โครงการเพื่อนวันอาทิตย์ : คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


พยายามยัดเยียดความเป็นเราให้เขา สิ่งที่เขาได้ไม่ไช่สิ่งที่เขาต้องการ ไม่มีคุณค่าอะไรเลยสำหรับเขาก็ได้

ข้อมูลจาก สาระเวที เติมหัวใจ ให้สังคม ทติยบท ความดี ความงาม ความรักของอาสาสมัครที่มีห้วใจเป็นมนุษย์  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

โครงการเพื่อนวันอาทิตย์ : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยนายกฤตนุ นาคแท้ นักศึกษาแพทย์ ผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการเพื่อนวันอาทิตย์ เล่าว่าโครงการเกิดจากหน่วยกิจการนักศึกษา ซึ่งมี ผศ.พญ.จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์ เป็นผู้ผลักดันโครงการที่มีแนวคิดที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับที่จะออกไปเป็นแพทย์รุ่นใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ที่มีความเก่งและดี ในเบี้ยงต้นคัดเลือกนักศึกษาที่ควรเติมองค์ประกอบบางอย่าง ได้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ และมีองค์ประกอบดีๆหลายอย่างที่เสมือนหนึ่งเป็นเพชรที่ยังไม่ได้เจียรไน พามาเข้าโครงการเพื่อขัดเกลา พาไปบำเพ็ญประโยชน์ในสถานที่ต่างๆ เช่น หอผู้ป่วยอนาถา บ้านพักคนชรา สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เป็นต้น

การเข้าร่วมโครงการนั้นอาจารย์ไม่ได้บอกอะไรมาก ให้พวกเราเข้าไปหาคำตอบเอง ครั้งแรกให้ไปก็ดูเฉยๆ ไม่ให้ทำอะไร  หลังจากนั้นให้ไปคุยกันเองว่า สุดท้ายเราอยากจะทำอะไรให้เขา  แรกๆเราบางคนก็บอกว่าอยากไปทาสีที่บ้านพักให้เขาเสียใหม่ อยากไปทำกับข้าวให้ทาน หลังจากนั้นก็ไปปรึกษาอาจารย์ ท่านก็ให้คำแนะนำว่า ถ้าต้องการรู้ว่าเขาต้องการอะไร ก็ต้องไปคุยกับเขา ถามเขาดูว่า ที่เราคิดนั้นใช่หรือไม่ แล้วพวกเราก็กลับไปคุยกับคนไข้ ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น อยากให้มาคุยเป็นเพื่อนเท่านั้น เราก็ไปคุยกับเขาจะคุยกันทุกเรื่อง แต่เขาก็ไม่คุยกับเราในช่วงแรก เขารู้สึกว่าเราเป็นหมอ เป็นนักศึกษาแพทย์ เขาเป็นคนไข้อนาถาและเขารู้สึกว่าคนละชั้นกับเรา มันต่างกันมากเกิดช่องวางที่ห่างกันมาก  เราต้องไปให้บ่อยขึ้นทำให้เกิดความไว้วางใจ เกิดความรู้สึกที่ไม่ต่างกันมากนัก คุยกันกับเขาเหมือนพ่อ แม่ พี่ น้อง และเพื่อน ท้ายสุดทำให้ช่องว่างตรงนั้นก็หายไป

กฤตนุ เล่าด้วยสีหน้าท่าทางที่สุขใจ ภูมิใจในสิ่งที่ได้ทำ คนเล่าๆอย่างมีความสุข คนฟังก็ฟังกันอย่างเพลิดเพลิน เบิกบาน อิ่มอกอิ่มใจไปด้วย นอกจากนี้

กฤตนุ ยังได้สรุปถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ว่า

ประการแรก ในกลุ่มนักศึกษาแพทญ์ทั้งรุ่นพี่ และรุ่นเดียวกัน จากเดิมคิดว่า เราจบไปเป็นแพทย์เราอยู่ในฐานะผู้ให้ ขณะเรียนเราแข็งขันกัน และค่อนข้างเห็นแก่ตัว ตรงนี้เป็นอะไรที่ขัดแย้งกับวิชาชีพของเราที่เป็นผู้ให้ ตอนที่อยู่ปีหนึ่ง ปีสองก็จะรู้สึกว่าผู้ป่วยเป็นคนอยู่ พอเรียนถึงปีสี่ ปีห้า เราเห็นคนไข้เป็นโรค คนไข้เขามาหาเราเราจะมาถามอย่างอื่น เราถามว่าเป็นอะไรมา ไปรักษาที่ไหนมาก่อน รักษาอย่างไร จะไม่ถามอย่างอื่น และส่วนใหญ่เราจะถามเขา ไม่ได้ให้เขาเล่าในเรื่องที่เขาอยากเล่าให้เราฟังในโรคที่เขาเป็นอยู่ เราไม่สามารถรับรู้ว่าเขาบ่นอะไร ที่มีเสียงพรึมพรำ  แต่จากการเข้าร่วมโครงการนี้ ทำให้รู้ว่าเราต้องรักษาเขาด้วยความเป็นมนุษย์ และไม่ต้องเป็นแพทย์เขาก็ทำกันได้.......

ประเด็นที่สองก็คือเราพยายามจะเข้าไปทำนู่นทำนี้ให้แกคนอื่นมากมาย โดยเราไม่เคยถามเขาเลยว่าเขาต้องการหรือเปล่า หรือเราต้องการ เราพยายามยัดเยียดความเป็นเราให้เขา สิ่งที่เขาได้ไม่ไช่สิ่งที่เขาต้องการ ไม่มีคุณค่าอะไรเลยสำหรับเขาก็ได้.........

หลังจากได้ประสบการณ์และโครงการสิ้นสุดลง กฤตนุ ก็ยังออกไปเป็นอาสาสมัครอีกเรื่อยๆ เช่น ไปบ้านพักคนชรา คุยกับผู้สูงอายุที่หอผู้ป่วย ออกไปทำค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และตอนนี้มีความคิดกับเพื่อนๆว่าอยากจัดตั้งเครือข่ายโครงการเพื่อนกันวันอาทิตย์ เป็นโครงการนำร่อง ใครจะเข้ามาก็ได้เป็นโครงการเปิดกว้างๆเป็นลักษณะ เราเรียนรู้ผู้อื่นเพื่อที่จะได้กลับมาศึกษาตนเอง โดยสรุปทิ้งท้ายความคิดตรงนี้ว่า การเป็นแพทย์จะได้สอดคล้องกับวิชาชีพที่ว่า คือ ผู้ให้ ไงครับ

ได้ฟังแบบนี้แล้ว ก็รู้สึกมีความหวังขึ้นมาทันที่กับแพทย์รุ่นใหม่หัวใจของความเป็นมนุษย์กับหมอกลุ่มนี้

 

”””””””””””””””””””””””””””””

เมล็ดพันธุ์แห่งความดีได้แตกออกงอกงามมาอีกเมล็ดหนึ่งแล้ว และพร้อมที่จะขยายแพร่ พันธุ์ดีๆออกไปสู่มวลชนอื่นๆต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #hhc
หมายเลขบันทึก: 178117เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • เป็นโครงการที่ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ.
  • ไม่มีอะไรมีค่า..เท่ากับการให้คุณค่าของการเป็นคนเหมือนกัน
  • ชอบชื่อบล็อกมากค่ะ...เปิดพื้นที่เปิดใจให้กับความเป็นคน...ให้ความหมายดีจริงๆ...
  • ขอบคุณเรื่องราวดีๆค่ะ.

“เราเรียนรู้ผู้อื่นเพื่อที่จะได้กลับมาศึกษาตนเอง” เป็นพื้นที่เปิดใจให้กับความเป็นคนจริงๆจริงค่ะ ในขณะเดียวกันกับที่ "เราเรียนรู้ตนเองเพื่อที่จะเขาใจคนอื่นๆ"

ดีใจที่ได้เห็นงานเช่นนี้ "เรียบ ง่าย และให้คุณค่า

ขอบคุณมาก

สวัสดีคะ

ดิฉันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ และสังเกตว่า บันทึกในบล็อกได้ใส่คำสำคัญที่เป็นประโยคยาวๆ จึงอยากจะแนะนำให้ทำความเข้าใจกับคำสำคัญ โดยลองศึกษาวิธีการใส่คำสำคัญและประโยชน์ของคำสำคัญได้จาก http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

ที่ห้องเบอร์สอง พบพระโพธิสัตว์

.....ผมเข้าไปให้พยาบาลประเมินการเจ็บป่วยเพราะว่าเจ็บตาขวาตั้งแต่เมื่อวาน "คุณออกไปรอเรียกอีกครั้งเพื่อรอตรวจ" เสียงพยาบาลบอกโดยไม่มองหน้าผม "ขอบคุณครับ" ผมตอบพร้อมส่งรอยยิ้มให้ ในทันที่ เห็นรอยยิ้มที่เป็นมิตร ถึงแม้นเธอจะมีคนไข้อยู่ตรงหน้า อีก 10 นาที่ต่อมาผมถูกเรียกและพาไปนั่งรอที่หน้าห้องตรวจที่ 2 "คุณรอเรียกตามคิวนะค่ะ" "ขอบคุณครับ" เป็นคำตอบของผมที่มองสบตาเจ้าหน้าที่พยาบาล .........."สวัสดีครับคุณหมอ" "สวัสดีค่ะ" เป็นคำทักทาย "เป็นอะไรมาค่ะ" ผมเริ่มสาธยาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับผมทั้งแต่เมื่อวานตอนเย็น คุณหมอถามว่าก่อนหน้านี้เคยเป็นหรือไม่ เมื่อ 3 อาทิตย์ มีเศษผงเข้าตาไปพบแพทย์ให้ยามาหยด และป้าย 3-4 วันก็หายและหยุดยา หมอบอกให้ผมเอาหน้าเข้าไปใส่ที่ตรวจตาให้คาง และหน้าผากแนบชิด "หมอจะตรวจดูเปลือกตาบน คุณจะเจ็บหน่อยนะค่ะ" ผมตอบในใจ (พูดลำบาก) "หากเจ็บยกมือ" หมอ คงรู้ว่าพูดลำบาก "มันมีการอักเสบเป็นจุดเล็ก หรือเป็นตากุ้งยิง"

......จากนั้นคุณหมอก็ตามถึงการทำงาน การใช้สายตา การพักสายตาบางครั้ง การใช้นำอุ่นประคบ และอะไรอีหลายอย่างในการดูและตาด้วยตนเอง รวมถึงการรับประทานยา การแพ้ยา การหยด ป้ายยาที่ตาของผม "คุณยังกังวลอะไรอีกหรือเปล่า" "จากวันนี้อาการของผมจะเป็นอย่างบ้าง" "โทษที่หมอลืมบอกไป 2-3 วัน น่าจะดีขึ้น หากว่าเป็นมากขึ้นนั้นหมายถึงว่ายาไม่สามารถสู้กับเชื้อโรคได้ ตาจะบวมและเจ็บมากขึ้น จะต้องมาเอาหนองออก กลับมาหาหมออีกครั้งนะค่ะ แต่คิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น" เป็นคำพูดแนะของหมอ

.......... ในใจผมคิดว่าหากคุณหมอทุกคนดูแลเอาใจใสกับผู้ป่วยอย่างนี้ทุกคน และรับรู้สังเกตเห็นความวิตกกังวลของผู้ป่วย ตอบสนองในความกังวลนั้น(ความทุกข์)เราก็จะได้พบเห็นพระโพธิสัตว์มาบำบัดทุกข์ให้เราเมื่อเราเกิดทุกข์ ...........

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท