จ้ำม่ำน่ารัก ลูกรักอมโรค


สิ่งสำคัญคือ ความใส่ใจของพ่อแม่

           

       ทุกครั้งที่ได้คุยกับเพื่อนทางโทรศัพท์ รองหัวหน้าตึกเด็ก มักจะถามถึงเรื่องลูกเสมอ คงเพราะเรื่อง อ้วน นี่เอง เธอทำวิจัยเรื่องเด็กอ้วน สุดท้ายก็โดนเทศน์ตามเคยคะ เพราะ"ลูกรักอ้วนจ้ำม่ำ"

        เป็นเรื่องความเชื่อ หรือค่านิยมที่ปัจจุบันเริ่มส่งผลกระทบ เพราะทุกครั้งที่ทำงานเมื่อเห็นผู้ปกครอง พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย มักพาหลานมาตรวจ

        "คุณหมอ ลูกฉันไม่ยอมกินข้าว" หรือ " วันนี้กินข้าวนิดเดียว"

   เมื่อสืบสาวราวเรื่องพบว่า "เข้าใจผิด" วันนั้นเลยมานั่งสอนเรื่อง การใช้กราฟในการดูการเจริญเติบโตในเด็ก ระหว่าง 0-5 ปี ที่เขาถือมาในสมุดฝากครรภ์คุณแม่

       

เมื่อมองมุมกลับ เราสาธารณสุขให้สุขศึกษาเรื่องนี้ดีหรือยัง โยงไปถึงโรงเรียนพ่อแม่ ,โครงการสายใยรัก และอีกหลาย ๆ โครงการ (ตอนนี้ขอพักเรื่องงานก่อนนะค่ะ)

  เด็กอ้วนเป็นเด็กน่ารักนั้น ต้องทำความเข้าใจใหม่ เพราะ เด็กอ้วนมักอมโรค

     จะเลี้ยงอย่างไรให้เด็กอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน?

     เราต้องหมั่นเฝ้าระวังน้ำหนักและวัดส่วนสูงเป็นประจำ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กไทย อายุ 5-18 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยแบ่งเป็นชายและหญิง (ดูจากกราฟในสมุดสีชมพูของคุณแม่ที่ใช้ในช่วงฝากครรภ์ค่ะ)

    การชั่งน้ำหนัก เพื่อให้ได้น้ำหนักแท้จริงไม่ควรชั่งหลังกินอิ่ม เพราะน้ำหนักจะมากกว่าเป็นจริง ถ้าให้ดีควรชั่งตอนเช้าก่อนกินอาหาร จะเหมาะที่สุด

    การวัดส่วนสูง ควรถอดรองเท้า ถุงเท้า ยืนตัวตรง เข่าไม่งอ ไหล่ไม่งุ้ม ใช้ไม้วัดเป็นลักษณะฉาก เลื่อนพอดีกับศีรษะ อ่านตัวเลขเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง เช่น 100.5 เซนติเมตร โดยระดับสายตาของผู้อ่านต้องอยู่ตำแหน่งเดียวกันกับตัวเลข

 

        รู้อย่างไรว่า ..ลูกจ้ำม่ำ ?

หลังจากรู้น้ำหนักและส่วนสูงแล้ว นำไปเปรียบเทียบกราฟ

    สีเขียว อยู่ในเกณฑ์ดี สมส่วน พ่อแม่ควรส่งเสริมให้อยู่ในระดับนี้

    สีเขียวเข้ม ท้วม เสี่ยงต่อการมีโภชนาการเกิน เตือนให้ระวังหากไม่ดูแล

    สีเขียวอ่อน ค่อนข้างผอม  อยู่เกณฑ์เสี่ยงต่อการขาดอาหาร

    สีม่วงอ่อน หรืออ้วนระดับ 1

    สีม่วงเข้ม อ้วนระดับ 2 หากไม่ควบคุมมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนในอนาคต

    สีส้ม ผอม อยู่ในเกณฑ์ขาดอาหาร แสดงว่าได้รับอาหารไม่เพียงพอ

 

  สิ่งสำคัญคือ ความใส่ใจของพ่อแม่ หากมีการเฝ้าดูการเจริญเติบโตของลูกน้อย ย่อมเป็นเด็กน่ารัก และไม่เป็นโรคอ้วนอีกต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 177384เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2008 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะ ดิฉันเองจะนำส่วนสูงและน้ำหนักของลูกมาเทียบกับกราฟในสมุดบันทึกสุขภาพของลูกทุกครั้งหลังที่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือ ทุกครั้งที่มีโอกาสได้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของลูกค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.เพชรน้อย
  • เป็นบันทึกที่ดีมากค่ะ
  • เสียดายที่ป้าแดงไม่มีลูก
  • แต่ตอนนี้มีปัญหากับตัวเอง ที่จ้ำม่ำเกินเหตุค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์จันทวรรณ

- ขอบคุณคะที่แวะมาเยี่ยมเยือน เป็นกำลังใจทั้งคุณแม่และคุณลูกนะค่ะ สุขภาพแข็งแรง สดใสสมวัย

สวัสดีคะป้าแดงคนสวย แซ่เฮ

- ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทายค่ะ น่าอิจฉาจังเลยคะ ไม่มีลูกกวนตัว (ฮิ ฮิ )พวงเพชรก็เริ่มอ้วน ๆ กลม ๆ เหมือนกัน ต้องเข้าโครงการลดเอวกับเขาบ้างแล้วเช่นกัน

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท