สำหรับคนชอบ"จิบน้ำชา"..??


??

หลายท่านชอบจิบกาแฟ หลายท่านชอบจิบน้ำชา...แต่เราชอบทั้งจิบชาและกาแฟ.."วันละนิดจิตแจ่มใส"...มาลองอ่านความเป็นมาของ..."น้ำชา"กันดีกว่า..ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไรกัน...       
        ความเป็นมาของ"การดื่มชา" เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดของการดื่มชามีความหลากหลายพอๆ กับประเภทของชาต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี และยังคงมีความแตกต่างกันออกไป

ตำนานอินเดีย และญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงพระโพธิธรรม ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้เคร่งครัดการปฎิบัติธรรมรูปหนึ่ง พระโพธิธรรมได้นั่งสมาธิเป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันโดยปราศจากการพักผ่อนนอนหลับใดๆ จนกระทั่งรู้สึกง่วง..ในที่สุด

ตำนานอินเดีย พระโพธิธรรมเด็ดใบไม้สองสามใบจากต้นไม้ที่ใช้เป็นร่มเงา และเมื่อลองเคี้ยวใบไม้เหล่านั้นดูก็พบว่า ความง่วงที่เกาะกุมได้ปลาสนาการไป(ปลาสนาการแปลว่าหมดไป หรือหายไป)

ตำนานญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยเล่าว่า
พระโพธิธรรมได้เฉือนเปลือกตาอันหนักหน่วงของตนทิ้งด้วยโทสะ และขว้างลงไปที่พื้นดิน ในบริเวณที่เปลือกตาถูกทิ้ง ได้เกิดเป็นพุ่มชาสองพุ่ม และพระโพธิธรรมก็ได้ค้นพบว่า "ใบชามีคุณสมบัติในการช่วยระงับความง่วง"...(อิๆๆ..แปลก..ดี..)

ตำนานที่แพร่หลาย และเชื่อกันมากที่สุดได้แก่ตำนานจีน เมื่อราว
2737 ปีก่อนคริสตกาล ขณะจักรพรรดิเฉินหนง กำลังต้มน้ำอยู่ใต้ต้นชา
ได้มีใบชาหล่นลงไปในกาต้มน้ำ จอมราชันย์พบว่าน้ำที่ต้มกลายเป็นเครื่องดื่มชนิดใหม่ ซึ่งมีรสชาติดีกว่าน้ำต้มธรรมดาอย่างเทียบไม่ได้ (อิๆๆ..รู้เลยว่าราว2737ปีก่อนคริสตกาล..ยังทำฝากาต้มน้ำไม่เป็น..หรือไม่ก็ฝาหาย..อิๆๆ)

" ชาสำหรับทุกความชอบ"

ชาทุกประเภทล้วนมีที่มาจากต้นชา หรือ Camellia sinensis เหมือนกัน เมื่อราว 5000 ปีก่อน ชาวจีนได้ค้นพบว่า ต้นชาสามารถให้ใบชาที่มีกลิ่นที่หลากหลาย โดยการปลูกบนสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ และความสูงแตกต่างกันเฉกเช่น การปลูกองุ่น เพื่อทำไวน์ และหากจะว่า กันตามจริงแล้ว ชาประเภทต่างๆ ก็มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับไวน์ชั้นเลิศอยู่เสมอ

เทคนิคการผลิตที่แตกต่างกันช่วยให้สามารถผลิตชาประเภทต่างๆ ขึ้นมาได้ หลักๆ คือชาเขียว และชาดำ โดยชาเขียวได้มาจากการไม่ปล่อยใบชาผ่านกระบวนการทำ ปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เช่นเดียวกับไวน์ขาว ในขณะที่การผลิตชาดำนั้นจะต้องนำใบชาผ่านกระบวนการนี้อย่างเต็มที่    เช่นเดียวกับไวน์แดง และชาเหล่านี้เอง คือสิ่งที่ โธมัส ทไวนิ่งส์ เริ่มขายในปีค.ศ. 1706

        ในปัจจุบัน ชาเขียวส่วนใหญ่มาจากตะวันออกของประเทศจีน ชาดำ ซึ่งในอดีตเคยผลิตได้เฉพาะประเทศจีนก็ได้แพร่กระจายมาถึงอินเดียในปี ค.ศ. 1839และเข้าสู่ซีลอน หรือศรีลังกาในปี ค.ศ. 1879 วันนี้ชาเป็นพืชที่ปลูกกันแพร่หลายในทุกส่วนของโลกที่สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย(ชาศรีลังกาก็ใช้ได้เหมือนกันนะคะ..แต่ดูเหมือนเข้มข้นมากเลย.......)

ชาจะเจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศเขตร้อนหรือเขตใต้โซนร้อนที่มีฝนประมาณหนึ่งร้อยลูกบาศก์เซนติเมตรต่อปี ต้นชาเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ หากปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติจะมีความสูงถึงประมาณ 9 เมตร แต่ เพื่อความสะดวกในการเก็บใบชา ต้นชามักถูกเล็มให้มีความสูงแค่ระดับเอว

ต้นชา พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ สามถึงห้าปี ขึ้นอยู่กับความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ที่ปลูก ช่อที่อยู่สูงที่สุดของต้นรวมทั้งใบอ่อนในบริเวณใกล้เคียงก็จะถูกเด็ด หลังจากนั้นก็จะนำใบชาที่ได้รับจากการเก็บ มาผ่านกระบวนการผลิตให้เป็นชาเขียวหรือชาดำตามต้องการ

...ความจริงชาผลไม้...ก็อร่อยและหอมดีเหมือนกันนะคะ ..


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ...www.twinings.com

อ่านเจอก็เลยคัดลอกมาให้สมาชิกวงน้ำชาได้อ่านกันค่ะ.."ขอคาราวะหนึ่งจอก..."..อิๆๆ

ด้วยรักจากใจยายหมูอ้วน..I love u
     
      

 

หมายเลขบันทึก: 173587เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2008 05:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณพี่อาจารย์อุบลที่เคารพรักยิ่ง

  •  ได้เลยค่ะคุณพี่..อิๆๆ
  • คุณพี่ไปปฏิบัติธรรมหรือยังค่ะ
  • .. ด้วยความเคารพรักยิ่ง
  • หนูหมูอ้วนค่ะ

ดื่มชาแล้วสุขภาพดีครับ

สวัสดีค่ะน้องอาจารย์หมูอ้วน กลับมาขอเชิญมาร่วมวงจิบน้ำชาด้วยกันบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะคุณน้องJumpzzzzzzzzzzสุดหล่อ

 ครับผม...แต่มากๆก็อาจไม่ดีก็ได้นะคร๊าบบบบบบบผม

ด้วยรักจากใจพี่ยายหนูอ้วนเอง

สวัสดีค่ะคุณพี่"คุณนายดอกเตอร์"ที่เคารพรักยิ่ง..และสุดสวยด้วย

  • กราบขอบพระคุณงามๆมาล่วงหน้าเลยค่ะคุณพี่..อิๆๆ
  • คุณพี่ไม่เชิญ..คุณน้องก็จะแอบไปจิบด้วยอยู่แล้ว..
  • อิๆๆทั้งชาและกาแฟเลย..อิๆๆ
  • ด้วยความเคารพรักยิ่ง
  • หนูหมูอ้วนค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท