nui
นาง เสาวลักษณ์ พัวพัฒนกุล

สังคมฐานปัญญา กับ สังคมฐานศรัทธา


“สังคมไทยเป็นสังคม ฐานศรัทธา คือคนส่วนใหญ่เอาความเชื่อมาเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่สังคมฐานปัญญา ที่คนมีวิจารณญานสูง”

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอาทิตย์ มักมีเรื่องดีๆ มากระตุ้นความคิดคนอ่านเสมอ  เป็นการพักจากข่าวหนักๆ ในรอบสัปดาห์

                เช้านี้   คอลัมม์อาทิตย์เที่ยงวัน ของ คุณ เชตวัน เตือประโคน เล่าเรื่องที่ไป คุยความเชื่อ กับ ว.วชิรเมธี     

               

ท่าน ว.วชิรเมธี บอกว่า

ความเชื่อ (ศรัทธา) มี ๒ ลักษณะ คือ   ๑)  ความเชื่อแบบไม่มีเหตุผล กับ    ๒) ความเชื่อที่เกิดขึ้นหลังจากพิจารณาแล้วว่ามีเหตุผลรองรับ   ท่านบอกว่า  มนุษย์โดยมากมีความเชื่อแบบแรก

                สังคมไทยเป็นสังคม ฐานศรัทธา   คือคนส่วนใหญ่เอาความเชื่อมาเป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่สังคมฐานปัญญา ที่คนมีวิจารณญานสูง

สังคมฐานปัญญาเกิดขึ้นได้เพราะ คนในสังคมนั้น มีการศึกษาดี รู้จักคิด วิเคราะห์ ใช้ข้อมูล ความรู้เป็นฐานในการคิด  ไม่เชื่ออะไรง่าย

อยากได้รายละเอียดมากกว่านี้  ต้องตามไปอ่านเอง

 

                ไทยเป็นสังคมพุทธ ที่พระพุทธเจ้าสอนให้คิดก่อนเชื่อ   ไม่ให้เชื่อโดยไม่ต้องคิด  ปรากฏชัดในหลักธรรมชื่อว่า กาลามสูตร ๑๐  ท่าน ว.วชิรเมธีท่านเรียกหลักธรรมชุดนี้ว่า  ท่าทีทางวิทยาศาสตร์ของพระพุทธศาสนา

 

                ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก  บอกว่าเขาไม่ได้นับถือศาสนาใด  แต่เขาได้ศึกษาศาสนาพุทธ

ไอน์สไตน์อ่าน กาลามสูตร แล้วแปลกใจว่า มีศาสนาแบบที่สอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ อยู่ด้วย  เขาได้เขียนบทความเพื่อให้ชาวโลกรับรู้ว่า

ศาสนาแห่งอนาคตจะเป็นศาสนาแห่งจักรวาล  ศาสนาซึ่งตั้งอยู่บนประสบการณ์  ซึ่งปฏิเสธความเชื่อที่ไร้ข้อพิสูจน์  หากมีศาสนาใดศาสนาหนึ่งที่พอจะรับมือกับความต้องการทางวิทยาศาสตร์ได้ละก้อ ศาสนานั้นคือ ศาสนาพุทธ

และมีอีกหลายๆ ครั้งที่ไอน์สไตน์พูดถึงศาสนาพุทธ

 ศาสนาพุทธมีคุณลักษณะอย่างที่เราคาดหวังจะให้เป็นศาสนาแห่งจักรวาล  ศาสนาพุทธไม่ยึดติดกับพระเจ้า  ไม่ส่งเสริมความเชื่องมงาย  ไม่เกี่ยวกับเทววิทยา  ศาสนาพุทธเกี่ยวพันกับทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ  เป็นศาสนาที่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ของสรรพสิ่ง  ทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ  โดยถือว่าเป็นองค์รวมเดียวกันอย่างมีความหมาย... ศาสนาที่แท้จริงต้องไม่วางอยู่บนความกลัวชีวิต  ความกลัวตาย  และศรัทธาอย่างไม่ลืมหูลืมตา  แต่ด้วยความพากเพียรตามความรู้ที่มีเหตุผล

 

เมื่อได้อ่านสิ่งที่ไอน์สไตน์พูดซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายครั้ง   พบว่าไอน์สไตน์ รู้จัก  ศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง และ  บอกหลายอย่างแก่เราผ่านข้อความข้างต้น

 

เมื่อต้นปี  ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)  มีความห่วงใยสังคมไทยอย่างมาก  ท่านได้เสนอแนะให้เราเดินตาม  วัฒนธรรมพุทธศาสนา   ซึ่งมีลักษณะสำคัญ  ๒ ประการ  คือ   เป็นวัฒนธรรมแห่งการที่ ต้องรู้   คือ ต้องรู้องค์ประกอบของสิ่งต่างๆ ที่ต้องเข้าถึงเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย....และ   เป็นวัฒนธรรมแห่งการที่ ต้องทำ เพราะพระพุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์จะต้องพึ่งตนและทำตนให้เป็นที่พึ่งได้   สรุปอย่างสั้นที่สุดสำหรับข้อเสนอของท่าน  คือ  

สังคมไทยต้องสร้างวัฒนธรรมความใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก  โดยยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมพุทธ ๒ ข้อ คือ  ต้องรู้(จริง)  และ ต้อง(ลงมือ)ทำ

 

ที่ท่านเจ้าคุณเมตตาสอนเรา ก็คือ ท่านต้องการเห็นสังคมไทยเป็น  สังคมฐานปัญญา  ตามที่ท่าน  ว.วชิรเมธี พูดถึง   แต่ท่านเน้นเพิ่มอีกข้อคือ  ต้องทำ

 

                                                                                                                                              อาทิตย์ ๖ เมษายน ๒๕๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 175607เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2008 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อจ ประเวศบอกว่า ธรรมะต้องใช้คู่กัน ในพละ 5 ซึ่งเป็นธรรมะว่าด้วยพลังที่ช่วยให้ทำงานได้สำเร็จบอกไว้ 2 คู่่ กับ 1 แกน คู่แนก คือ ศรัทธา ซึ่งต้องช้คู่กับปัญญา คู่ที่สองคือ วิริยะ ซึ่งต่องใช้คู่กับสมาธิ ส่วนตัวแกนคือ สติครับ

คนมีปัญญามาก (ที่ไม่ใช่ปัญญาแท้รู้แจ้ง) มักมีคำถามแยะ จนไม่ลงมือทำ บางทีก็ทำแบบไม่มีศรัทธา ท่านจึงเอาศรัทธามาเป็นข้อแรกใน พละ 5 แต่แน่นอนว่าศรัทธาบอด ย่อมไม่ดีแน่ เพราะนั่นคืองมงาย

  • มาซึมซับรับความรู้ จากหนูนุ้ยจ้ะ
  • เราจะ ธรรมะธรรมโม ก็เพราะ คุณตัวเองนี่ละ
  • ... ขอบคุณนะคะ
  • "สังคมไทยต้องสร้างวัฒนธรรม ความใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก  โดยยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมพุทธ ๒ ข้อ คือ  ต้องรู้ (จริง)  และ ต้อง (ลงมือ) ทำ"

เชื่อในบางอย่างก็แย่

เชื่อในบางสิ่งก็ดีค่ะ

โดยเฉพาะเชื่อว่าเราทำได้

เอามาให้อ่านเต็มๆ เพราะดิฉันอาจสรุปมาไม่ครบถ้วน

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01fun05060451&day=2008-04-06&sectionid=0140

คี่เกียจอ่านอ่ะอ่านทำไม่

  • สวัสดีค่ะคุณน้ำ
  • อ่านมากก็รู้มาก การอ่านเป็นต้นทุนการคิดค่ะ คนที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก มักเป็นคนชอบอ่าน
  • นี่เป็นคำตอบว่า อ่านทำไมค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่เข้ามาอ่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท