บริจาคเลือด ช่วยลดเสี่ยงมะเร็งตับ+ปอด+ทางเดินอาหาร


ท่านอาจารย์ดอกเตอร์กุสตาฟ เอดเกรน และคณะ แห่งสถาบันคาโรลินสกา สตอคโฮล์ม สวีเดน ทำการศึกษาข้อมูลจากผู้บริจาคเลือดสวีเดน และเดนมาร์คอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงปี 1968-2002 (พ.ศ. 2511-2545) 1,110,212 คน

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า การบริจาคเลือด หรือบริจาคโลหิตมีส่วนช่วยเพื่อนมนุษย์ให้อยู่รอด ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ทว่า... การบริจาคเลือดจะมีประโยชน์ต่อผู้ให้ (donors) บ้างหรือไม่นั้น วันนี้มีผลการศึกษามาฝากครับ

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์กุสตาฟ เอดเกรน และคณะ แห่งสถาบันคาโรลินสกา สตอคโฮล์ม สวีเดน ทำการศึกษาข้อมูลจากผู้บริจาคเลือดสวีเดน และเดนมาร์คอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงปี 1968-2002 (พ.ศ. 2511-2545) 1,110,212 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะมีอายุยืน หรือมีโอกาสตายจากโรคต่างๆ น้อยกว่าผู้ที่ไม่บริจาคเลือด

การบริจาคเลือดมีส่วน "ลด" ความเสี่ยงจากมะเร็งหลายชนิดได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งคอหอย (throat cancers) ในผู้บริจาคเลือด

...

สรุปง่ายๆ คือ ผู้ที่บริจาคเลือดมีแนวโน้มจะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ไม่บริจาคเลือด และเป็นมะเร็งต่อไปนี้ลดลง

  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งปอด
  • มะเร็งทางเดินอาหาร

...

สิ่งที่น่าทึ่งมากๆ ยังมีอีก 2 ข้อได้แก่

  • ความเสี่ยงมะเร็งที่ลดลงแปรตามจำนวนครั้งของการบริจาค ยิ่งบริจาคมากครั้ง ความเสี่ยงมะเร็งยิ่งลดลงในผู้บริจาคผู้ชาย
  • จำนวนครั้งไม่มีผลในผู้บริจาคผู้หญิง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้บริจาคเลือด หรือผู้บริจาคโลหิตดีกว่าประชากรทั่วไป

...

ทว่า... มีผู้บริจาคเลือดกลุ่มน้อยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (non-Hodgkin's lymphoma) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งพบเฉพาะในผู้บริจาคเลือดชนิดใช้เครื่องกรองเลือด และใช้เฉพาะส่วนน้ำเลือด (plasma) ก่อนปี 1986 (พ.ศ. 2529) เครื่องกรองเลือดจะคืนองค์ประกอบเลือดส่วนอื่นกลับคืน

อาจารย์เอดเกรนกล่าวว่า ความเสี่ยงนี้ไม่พบหลังปี 1986 (พ.ศ. 2529) อีกเลย ซึ่งคงจะต้องศึกษากันต่อไปว่า เป็นเพราะเหตุใด

...

ก่อนหน้านี้มีสมมติฐานที่สนับสนุน และคัดค้านการบริจาคเลือดเป็นประจำที่สำคัญได้แก่

ฝ่ายค้านการบริจาคเลือดกล่าวว่า การบริจาคเลือดทำให้ไขกระดูกต้องแบ่งตัวมาสร้างเม็ดเลือดใหม่เร็วขึ้น ซึ่งอาจทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง หรือเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น

...

ความเห็นของฝ่ายค้านนี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนเลยแม้แต่รายงานเดียว

ทีนี้มาดูฝ่ายสนับสนุนบ้าง... ฝ่ายสนับสนุนการบริจาคเลือดกล่าวว่า คนบางคนมีธาตุเหล็กที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงสะสมในร่างกาย โดยเฉพาะฝรั่งที่กินเนื้อมาก

...

ธาตุเหล็กในร่างกายก็คล้ายกับแร่เหล็กนอกตัวเรา คือ วันดีคืนดีก็เป็นสนิมขึ้นมา ถ้าเป็นสนิมเหล็กนอกตัวเราจะทำให้เหล็กอ่อนแอ แตก หัก ผุ กร่อนได้ง่าย

ถ้าเป็นธาตุเหล็กในร่างกายถูกออกซิเจน (ออกซิไดซ์ - oxidized) ทำพิษเข้าบ้าง อาจทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free radicals) ได้ง่าย โดยเฉพาะทำให้ผนังเส้นเลือดที่เรียบ และลื่นดุจกะทะฉาบเทฟลอนไว้เสียหาย กลายเป็นกะทะสนิม

...

ผนังเส้นเลือดที่เสียหายนี้จะขรุขระ ไม่เรียบ และไม่ลื่น ทำให้คราบไขมัน (โคเลสเตอรอล) จับหรือเกาะได้ง่าย เกิดการอักเสบได้ง่าย ทำให้เส้นเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองอุดตันได้ง่าย

นอกจากนั้นถ้าธาตุเหล็กในร่างกายเกิดเป็นสนิม หรือเป็นพิษที่อื่น อาจทำให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นมาได้

...

ฝ่ายที่สนับสนุนการบริจาคเลือด เช่น ท่านอาจารย์นายแพทย์พอล ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์อายุยืน สหรัฐฯ ถึงกับประกาศเลยว่า ตัวท่านเองจะเริ่มบริจาคเลือดเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงจากการมีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกิน ฯลฯ

ทฤษฎีของท่านกล่าวว่า ผู้หญิงที่อายุยืนเกิน 100 ปีและแข็งแรงส่วนใหญ่มีลูกหลายคน และมีประจำเดือนนาน ทำให้มีโอกาส "บริจาคเลือด" ตามธรรมชาติ

...

ทีนี้ผู้ชายไม่มีเมนส์(ประจำเดือน) ไม่มีลูก ไม่ได้คลอดลูก และไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ช่วยระบายธาตุเหล็กส่วนเกินออกไป

ทางเดียวที่ผู้ชายจะระบายธาตุเหล็กออกไปได้แบบ "วิน-วิน (win-win)" หรือได้ประโยชน์ทั้งผู้รับและผู้ให้ มีทางเดียวคือ บริจาคเลือด

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมาบริจาคเลือดเป็นประจำ ซึ่งถ้าเป็นไปได้... เรียนเสนอให้บริจาคเป็นประจำทุก 3 เดือน

ถ้าบริจาคน้อยกว่านั้น... เรียนเสนอให้บริจาคช่วงปิดภาคเรียน เพราะเป็นช่วงที่เลือดขาดแคลนทั่วประเทศ

...

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาของพวกเราทุกท่านทุกคนที่มีส่วนสนับสนุนการบริจาคเลือด

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

ที่มา                                                  

  • Thank Reuters > Anne Harding > Frequent blood donation doesn't boost cancer risk > [ Click ] > April 8, 2008. / J of the NCI. April 8, 2008.
  • Thank Yahoo > Anne Harding Frequent blood donation doesn't boost cancer risk > [ Click ] > April 8, 2008. / J of the NCI. April 8, 2008.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 9 เมษายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 176112เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2008 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

ขอบพระคุณคุณหมอวัลลภ ที่นำเสนอเรื่องที่เข้ากับยุคสมัยพอดีครับ

 

  • เป็นการศึกษาที่มีจำนวนตัวอย่างมากทีเดียว และ รวบรวมข้อมูลจากสามสิบห้าปี
  • ไม่ขอกล่าวถึงความเสี่ยงของการได้รับเอช ไอ วี นะครับ (คนละเวที)

 

หมอสุข

เคยบริจาคเหมือนกันค่ะ แต่หลังๆไม่ค่อยได้บริจาคค่ะ เพราะพอไปเลือดลอยค่ะ ต้องพักผ่อนให้มากน่ะค่ะอาจะเป็นเพราะนอนไม่เป็นเวลา ดูนิยายจนดึกค่ะ

อาจารย์หมอวัลลภ 

ด้วยความเคารพรัก

สวัสดีค่ะคุณหมอ

เคยบริจาคเลือดค่ะ และยินดีจะบริจาคต่อไป

ขอบคุณค่ะสำหรับการนำเสนอสิ่งดีๆมาเผยแพร่

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท