การสะกดนิ้วมือไทย


การสะกดนิ้วมือไทย คือการใช้นิ้วมือทำท่ามือ แทนอักษร สระ วรรณยุกต์ และตัวเลข เพื่อสะกดเป็นคำที่มีความหมายต่างๆ

     ผู้เขียนเคยบันทึกถึงเรื่องการสะกดนิ้วมือมาบ้างแล้ว  บันทึกนี้จะขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกเล็กๆน้อยๆ   เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดวิธีสะกดนิ้วมือ มากขึ้น 

      การสะกดนิ้วมือ ( Fingerspelling )  คือการใช้นิ้วมือทำท่าภาษามือ แทนตัวอักษร สระ วรรณยุกต์  รวมทั้งตัวเลข เพื่อสะกดเป็นคำที่มีความหมายต่างๆ

        การสะกดนิ้วมือไทย   คิดค้นสำเร็จเมื่อพ.ศ.2499 โดย  ใช้วิธีดัดแปลงมาจาก ตัวสะกดนิ้วมืออเมริกัน    ผู้คิดค้นคือ คุณหญิงกมลา  ไกรฤกษ์  ท่านสำเร็จการศึกษา ปริญญาโท วิชาการสอนคนหูหนวก จากมหาวิทยาลัยกาเลาเด็ท  (Gallaudet University)   กรุงวอชิงตัน ประเทศอเมริกา     

 

                                                   ตัวสะกดนิ้วมืออเมริกา  

                                 ASL Fingerspelling ASL Fingerspelling

 

 

 

 

การสะกดนิ้วมือไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้  

ส่วนที่ 1 แบบสะกดตัวอักษร  การเรียงลำดับของอักษรไทย  สระ  วรรณยุกต์ ในภาษามือ จะแตกต่างกับ การเรียงอักษรปรกติ   โดยอักษรภาษามือหรือแบบสะกดนิ้วมือไทย ได้เรียงลำดับตัวอักษรตามลักษณะท่ามือ  ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน  เช่น   ก ข ค และ ฆ    ส่วนอักษรตัวต่อไปเป็นตัว ต ถ ฐ ฒ ฑ ฏ   (ทั้ง 6 ตัวนี้ มีลักษณะท่ามือคล้ายกัน )  ตัว ซึ่งเป็นตัวอักษรสุดท้ายของตนปรกติ     แต่สำหรับคนหูหนวก ตัว จะอยู่ในกลุ่มของ   เป็นต้น ดังนั้นอักษรตัวสุดท้ายของแบบสะกดนิ้วมือไทยคือ ตัว      ตัวสะกดนิ้วมือของคนหูหนวกไทยไม่มีตัว ฃ ฅ เนื่องจากคนหูหนวก พบเห็นตัวอักษร 2 ตัวนี้ น้อยมาก

 

  

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 2 แบบสะกดนิ้วมือ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่นๆ ซึ่งได้จัดเรียงตามลักษณะที่คนหูหนวกเห็นและใช้อยู่ตามปรกติ ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียงลำดับของสระในภาษาไทย 

  

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3 แบบสะกดตัวเลข ซึ่งมีตั้งแต่ 1-10 และตัวเลขหลักสิบ ถึง หลักล้าน  ตามลำดับ 

 

 

 

    

 

 

 

ลักษณะสำคัญของการสะกดนิ้วมือไทยคือ การเคลื่อนไหวต่างๆ  สัญลักษณ์ที่แสดงการเคลื่อนไหว เพื่อแสดงลำดับของของการทำท่าอักษรสะกดนิ้วมือโดยใช้  ลูกศร  (     →          )  โดยกำหนดให้โคนอักษรเป็นท่าที่ 1 และปลายศรลูกศรเป็นท่าถัดไป  ส่วนภาพที่เป็น เส้นประ ( ................  ) หมายถึงการทำท่าเป็นลำดับแรก

     

      การสะกดนิ้วมือ ผู้ใช้ควรแสดงอาการให้งดงาม โดยไม่ยกแขนเกะกะ  ให้มีจังหวะคล้ายการพูดที่มีการเว้นวรรคตอน  มีการเว้นระยะหายใจ ไม่ทำเร็วจนเกินไป   หากในประโยคที่แสดงอาการนั้นจะต้องใช้คำที่มีการสะกดนิ้วมือร่วมด้วย  ผู้ใช้ภาษามือควรสะกดคำให้ช้าและถูกต้อง เพื่อความชัดเจน และให้คู่สนทนาได้มีเวลาอ่านทันด้วย 

 

         คนหูหนวกส่วนใหญ่ใช้การสะกดนิ้วมือ เมื่อกล่าวถึง บุคคล ชื่อเฉพาะ ชื่อย่อ และสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย  ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและชัดเจนค่ะ

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง 

  การสะกดนิ้วมือไทย จัดทำโดย ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนหูหนวก

       

หมายเลขบันทึก: 172213เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • เย้ๆๆ
  • รอเรียนอยู่พอดี
  • ได้คำว่า ควายแล้วครับ
  • อิอิๆๆ
  • เป็นประโยชน์มากเลยครับ
  • จะขอไปแนะนำให้คนที่สนใจมาอ่านนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะ อ. ขจิต ที่เคารพ
  • ปลื้มใจค่ะ  อาจารย์สนใจ เข้ามาเรียน
  • คำว่าควาย ที่เห็น เป็นการสะกดนิ้วมือ  ยังมีท่าภาษามือ อีกนะคะ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ อิอิ
  • ขอบคุณมากค่ะ

อ.ขจิต เรียนรู้เร็วครับ  ฮ่าๆๆ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่นำเสนอสิ่งดีๆนะคะ

ยากเหมือนกันนะคะ ฝึกจนเมื่อยมือเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

อยากใช้ภาษามือเป็นบ้าง แต่ท่าทางยากเหมือนกันนะคะ

  • สวัสดีค่ะ คุณ  สิทธิรักษ์
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม
  • เอะ....มาแซวอ.ขจิต เหรอคะเนี่ย....ฮ่าฮ่า
  • สวัสดีค่ะ คุณองศาที่แตกต่าง
  • สะกดนิ้วมือ ค่อนข้างยาก กว่าการใช้ภาษามือ
  • แต่เราต้องใช้ประกอบการสะกดคำ ที่ไม่มีภาษามือ        หรือคำบางคำที่ต้องการให้เด็กเขียนได้ถูกต้องค่ะ
  • ใช้บ่อยๆ ก็จำได้ค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะ
  • ตามมาขอบคุณแหมคุณหมีแพนดาแซวเราด้วย
  • รออาจารย์เขียนอีกชอบๆๆ
  • ลองตอบการฟังดูก็ได้นะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์ จันทวรรณ
  • แวะเข้าไปดูแล้วค่ะ
  • น่ารักจัง เหมาะกับคุณแม่ มือใหม่เลยนะคะ
  •  ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณ jaewjingjing
  • สมัยที่มาสอนใหม่ๆ ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน แต่ก็ฝึกใช้บ่อยๆ  
  • ในห้องเรียนทุกห้อง  จะติดตัวสะกดนิ้วมือไว้  เวลาสอนๆไปถ้าลืมก็เหลือบๆตาดูบ้างค่ะ 
  • ขอบคุณค่ะที่สนใจเข้ามาดู

อู้หู ! ยากจังเลย ทำไงจำได้เนี่ย คงต้องลองสะกดคำว่า "ควาย" เหมือน อ.คะจิด แล้วล่ะ เพราะตอนเรียน มัธยม คุณครูเคยให้ไปนำเสนอหน้าชั้นเรียนบอกว่า ให้เลือกสัตว์ที่ตัวเองอยากเป็น ผมเลือกอยากเป็น "ควาย" ครับ ปัจจุบันก็ยังคิดเหมือนเดิม เผื่อบางทีได้นำเสนอให้ นร.หูพิการ ได้รับฟังบ้าง

และขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณหมอเล็ก
  • การสะกดนิ้วมิอ  ค่อนข้างยาก แต่เด็กหูหนวก ถ้าได้รับการสอนเรื่อง การสะกดนิ้วมือ เขาจะจำได้ เพราะเป็นภาษาของเขาค่ะ
  • ต้องใช้บ่อยๆค่ะ จะจำได้เองค่ะ  ขอบคุณ

สวัสดีค่ะอ.ณัฐยา

  • ตามมาเยี่ยมบ้านอ.ณัฐยาค่ะ
  • ได้ความรู้มากมายค่ะ แต่ยากเหมือนกัน ต้องฝึกต่อ
  • อ.ณัฐยาโชคดีนะคะได้ช่วยเด็กที่เขาด้อยโอกาสกว่าเด็กธรรมดา ชื่นชมค่ะ
  • แล้วจะมาเยี่ยมใหม่ค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณ คนไม่มีราก
  • ต้องฝึกทำบ่อยๆ ค่ะ ก็จะจำได้ จริงๆ ตัวสะกดพวกนี้ เราจะมีติดไว้ในห้องเรียนทุกห้อง  จำไม่ได้ ก็ดูได้ค่ะ เพราะเด็กหูหนวกเขาก็มีลืมเหมือนกัน   ครูก็มีลืมบางครั้ง เหมือนท่อง ก.ไก่ บางทีก็ลืม ท่องได้ไม่ครบ 
  • ขอบคุณค่ะ และยินดีมากที่แวะมาเยี่ยม

ขออนุญาต Add Favorite บันทึกของอาจารย์ไว้นะคะ

หลานชายก็พูดไม่ได้ค่ะ อุบัติเหตุเมื่อแรกเกิด

  • สวัสดีค่ะ คุณ ดาวลูกไก่
  • หากหลานชายพูดไม่ได้ คุณดาวลูกไก่ ต้องพาไปหาหมอ เพื่อประเมิน ตรวจวัดระดับการได้ยินนะคะ (ไม่ทราบอายุเท่าไหร่แล้วคะ) บางคนอาจมีการได้ยินหลงเหลืออยู่ และหากช่วยเหลือได้ถูกทาง อาจไม่ต้องใช้ภาษามือนะคะ อาจเรียนร่วมได้น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

หลานชายเกิดมาปกติค่ะ แต่ รพ. ทำพลาด เด็กปอดแตก ต้องรักษาด้วยยาที่เข็มละสามหมื่น เจอไปสองเข็ม แต่เป็นยาที่หมอบอกว่า ถ้ารอด เด็กจะมีไซต์เอ็ฟเฟ็กอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 อย่าง คือ 1. โง่ 2. ตาบอด 3. หูหนวก ค่ะ หลานเจอข้อสาม ตอนนี้ 9 ขวบ ผ่าตัดรากประสาทหูใส่เครื่องช่วยฟัง เมื่อ 7 ขวบค่ะ เรียนร่วมกับเด็กปกติ หัดพูดแต่ยังไม่ค่อยได้ ยังต้องใช้ภาษามือกันค่ะ แล้วหลานก็ใช้คล่อง(เลยไม่ชอบหัดพูด) ตามไม่ค่อยทันค่ะ

ที่ทำงานหอสมุดเห็นความสำคัญเรื่องนี้ ส่งเจ้าหน้าที่งานบริการไปฝึกเรียนภาษามือด้วยค่ะ เพราะเราจัดห้องพิเศษให้บริการสำหรับผู้บกพร่องทางร่างกายด้วยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ คุณดาวลูกไก่
  • จริงๆ จากประสบการณ์ที่อยู่กับเด็กหูหนวกมา  ครูนัดอยากให้ หลานชายคุณดาวลูกไก่ ฝึกการพูด การใช้ภาษาให้มากๆค่ะ คือใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด ใช้ภาษามือให้น้อยๆ เพื่อที่ว่า เด็กจะได้สื่อสารกับ คนปกติได้ด้วย 
  • ทางร.ร. ถ้าเด็กคนไหน พอพูดได้ เราจะมีครูฝึกพูด ฝึกเด็กให้ออกเสียงให้ถูกต้องค่ะ  ทั้งฝึกพูด การออกเสียง ฝึกให้เด็กฟัง ฝึกให้เด็กอ่านริมฝีปาก เพื่อให้เด็กใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด
  • ครูนัดเสียดายค่ะ ถ้าหลานคุณดาวลูกไก่ พอจะพูดได้ แต่มาใช้ภาษามือ เพราะนานๆ ไป เด็กจะไม่ยอมพูดน่ะค่ะ
  • พยายามพูดกับหลานบ่อยๆค่ะ ไม่ต้องใช้ภาษามือค่ะ พูดช้าๆ ให้หลานมองหน้าเรา   ดูปากเรา และเราก็พยายามใจเย็นๆ ฟังหลานเวลาพูดกับเราด้วย

 

เห็นด้วยจริงๆ ค่ะ แต่เพราะหลานกลายเป็นเด็กที่หงุดหงิดง่าย โมโหเก่ง เกิดเพราะพวกเราสงสาร เลยตามใจมากมายค่ะ โมโหทีไร ได้ภาษามือไวกว่าจะพูดค่ะ ก้พยายาม อดทน ในที่สุดคงจะดีขึ้นนะคะ

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ ขอให้มีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง สดชื่นแจ่มใสครับ

แวะมาทักทายนะครับ โรงเรียนเปิดเทอมหรือยังครับ ที่อนุบาลปางมะผ้า ใกล้เปิดแล้วครับ แต่คุณครูมาทำงานกันตั้งวันที่ 20 กว่า ๆ แล้วครับ

สวัสดีค่ะ อ.นัด

  • ไม่ได้มาเยี่ยมเสียนานค่ะ
  • คิดถึง  อาจารย์สบายดีนะคะ

เรียน อ.นัด

ขอบคุณมากค่ะ ชอบมากๆเลยค่ะ

แต่คงต้องฝึกเยอะแยะเลย

จะมาแวะมาเยี่ยมใหม่นะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท