service profile : การประเมินตนเองเพื่อใช้พัฒนา


         เรื่องนี้เป็นเรื่องในการประเมินตนเอง หรือ self assessment ตามแบบประเมินตนเองในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนะคะ (นอกเหนือจาก PMQA)

       ตอนนี้หลาย ๆ หน่วยงานรวมทั้งหน่วยงานของข้าพเจ้าเริ่มกระบวนการนี้บ้างแล้ว และหัวใจสำคัญของการประเมินตนเองคืออะไร เป็นคำถามที่ถามไป เพราะบางครั้งหลายหน่วยงานประเมินไปแล้วยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ หรือทำทำไมกันเนี้ยะ

               หัวใจสำคัญของการประเมินตนเอง

   การประเมินตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง โดยมุ่งคุณภาพและความปลอดภัย  ซึ่งเราต้องมีการนำค่านิยมและแนวคิดหลัก (HA เป็นกระบวนการเรียนรู้ ,มุ่งเน้นผู้ป่วยและสุขภาพ,พัฒนาต่อเนื่อง ) มาร่วมใช้  ประกอบกับมีการประเมินจากภายนอก มุ่งสู่การรับรองต่อไป (แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือสำคัญที่สุด)

 

            การประเมินตนเองที่เรียบง่าย

   - ควรเริ่มด้วยการคุยกัน ซึ่งจะทำให้เรารู้ข้อดี ข้อด้อย จุดอ่อน จุดแข็ง

   - นำโอกาสพัฒนาไปดำเนินการ หลังจากเรามีการคุยกัน เราต้องนำจุดอ่อนไปดำเนินการพัฒนา ใช่คิดพอได้ส่งงานเท่านั้น เราต้องใช้เครื่องมือคุณภาพที่หลากหลายร่วมกัน วัดผลถ้าเป็นไปได้ เพราะไม่อย่างนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเราทำไปถึงไหน เหมือน plan ,แล้ว ดู อย่างเดียวไม่ติดตามก็ไม่เกิดประโยชน์

   - กลับมาเล่าเรื่องและใช้ผู้เขียนที่มีทักษะ  หลังจากเราพัฒนางานแล้ว เราควรเล่าเรื่องราวดี ๆ ผลที่เกิดให้คนอื่นได้ร่วมเรียนรู้  เพื่อแลกเปลี่ยนทักษะระหว่างกันและกัน รวมทั้งให้คนที่มีทักษะในการเขียน เป็นผู้สรุปและเรียบเรียง ไว้ศึกษาต่อไป

  เหมือนอย่างที่ว่า "บางคนเก่งพูด บางคนเก่งเขียน บางคนเก่งทำ เราควรใช้คนให้ถูกทางที่เขาถนัดจะได้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่"

 

          หลักในการเขียนแบบประเมินตนเอง

  - เราควรทำให้เห็นบริบทที่ชัดเจน เพราะส่วนมากเขียนแล้วอ่านเท่าไหร่ก็มองภาพหน่วยงานเราไม่ออก ต้องให้เห็นภาพ แบบนั่งอ่านมองเห็นภาพทีเดียว

  - แสดงให้เห็น PDSA แต่เดิมเราถามคำตอบคำ มักถูกแก้ไขบ่อย ๆ อาจารย์ชอบย้ำหนักย้ำหนาว่า ต้องเขียนแบบ PDSA นะ เพราะเป็นการสื่อให้เห็นว่ามีการออกแบบระบบดี นำไปปฏิบัติได้ครอบคลุม ประเมิน/เรียนรู้ และปรับปรุงระบบ

  - แสดงให้เห็นว่าปฏิบัติจริง หลีกเลี่ยงการตอบแบบทฤษฎี  เดิมข้าพเจ้าสำเนาทฤษฎี ซึ่งมักจะถูกอาจารย์ขอใหม่ทุกรอบ จนเมื่อเข้าใจ ปัจจุบันนี้ ต้องมีการระบุการเปลี่ยนแปงที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น บทเรียนที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานของเราจริง ๆ

                         ประเมินให้ครบทั้ง 3 ส่วน

               ความสำเร็จ

P: มีที่มาและวิธีคิดอย่างไร สิ่งที่ดี ๆ ในระบบที่ออกแบบไว้

D:มีความครอบคลุมหรือการขยายผลอย่างไร

C:ผลลัพธ์(มีบทเรียนอะไร)

              ส่วนใหญ่

P:ออกแบบอย่างไร (โดยสรุป)

D:ความครอบคลุมในการปฏิบัติ(ใช้ตารางให้เป็นประโยชน์)

C:ผลลัพธ์(เชิงปริมาณ ถ้าเป็นไปได้)

              ความเสี่ยง/ปัญหา

P:อยู่ตรงไหน ป้องกันอย่างไร

D:สร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามอย่างไร

C:ผลลัพธ์ (มีบทเรียนอะไร)

 

  เป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ทำงานคุณภาพโรงพยาบาลนะคะ

-------------------------------------------------------------------------------------
---อ้างอิง จากเอกสารประกอบการประชุมโครงการพัฒนาคุณภาพ HA & HPH------

 

 

หมายเลขบันทึก: 177865เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2008 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พี่ไปประชุม R2R มา

เขาบอกว่าวิธีประเมินตนเอง ควรให้เขาเล่า Success story ก่อนนะคะ จะได้ภาคภูมิใจ แล้วค่อยเล่าสิ่งที่จะต้องพัฒนาจะดีกว่าค่ะ

- ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่แนะนำคะ ตรงพอดีเลยค่ะ เล่าเรื่องน่าภูมิใจ แล้วตามด้วยงานทีหลัง อิ อิ อิ

- บันทึกดีๆ ได้ทบทวน เข้าใจมากขึ้น ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ทุกท่าน

- ขอบคุณที่เข้ามาแวะค่ะ

สวัสดีครับ

มาเยี่ยมครับ

จะเอาไปแบ่งปันนะครับ

ตอบคำถามนะครับ  SST= Succes story technic

ขอบคุณนะค่ะที่ตามมาแจ้งคำตอบคุณหมอ

ถ้าหากเป็นระบบติดตามนัดที่ รพ.ก็จะดีนะเนี่ยะ (คิดอยู่เหมือนกัน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท