จัดการกับปัญหาด้วยความคิดบวก...บวก....และบวก(สุดๆ)


สัปดาห์นี้รับหน้าที่เป็นผู้รายงานผลการตรวจค่ะ เป็นครั้งแรกของตัวเองสำหรับการใช้ระบบลงทะเบียน online เพื่อการลงผลอย่างเต็มตัว หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วเป็นคนควบคุมเครื่องและได้เห็นคนลงผลวุ่นวายกันมาบ้างแล้ว

งานแต่ละวันก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันสักเท่าไหร่ ถึงจะเห็นอยู่ทุกวันก็ยังอัศจรรย์ใจกับจำนวนที่เราทำทุกครั้งที่เห็นตอนสิ้นวันค่ะ เอารูปมาฝากให้ช่วยพิสูจน์ว่าน่าอัศจรรย์จริงไหมด้วยค่ะ แล้วแต่ละวันคนที่ต้องรวบรวมเก็บหลอดเลือดทั้งหมดเข้าตู้เย็นก็คือพี่ผอบคนขยันของเรา ก็ยังเห็นพี่เขาทำอย่างขยันขันแข็งมีความสุขเสมอ เอารูปคนขยันมาฝากกันด้วยค่ะ

 

2-3 วันที่ผ่านมา นั่งลงผลด้วยการตรวจดูจากกระดาษ print out ของเครื่องแล้วก็มาจ้องดูผลบนจอ ที่ระบบใหม่นี้เราจะสะดวกสบายขึ้นมากที่เราไม่ต้องมานั่งเช็คชื่อคนไข้ว่า ตรงกับใบสั่งตรวจไหม เพราะทุกอย่างส่งตรงผ่านระบบเลย การทดสอบไหนคนลงมือคีย์สั่งเครื่องตกหล่นเราก็จะเห็นได้เลย แต่จะไม่มีการตกหล่นเพราะเราไม่ได้ลงทะเบียนแบบแต่ก่อน ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำก็คือตรวจดูว่าตัวเลขที่ออกมานั้น สัมพันธ์กับโรคของคนไข้หรือเปล่า ค่าที่ผิดปกตินั้นเป็นการตรวจครั้งแรกที่ควรจะต้องทำซ้ำเพื่อยืนยันหรือไม่ ค่าที่ได้น่าจะมาจากเลือดคนปกติได้ไหม เพราะบางครั้งเราจะพบว่าน้ำเลือดใสๆแต่มีเส้นใยโปรตีนลอยอยู่ที่ไปกวนผลการตรวจ ค่าก็จะสูงต่ำผิดไปจากค่าที่ควรตรวจได้มากๆ อย่างนี้ก็ต้องดูดมาทำใหม่

 

พบว่าตอนนี้ระบบดำเนินไปค่อนข้างดี จุดบกพร่องเล็กๆน้อยๆเราก็ค่อยๆบันทึกบอกกล่าวคุณ กิตติภูมิ โปรแกรมเมอร์คนเก่ง กันไป แต่สิ่งที่เราพบว่าน่าจะเป็นปัญหาก็คือความช้าค่ะ ทางโปรแกรมเมอร์ก็บอกว่าเป็นปกติ แต่เราว่าไม่ปกติแน่ๆค่ะ น่าจะต้องทำการแก้ไข แต่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าปัญหาอยู่ตรงไหนแน่ เพราะมันไม่ได้ช้าตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่จะช้า วันนี้ก็เลยแก้หงุดหงิดระหว่างรอการ response ของแต่ละครั้งที่กด ด้วยการลงเวลาไว้แล้วก็นับดูซิว่านานแค่ไหนกว่าระบบจะตอบสนอง พบว่ากรณีที่เราจะบอกว่านาน ก็คือการที่เราต้องรอมากกว่า 10 วินาที เวลาเร็วสุดที่ถูกใจเราก็คือกดปุ๊บเปลี่ยนปั๊บ แต่เวลาที่มีการ delay บ้างแต่นับได้ไม่เกิน 10 วินาทีเราก็จะไม่รู้สึกรำคาญเท่าไหร่ แต่พบครั้งไหนที่นานกว่านี้ปั๊บเราก็จะเริ่มรู้สึก เพราะหลายๆครั้งที่กดเพื่อจะดูผลเดิมเทียบกับผลปัจจุบัน รอจนลืมไปแล้วว่าจะเทียบค่าไหนเพราะครั้งที่นานๆสุดก็กว่า 20 วินาทีค่ะ แล้วลองคำนวณดูว่าการออกผลแล็บ 600-700 ใบ ช้ารายละ 15-20 วินาทีจะเกิดอะไรขึ้น น่าจะต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและแก้ไขปรับปรุงใช่ไหมคะ เรากำลังหวังว่าคุณโปรแกรมเมอร์คนเก่งของเราจะหาวิธีแก้ไขได้

ระหว่างนี้ก็เลยตั้งใจไว้ว่าพรุ่งนี้จะบันทึกตั้งแต่เริ่มลงผลเลยค่ะว่า เวลาไหนบ้างที่การตอบสนองใช้เวลาเกิน 10 วินาที เผื่อจะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ตรวจสอบได้ว่าสาเหตุน่าจะมาจากอะไรได้บ้าง

ตั้งใจไว้แล้วว่าแทนที่จะร้องเฮ้อ ร้องโอ๊ย เวลารอก็เปลี่ยนมาทำอะไรทางบวกดูบ้าง หวังก็แต่ว่าเวลาที่จะคอยนับจะไม่บวก และ บวก และบวกเพิ่มเท่านั้นเองค่ะ   

หมายเลขบันทึก: 173296เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การทำงานในห้องLabนี่เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งไหมคะ เพราะมีเรื่องเลือดมาเป็นสิ่งส่งตรวจเสียมาก แต่คงมีการป้องกันเต็มที่แล้วนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์โอ๋-อโณ

  • ตามมาให้กำลังใจค่ะ.
  • ระบบที่ทำงานตอนแรกก็วุ่นวายเหมือนกัน
  • ตอนนี้ก็ยังมีบ้าง..ที่ส่งผลมาไม่ตรงกับเครื่องที่ตรวจวิเคราะห์กับระบบ LIS ที่ต้องเก็บปัญหามาปรับปรุงแก้ไข..ทำให้เราต้องรอบคอบขึ้น.
  • แต่ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของงานได้เยอะค่ะ.
  • แต่อาจารย์เยี่ยมมากค่ะ...ที่จัดการกับปัญหาด้วยความคิดเชิงบวก..สุดยอดค่ะ.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท