kapong
นาง ดวงเนตร เอี่ยมหงษ์เหม

เครื่องปั้นดินเผา


กวานอามาน

 

กว่านอาม่าน พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ การปั้นเครื่องปั้นดินเผานั้นเป็นอาชีพชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทางบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก โอ่ง ฯลฯ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 172749เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2008 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • ไม่ทราบว่าแถวๆ สามโคก ยังมีการปั้นหม้อดินเผา อยู่หรือเปล่าครับ
  • เมื่อก่อนที่บ้านพลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นชาวมอญเหมือนกันมีชาวบ้านปั้นหม้อดิน(ตีหม้อ)อยู่ พาแม่บ้านไปทำวิจัยภาคสนามในชุมชน ปรากฎว่าเดี๋ยวนี้ไม่มีใครสืบทอดศิลปะชิ้นนี้ต่อเลยครับ

มีภาพให้ชมตามคำขอแล้วนะคะขอคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมชม

ยังมีการปั้นอยู่ค่ะตามรายละเอียดด้านล่างนี้ค่ะ

ข้อมูล เรื่องราวของผลิตภัณฑ์ (Product Story)หัตถกรรมโอ่งสามโคก เครื่องปั้นดินเผา และอิฐมอญนั้น แต่เดิมทำกันอย่างกว้างขวางในเมืองปทุมธานี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเพณี วัฒนธรรม และการสั่งสมทางภูมิปัญญาส่วนใหญ่ของชาวมอญ อันมีชื่อเสียงในอดีต แทบจะไม่มีใครเห็นแล้วในปัจจุบัน ด้วยวิถีชาวบ้านที่เปลี่ยนไป ความนิยมในเครื่องใช้ และภาชนะที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผาลดลงประกอบกับไม่มีผู้สืบทอดภูมิปัญญา และผู้เฒ่าผู้แก่ก็ได้ล้มหายตายจากกันไป จึงขาดผู้สืบสารตำนานสามโคก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 คุณนิคม บางจริงได้พยายามหาลู่ทางในการประกอบอาชีพ โดยเลือกหาวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น จึงได้เลือกเครื่องปั้นดินเผาสามโคกมาเป็นวัตถุดิบหลัก และได้ใช้เวลาในการคิดค้น และศึกษาอยู่ประมาณ 7 เดือน เพื่อที่จะให้เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับดินเผา และเพื่อให้สินค้ากลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง และจากการที่ได้ไปเห็น "โอ่งเพ้นท์สี" ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของ ของอย่างหนึ่ง และจากการได้เคยเห็น "เครื่องเบญจรงค์" จึงได้กลับมาคิดหาวิธีทำบ้าง แต่ปรับปรุงใหม่โดยใช้เศษผ้าไหมที่มีอยู่คิดทำประดิษฐ์ขึ้นมา เป็นโอ่งประดับด้วยผ้าไหม

และเนื่องจากชาวบ้านไม่มีความชำนาญในการวาดลวดลายไทย เหมือนการทำเครื่องเบญจรงค์ จึงได้นึกถึงผ้าไหม ซึ่งจะมีลวดลายในตัว และประมาณเดือนกันยายน 2544 ได้มีการจัดทำแผนประชารัฐ โดยการจัดให้มีการประชุมประชาคมตำบลขึ้น คุณนิคม บางจริง ได้นำผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" ตัวนี้ไปเข้ารับการจัดทำแผนประชารัฐด้วยที่ประชุมประชาคมตำบลคลองพระอุดม จึงได้มีมติรับขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจสิริ" เป็นสินค้าประจำตำบลคลองพระอุดม และต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบ และลวดลายใหม่ๆ มีทั้งโอ่ง อ่าง แจกัน คณโฑ กรรณน้ำต้น ไห หม้อยา โอ่งทิชชู โคมไฟตั้งพื้น โคมไฟหัวเตียง และรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ จะรู้จักสินค้าภายใต้ชื่อ "Thai Silk Jar" ในปัจจุบันได้มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งไปจำหน่ายทั้งตลาดภายใน และส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยสินค้ามีรูปแบบให้เลือกมากกว่า 200 รูปแบบ มีลวดลาย มากกว่า 100 ลาย และมีสีสรรมากกว่า 10 สี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท