเป็นสากล ซึ่งเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ องค์ปัจจุบัน
คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 179428เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2008 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ผมตาย ดนตรีสกล อ่านโน้ตไม่ออกครับ เลยเล่นขลุ่ยได้อย่างเดียว ว่าจะเล่นซอ กลัวเพื่อนๆๆข้างห้องว่า สีซอให้......อิอิๆๆ

อาจารย์ค่ะ อยากฟังเพลงพื้นบ้าน เพลงอะไรก็ได้ค่ะ

ขอบคุณ  อ.ชจิต

P ขจิต ฝอยทอง
เมื่อ อ. 29 เม.ย. 2551 @ 12:46
628307 [ลบ]

 

  • เป่าขล่ยอย่างเดียวใช่ไหมครับอาจารย์
  • ไม่กล้าสีซอใช่ไหมครับ
  • อิอิ

ขอบคุณ

Pนางสาว สุวิมล แสงม่วง
เมื่อ อ. 29 เม.ย. 2551 @ 12:51
628312 [ลบ]

  • เพลงพื้นบ้านหรอครับ
  • เดี๋ยวจะจัดให้ครับผม

 

ขอบคุณ นางสาว สุวิมล แสงม่วง

  • โรงเรียนของเราน่าอยู่
  • คุณครูใจดีทุกคน..

 

โล่งอกโล่งใจเป็นกองๆ นึกว่าครูโย่งจะร้องเพลงไทยที่ว่า

"...ช้างช้างช้างช้างช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า..."

ให้คุณสุวิมล แสงม่วง ฟังเสียอีกค่ะ

ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรี สอนดนตรีไทยทุกเสาร์/อาทิตย์ ดูรายละเอียดที่

www.geocities.com/bydontri

ขอบคุณ

ไม่มีรูป

คุณโกโก้
  • ขอบคุณ ครับ ที่แวะเข้ามาอ่าน ครับ
  • ร้องได้หมดแหละครับ
  • เพลงเด็ก ๆ ก็ชอบครับ อิอิ

 

ขอบคุณ

ไม่มีรูป

คุณ a
  • ขอบคุณที่แจ้งข่าวครับ

 

แวะมาเยี่ยมครับ อ.วสุ ทวีลาภ

ครูโย่งครับ

      ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาให้ ผมชอบเสียงซึงของทางภาคเหนือครับพยายามเล่นให้เป็นเพลงอยู่ครับ

                                              รพี

ขอบคุณไม่มีรูป

ดนตรี ทวีลาภ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับอาจารย์
  • อ.วสุ ทวีลาภ
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณP

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
  • ต้องฝึกฝนครับ
  • จึงจะเก่งครับ
  • ให้กำลังใจครับผม

เจ๋งปายเลย......คร๊า

ขออนุญาตเอาข้อมูลไปทำรายงาน ขอบคุณครับสำหรับขอมูล ดีๆครับ

เป็นเวบที่ยอดเยี่ยม ให้ความรู้เรื่องดนตรีไทยได้ดีมาก ๆ

ขอบคุณอย่างยิ่ง

อ่านไม่รู้เรื่องเลย

ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรี

ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรี ศูนย์กลางการเรียนรู้ดนตรีไทย เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไทยอย่างยั่งยืน ได้เปลี่ยนที่อยู่เวบไซต์ เป็น www.bydontri.cjb.net ครับ ขอขอบพระคุณ

amorna

ชมรมคนรักษ์ดนตรีไทยนนทบุรี ศูนย์กลางการเรียนรู้และอนุรักษ์ดนตรีไทย เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไทยอย่างยั่งยืน website : www.bydontri.cjb.net

ขออนุญาตินำไปทำโครงง่ายค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรูั้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท