ห้องทดลองเชิงปฎิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์กับกลุ่มเยาวชน NDR และเยาวชนทำหนังสั้น (๒)


ผลการทำงานในช่วงที่ ๒ ผลการให้คำนิยามเรื่องสี ขาว เทา และ ดำ

            ขาว หมายถึง ภาพยนตร์ที่มีสาระ ซึ่งเป็นสาระในเรื่องของการให้ความรู้ อาทิ การแสดงความรักของครอบครัว การแสดงความรักต่อเพื่อน การแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างรวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรม อาทิ วัฒนธรรมการเล่นดนตรี การแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันกับกลุ่มเด็กพิเศษ และการแสดงที่ทำให้เห็นความมานะพยายามของนักกีฬา นอกจากนี้ภาพยนตร์ที่เป็นกลุ่มสีขาวยังเป็นภาพยนตร์ที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย และไม่มีเรื่องของการใช้ความรุนแรง

            เทา หมายถึง ภาพยนตร์ที่มีฉากที่ไม่เหมาะสมในเรื่องทางเพศ อาทิ การจับหน้าอก การจูบกับเพศเดียวกัน เป็นต้น ภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มสีเทาจะมีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพในเนื้อเรื่องบ้างเล็กน้อย ภาพยนตร์ในกลุ่มนี้จะมีการกล่าวถึงเรื่องความรุนแรง ทั้งในลักษณะความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในด้านอื่นๆ เช่น การข่มขืน การกระทำอนาจาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาพยนตร์กลุ่มนี้สามารถก่อให้เกิดสาระในเรื่องการให้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดความประมาทได้

            ดำ หมายถึง ภาพยนตร์ที่กล่าวถึงเรื่องทางเพศมากซึ่งอาจนำเสนอผ่านมุมมองเชิงศิลปะ เช่น ภาพเปลือย ภาพการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ถึงกับเป็นภาพที่มีลักษณะอนาจาร นอกจากนี้ยังหมายถึงภาพยนตร์ที่มีการใช้ภาษาที่หยาบคาย มีการด่าทอ และตะคอกใส่กัน ส่วนความรุนแรง ภาพยนตร์ที่อยู่ในนิยามสีดำจะหมายถึง มีการแสดงการกระทำที่รุนแรง โรคจิต มีการพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล มีฉากสยองขวัญ สะเทือนใจ สะเทือนอารมณ์ การเห็นเลือดสมจริง การต่อสู้ที่รุนแรง การก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบการก่ออาชญากรรม การใช้เสียงกระตุ้นเร้าอารมณ์ และการแสดงความก้าวร้าว

             ผลการทำงานในช่วงที่ ๔ การร่วมสร้างเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมห้องทดลองเชิงปฏิบัติการได้ร่วมกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ ดังนี้

             เพศ

            การเห็นสัดส่วนร่างกาย นู้ด การกอดจูบ มีภาพล่อแหลม

            พฤติกรรมหรือการกระทำที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ หรือนำไปสู่ความสัมพันธ์ทางร่างกาย หรือการกระตุ้นให้เกิดความใคร่ การกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ภาพการมีเพศสัมพันธ์ในสถานที่ไม่เหมาะควร อาทิ ภาพการมีเพศสัมพันธ์ต่อหน้าเด็ก

            ภาพโป๊เปลือย การเห็นของลับ

            ภาพโป๊เปลือยที่แสดงให้เห็นในเชิงศิลปะ แฝงแง่คิดและมุมมองต่อกลุ่มผู้ชมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

             ภาษา

            ความเหมาะสมของการพูดที่เหมาะกับผู้พูดและผู้ฟัง

การพูดไม่ชัด การพูดผิดไวยากรณ์ภาษา สำเนียง การพูดล้อเลียนคนบางกลุ่ม

            คำหยาบที่ไม่ถูกกาลเทศะหรือไม่เหมาะกับสถานการณ์

ความรุนแรงในการใช้ภาษา เช่น การด่าทอ ก้าวร้าว รุนแรง เสียดสี ดูหมิ่น การพูดยุแยง

การแสดงภาษาทางกาย การสื่ออารมณ์

ความรุนแรง

            การแสดงถึงความรุนแรงแบบจิตวิปริต วิตถาร โหดเหี้ยม อำมหิต การทำร้ายทางจิตใจ สะเทือนใจและสะเทือนความรู้สึก การทำร้ายผู้อื่น  การทารุณกรรม การแสดงอาการเก็บกด

            การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ถ่อย หรือจิตสกปรก การทะเลาะวิวาท การรุมทำร้าย

            การโจมตี การต่อสู้ ฆ่าฟัน มีความสยดสยอง เลือดสาด อวัยวะขาดดิ้น และมีการใช้อาวุธ

             ผลการทำงานในช่วงที่ ๕ การทดลองจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ โดยใช้เกณฑ์ที่ร่วมกันยกร่างขึ้นในช่วงที่ ๔ โดยในครั้งนี้ ยกตัวอย่างภาพยนตร์ (๑) หอแต๋วแตก (๒) ต้มยำกุ้ง (๓) ก้านกล้วย (๔) ปาฎิหารย์รักจากแม่ (Running Boy) 

 

หมายเลขบันทึก: 174117เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ตามมาอ่านต่อตอนที่ 2 ค่ะ

ท่าทางสนุก เสียดายที่ไม่ได้อยู่ด้วย

สนุกมากๆ เลยหล่ะค่ะอาจารย์ โดยเฉพาะน้องน้ำกรด ให้ความคิดเห็นและให้คำจำกัดความมากมายที่ทีมงานนึกไม่ถึง

ขอบคุณมากค่ะพี่แจ๋ว แนทตอบคำถามพี่แล้วนะคะ

ตามมาให้กำลังใจกันดีจังเลยค่ะ

กำลังใจ มีไว้ส่งมอบซึ่งกันและกัน จะได้มีแรงก้าวเดินต่อไปนะคะ :)

สวัสดีค่ะ คุณแนท

จ๋าที่ส่งเมล์ติดต่อคุณแนทเรื่องขอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเรทติ้งอินเทอร์เน็ตค่ะ

พอดีอยากได้ข้อมูลในส่วนกระบวนการในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ

(เหมือนรายละเอียดของบล็อกเรื่องนี้ค่ะ แต่เป็นเรื่องการประเมินเว็บไซต์) ^^

(รายละเอียดของจุดประสงค์การใช้ข้อมูล ส่งไปทางอีเมล์นะคะ)

^^

สวัสดีค่ะคุณจ๋า

เรื่องรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการในห้องทดลองจัดเรทติ้งอินเทอร์เน็ต มีอยู่ที่พี่ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง แต่ถ้าพอจะมีเวลาแนทจะเอามาลงเผยแพร่ไว้ที่นี่อีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท