CSR ที่ดีควรเป็นอย่างไร?


"ปัญหาคุณไม่มีทางแก้ได้แม้จะนำเทคนิคการฝึกอบรมที่ดีที่สุดในโลกมาใช้ หากบริษัทไม่มีความตั้งใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านอย่างแท้จริง"

          เครือข่ายไทยมิตรภาพเอเชีย (tafs) เขียนบันทึกเรื่อง CSR ในสังคมไทย (http://gotoknow.org/blog/corporationsocialresponsibility/176709)  ว่ากลุ่มธุรกิจประเภทต่างๆ ตื่นตัวตามกระแส CSR สูง   แนวทางที่ใช้มีการบริจาคในรูปแบบต่างๆ (Corporate Philanthropy) และการอาสาสมัครทำงานช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) ที่อยู่รอบบริเวณบริษัทฯและสังคมวงกว้าง การทำ CSR นอกจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภายในองค์กรแล้ว ยังเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอีกทางหนึ่งด้วย  ทำให้พนักงานภูมิใจในองค์กรด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้คงเกิดขึ้นได้ยากในการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินชีวิตตามปกติ

          คุณ มดคันไฟ เข้ามาอ่าน (เมื่อ อา. 13 เม.ย. 2551 @ 09:22
607761) แล้วแสดงความคิดเห็นว่า "ถ้า CSR ออกมาจากจิตวิญญาณของผู้กระทำ มันจะต้องแฝงอยู่ในทุกอณูของการทำธุรกิจ"

          อ่านเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเหตุการณ์หนึ่งเมื่อวันสงกรานต์ปีก่อนที่ผมได้นั่งกินข้าวเที่ยงกับเพื่อนคนหนึ่งที่มีตำแหน่งใหญ่พอสมควรคนหนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ทำอุตสาหกรรมเกษตร เขาบอกว่าบริษัทเขาถูกต่อต้านจากชาวบ้านในบางพื้นที่ บริษัทเขาก็มีโครงการให้ทุนการศึกษาบ้าง อะไรบ้าง เขาตั้งคำถามขึ้นมาว่าจะมีวิธีฝึกอบรมพนักงานในพื้นที่อย่างไรดี

          ผมไม่มี "ความรู้" พอจะตอบคำถามเขาได้ แต่มี "ความรู้สึก" พอที่จะตั้งคำถามเขาว่า "บริษัทคุณมีความตั้งใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านด้วยความจริงใจหรือเปล่า?" เขาอึ้งไปเหมือนกัน

          ผมบอกเขาไปตามความรู้สึกของผมว่า ปัญหาคุณไม่มีทางแก้ได้แม้จะนำเทคนิคการฝึกอบรมที่ดีที่สุดในโลกมาใช้ หากบริษัทไม่มีความตั้งใจที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านอย่างแท้จริง

          CSR ที่ดีที่สุด(ตามความคิดผม) ก็คือ หันกลับมาดูตัวเนื้องานอันประกอบด้วย "อณู" ของธุรกิจนั้นๆ เองว่าจะทำให้กระบวนการผลิต-บริการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรกับ customer และ supplier ช่วยประหยัดพลังงาน ช่วยให้เกิดระบบการค้าและบริการที่เป็นธรรม ช่วยให้คนหันหน้าเข้าหากัน ฯลฯ หรือไม่ เช่น ที่ Google ปรับหน้าจอเป็นสีดำเพื่อร่วมการรณรงค์ประหยัดพลังงานเมื่อวันที่ ๒๙ ก.พ.๕๑ พร้อมประกาศว่านับแต่นี้ไปโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของเขาทั้งหมดจะสร้างขึ้นโดยคำนึงเรื่องการประหยัดพลังงานของโลก (ผมก็อยากเฝ้าดูเหมือนกัน) หรืออย่างบริษัทน้ำมันก็ทำเรื่องการประหยัดพลังงาน บริษัทผลิตอาหารก็ทำเรื่องการกินเพื่อสุขภาพ บริษัทท่องเที่ยวก็ทำเรื่องท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในให้คนรักและหวงแหนธรรมชาติ ฯลฯ

          แต่ทั้งนี้มิได้หมายความกิจกรรม CSR ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ "อณู" ของธุรกิจตัวเองจะไม่มีประโยชน์นะครับ เพียงแต่อยากชวนให้คิดว่า จะดีกว่าไหมหากคิดให้เป็น "เนื้อเดียว" เป็นวิญญาณของสินค้าและบริการของธุรกิจนั้นๆ เลย

          ผมว่านี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ CSR ที่แท้จริง!

หมายเลขบันทึก: 176741เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ

ขอบคุณที่กรุณาแวะเวียนไปแบ่งปันเติมเต็มในบล็อก TAFS

ขออนุญาตตอบสนองแบ่งปัน ขอให้ถือว่าแบ่งปันตามความรู้และประสบการณ์อันจำกัดของผมก็แล้วกันนะครับ

กิจกรรม CSR มิได้สิ้นสุดที่การบริจาคเงินหรือบริจาคสิ่งของให้แก่หน่วยงานสังคมสงเคราะห์หรือมูลนิธิไปดำเนินการ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่องค์ที่ “ดี” กิจกรรมทาง CSR ประกอบด้วย การคิด การพูด และการกระทำ เงื่อนไขสำคัญในการพัฒนา CSR ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในสังคมไปพร้อมๆกัน คือ การเชื่อมร้อยกิจกรรมทางธุรกิจให้มีส่วนประสมของความรับผิดชอบทางสังคมอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน

ขอบคุณ TAFS ที่แวะเวียนมาแบ่งปันครับ

เห็นด้วยมากเลยครับกับความคิดที่ว่า "กิจกรรม CSR มิได้สิ้นสุดที่การบริจาคเงินหรือบริจาคสิ่งของให้แก่หน่วยงานสังคมสงเคราะห์หรือมูลนิธิไปดำเนินการ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่องค์กรที่ดี"

  • แต่ถ้าเป็นทั้งจุดเริ่มต้น กระบวนการ และเป้าหมายของธุรกิจเลยจะดีกว่าไหมครับ คือไม่ต้องไปคิดว่าเป็นส่วนประสมของการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์องค์กร (ผมฝันไปหรือเปล่า?)

ด้วยเหตุนี้จึงเห็นด้วยอย่างมากที่สุดว่า "เงื่อนไขสำคัญในการพัฒนา CSR ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับในสังคมไปพร้อมๆกัน คือ การเชื่อมร้อยกิจกรรมทางธุรกิจให้มีส่วนประสมของความรับผิดชอบทางสังคมอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน"

  • สิ่งที่ยากในเรื่องนี้ (การเชื่อมร้อยกิจกรรมทางธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน) คือ จิตสำนึกของผู้ประกอบการ ส่วนเรื่องวิธีการ (how to) จะตามมาเองหากอันแรกผ่าน
  • แต่ how to raise conciousness! นี่สิเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหลายคนก็ยึดเอา "กำไรสูงสุด" เป็นที่ตั้ง
  • หากองค์กรใดที่ทำเพราะกระแส ไม่ได้ทำเพราะสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมจริง ( "วิถี" กับ "เป้าหมาย" ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน) ก็จะได้ผลในเชิงประชาสัมพันธ์เพียงระยะสั้นๆ
  • สวัสดีทั้งสองท่านครับ

 

  • ผมเองก็สนใจแนวคิด CRS แต่เท่าที่ติดตามสั้นๆ ดูเหมือนจะเป็นแบบที่เชษฐกล่าวคือ

 

  • { แต่ how to raise conciousness! นี่สิเป็นเรื่องใหญ่ เพราะหลายคนก็ยึดเอา "กำไรสูงสุด" เป็นที่ตั้ง
  • หากองค์กรใดที่ทำเพราะกระแส ไม่ได้ทำเพราะสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมจริง ( "วิถี" กับ "เป้าหมาย" ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน) ก็จะได้ผลในเชิงประชาสัมพันธ์เพียงระยะสั้นๆ }

 

  • ถ้าคิดในแง่บวกก็คือ มันอาจจะเป็นแค่ช่วงเริ่มต้น ดีที่ภาคธุรกิจหยิบเรื่องนี้มาริเริ่มก่อนระบบอื่นเสียอีก แต่ความเป็นธุรกิจก็ย้อนกลับไปสู่ประเด็นของเชษฐอย่างลึกๆ  ก็ทำไปตามกระแส  แต่เบื้องหลังคือ กำไรสูงสุด
  • แต่เมื่อเขาเริ่มดีก็ต้องมองในแง่ดีก่อน และเนื้อแท้มันไปด้วยกันได้ไหมระหว่างผลประโยชน์ธุรกิจกับสำนึกต่อโลกต่อมวลมนุษย์ชาติ 
  • น่าติดตามจริงๆ

ครับ หากองค์กรใดลุกขึ้นมาทำ CRS ด้วยความรู้สึกสำนึกรับผิดชอบสังคมอย่างแท้จริง ระมัดระวังไม่ให้การผลิตหรือบริการของตนมีผลกระทบด้านลบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อธรรมชาติ นอกจากไม่ทำลายแล้วยังส่งเสริมอีก ก็ขอร่วมอนุโมทนา สาธุ ด้วย

หากทำอะไรดีๆ แม้ไม่ได้มาจากสำนึก (แต่เพื่อสร้างภาพลักษณ์) ก็ยังดีอีกนั่นแหละ ไม่ว่าจะทำเพื่อ "ไถ่บาป" หรือด้วยนิสัย "ใจดี" หรือด้วยกฏเกณฑ์ทางสังคมว่าเป็นสิ่งที่ "สมควรทำ" ก็ตาม เพราะอย่างน้อยก็ไม่ได้ take อย่างเดียว มี give ด้วย ชาวบ้านก็คงขอบคุณสำหรับ "ของขวัญ" จากคุณ

ถึงที่สุดแล้วแต่ละคนแต่ละองค์กรก็ต้องถามตัวเองกันเองว่าเราทำ CRS เพียงเพื่อสร้างภาพลักษณ์ หรือมีแรงบันดาลใจจากส่วนลึกของหัวใจ(ที่รับผิดชอบต่อสังคมจริง) คนอื่นคงตอบแทนไม่ได้ เพราะคิดแทนกันไม่ได้

สัวสดีครับ

คุณสุรเชษฐ เวชชพิทักษ์ ที่เคารพ

ผมปล่อยให้เนิ่นเนานมา ขอโทษที่ไม่ได้ตอบสนองทันที

วันนี้มีความคิดว่า CSR นั้นมี ภายใน หมายถึง ตัวองค์กรเองต้องมีทั้งขบวน

ภานนอก หมายถึง นอกทั้งใกล้และไกลจากที่ที่ตั้งของตน อาจสนับสนุนหรือทำร่วมกับพันธมิตรที่ไกลออกไป

มีบริษัทใหญ่ๆเขาทำขอบ หรือชุมชนรอบๆ เพื่อล้างบาป

ไม่ควรสมัครใจ ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของความเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีของโลกนะครับ

CSR ก็เป็นแค่ "การสร้างภาพลักษณ์วิธีหนึ่ง" เท่านั้นเองละมั้งครับ เป้าหมายหลักก็ยังคงเป็นกำไรสูงสุดอยู่ดี...เพียงแต่ว่าไม่บอกตรงๆ Philip Kotler ปรมาจารย์การตลาดยังบอกไว้เหมือนที่ผมเข้าใจแหละครับ ในหนังสือ คุณถาม Kotler ตอบ ครับ

ไม่รู้ผมมองลบ เกินไปหรือเปล่า...-_-'

สวัสดีครับ คุณแอร์

หลักการ มันก็คือหลักการ นั่นแหละ

ขณะนี้ก็คิดผลิตหลักการกันออกมามากมายก่ายกองเกี่ยวกับเรื่อง CSR เกือบจะเป็นหลักเกินอยู่แล้ว

ไม่มองในแง่ลบหรอกครับ

เมื่อมีแง่จุดอับ จุดอ่อน นั่นย่อมมีจุดดี จุดแข็งอยู่บ้าง

ขอให้คืนกำไรสู่สังบ้างเท่านั้นแหละ คงไม่มีกิจการที่ขาดทุนจะมาทุ่มเททำ CSR หรอก

ผมว่ามีแนวทาง CSR ไว้ก็ยังดีกว่าที่ทำกันอย่างกระจัดกระจาย ตามรายสะดวก เป็นการกุศล สงเคราะห์ ซึ่งมันไม่ยั่งยืนและเกิดการพัฒนา ทำให้ประชาชนขี้ขอ งอมือ

ผมศึกษาเรื่องนี้ที่ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน(PDA) ซึ่งเขาลงลึกนำไปปฏิบัติ

มีประมาณ ๔๐๐ กว่าบริษัท มีกว่า ๕๐๐ กว่าหมู่บ้านที่ร่วมทำในหลายจงัหวัด

เพราะ PDA เขาทำมานานเกือบยี่สิบปีแล้วโดยมีชื่ออื่น คือ พัฒนาชุมชนเป็นแบบคู่มิตร ปลาท่องโก๋ หรือพี่น้องกัน แล้วยังเชิญชวนบริษัทย้ายฐานการผลิตไปตั้งโรงงานที่ อ.จักราช อ.ลำปลายมาศ อ.นางรอง ฯลฯ กระทบกับชีวิตหลายหมื่นชีวิต

น่าตื่นเต้นครับ

ผมก็เคยหมกอยู่กับเอกสาร หลักการ และสัมมนาด้วย

เพื่อเพิ่มกำลังใจไม่ล่องลอยอยู่กับปรัชญา หาเรื่องสัมมนา ประชุม

จึงออกไปดูศึกษาที่เขาทำจริงแล้วเกิดผล

ความเป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นทุกคนต้องจริงจังแล้วล่ะครับ

CSR กับ CRS แตกต่างกันอย่างไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท