มีนิสิตหลายคนที่ทำวิจัยในลักษณะ R&D และการเขียนรายงานการวิจัยมักพบปัญหาว่าจะเขียนรายงานวิจัยอย่างไร ส่วนไหนควรอยู่บทที่ 3 ส่วนไหนควรอยู่บทที 4 และบททที่ 5 เขียนอย่างไร
การเขียนรายงานการวิจัยแบบ R&D นั้นถ้าใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงทดลองแล้วจะพบปัญหาการเรียนรายงานวิจัยว่าไม่สามารถเขียนรายงานได้อย่างสอดคล้อง ทางที่ดีผู้เขียนรายงานการวิจัยควรเขียนในรูปแบบ R&D จะเขียนได้ง่ายกว่า
โดยขั้นตอนของการ research และ Develop ขั้นต้น เช่น ขั้นตอนของการพัฒนาสื่อ ในช่วงของการสำรวจความต้องการ การวิเคราะห์เนื้อหา และให้ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา การนำไปทดลองกับกลุ่มย่อย 1:1 กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ การหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ หรือข้อสอบ สิ่งเหล่านี้ควรเขียนไว้ในบทที่ 3 เพราะเป็นขั้นของการพัฒนา
ส่วนในบทที่ 4 นั้นจะเป็นผลของการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัยตั้งไว้อย่างไร เราก็เขียนผลตามกรอบของจุดมุ่งหมายการวิจัย
ส่วนบทที่ 5 ตามรูปแบบใหม่ของการเขียนรายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ตัด ส่วนของวัตถุประสงค์และขั้นตอนการทำวิจัยออก เหลือแต่ส่วนของ สรุปและอภิปรายผลเท่านั้น
และการเขียนข้อเสนอแนะ ก็เขียนตามผลของสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ซึ่งอาจเขียนข้อเสนอแนะผลงานวิจัยแบบ R&D ได้ออกเป็นสองส่วนคือ
ข้อเสนอแนะทั่วไป แบ่งเป็นข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ซึ่งส่วนนี้คือการให้ข้อเสนอแนะไว้ว่าถ้ามีคนต้องการนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ เค้าควรทำอย่างไร เตรียมอะไร เช่น ต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนอย่างไร ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือข้อเสนอแนะในการพัฒนา กล่าวคือถ้าผู้อ่านงานวิจัยมีความประสงค์จะทำงานวิจัยตามแนวนี้เค้าควรทำอย่างไร มีสิ่งใดที่ผู้วิจัยพบจากการวิจัยแล้วควรทำตาม เช่น ควรใช้สีพื้นหลังอย่างไร ควรใช้เสียงประกอบอย่างไร ควรออกแบบตามแนวทางทฤษฎีการเรียนรู้ แต่ถ้าสิ่งใดเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่ต้องบอก ไม่ต้องเสนอแนะคนทั่วไปก็รู้อยู่แล้ว เช่น ผู้วิจัยควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องบอกก็รู้อยู่แล้ว ถือว่าเป็นข้อเสนอแนะที่ไม่ได้ค้นพบจากการวิจัย
ขอแสดงความคิดเห็นนะคะ จริงค่ะ สิ่งใดเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่ต้องบอก ไม่ต้องเสนอแนะคนทั่วไปก็รู้อยู่แล้ว เช่น ผู้วิจัยควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ต้องบอกก็รู้อยู่แล้ว ใช่ค่ะ นิสิตเรามักจะติดกับตรงนี้เสียมาก และอ่อนกับการศึกษาเรื่องทฤษฏีการเรีนรู้ จะเป็นอุปสรรคต่อการผลิตสื่อ ไม่ได้ตรงกับตวามต้องการของผู้เรียน จะสร้างขึ้นตามเหมาะสมของตนเอง ซึ่งตนเองก็มีประสบการณ์ที่ผ่านมาในลักษณะนี้เหมือนกัน และคิดเห็นว่า ข้อเสนอแนะงานวิจัยต้องชี้ให้เห็นในเชิงลึก ควรศึกษาจากการอ่านงานวิจัยให้มากๆ และควรพบผู้เชี่ยวชาญให้มากขึ้น เพื่อรับการชี้แนะ ก็จะเป็นงานวิจัยที่ดีและสมบรูณ์
ตอนเรียน ได้ทำวิจัยในลักษณะของ R&D ก็พอได้แนวทางบ้าง ซึ่งมีผู้รู้ได้ให้คำแนะนำอย่างดี แต่ยังอยากให้มีรูปแบบที่เป็นเอกสารไว้เพื่อให้ผู้ที่จะทำวิจัยได้ศึกษาได้ง่ายขึ้น และรวดเร็ว
สาเหตุที่นิสิตไม่จบการศึกษาตามเวลา
1. อาจารย์ที่ปรึกษา
- ไม่วิจารย์
2. นิสิต
-
ไม่เข้าใจกระบวนการทำวิจัยดีพอจึงไม่กล้าไปถามอาจารย์ที่ปรึกษา
- ไม่สนใจที่จะทำ
- ข้อจำกัดอื่นๆ เช่น งาน
การเดินทาง งบประมาณ
หนูเป็นนิสิตโครงการครูประจำการ รหัส 46093746 เอกหลักสูตรและการสอน ลูกศิษย์ของอ.วารีรัตน์ แก้วอุไร ค่ะ แต่บังเอิญสืบค้นเกี่ยวกับการทำวิจัย R&D ที่ชัดเจน ตอนที่เรียน หนูทำ IS ที่เป็น R&D ที่มี 4 ขั้นตอน เวลาเขียนรายงานก็แยกอธิบายรายละเอียดตาม 4 ขั้นตอนหลัก แล้วก็จบมาได้ด้วยดี (ทำกันอย่างจริงจังนะคะ)
. . .แต่ พอมาเรียน ป.บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ที่มรภ.นครปฐม เรียนวิชาวิทยาการวิจัย อาจารย์ให้ทำโครงการวิจัยส่ง หนูจึงคิดจะทำในแนว R&D ซึ่งก็ได้นำ IS ของตัวเองไปให้อาจารย์ผู้สอนดู ท่านก็บอกว่าละเอียดดี และเป็นรูปแบบเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่ไม่เคยเห็นรูปแบบเขียนรายงานแบบนี้ ท่านเสนอแนะว่าให้ทำตามแบบสากลดีกว่า
. . . ทำเอาหนู . . . งง และอยากจะหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อความมั่นใจในการทำวิจัย R&D ให้มากขึ้นค่ะ
ฝากความระลึกถึง อ.วารีรัตน์ ด้วยนะคะ
ชื่อเดิมของหนู แก้วใจ ดรเทพพล จ.นครปฐม ค่ะ