การศึกษาของฟินแลนด์


แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ การศึกษา ฟินแลนด์

                ผมได้อ่านบทความของคุณ แจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ   แล้วเห็นว่าหากประเทศไทยของเรามีโอกาสที่จะนำสิ่งที่ดีของประเทศฟินแลนด์ในเรื่องการศึกษา มาปรับใช้ได้จริงในประเทศไทยคงจะมีคนที่เก่งระดับโลก เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ผมยังมีความเชื่อว่าคนไทยนั้นความสามารถไม่แพ้ใครในโลก  

                เพียงแต่ต้องให้คนไทยรู้จักการทำงานเป็นทีม ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 

                ในความฝันของผม ถ้าผู้ใหญ่ที่อยู่ในตำแหน่งบริหารที่สำคัญของประเทศไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลกี่รัฐบาลก็ตาม เห็นความสำคัญของทรัพยากรบุคคล ก็หน้าจะมีการดำเนินนโยบายทางด้านการศึกษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  

             ลองมาติดตามอ่านเนื้อหากันที่

http://www.businessthai.co.th/content.php?data=412889_The%20Competition

       

               

               

                

หมายเลขบันทึก: 171966เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นางสาวเบญจพร เปลี่ยวจิตร์

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี โดยในระยะแรกศาสนจักรเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาทั้งหมด จนกระทั่งในปี 1866 ระบบโรงเรียนที่ดำเนินการโดยรัฐก็ถือกำเนิดขึ้น หลังจากนั้นในอีก 3 ปีให้หลัง ภาระหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนก็เปลี่ยนมือจากศาสนจักรมาเป็นของรัฐ จนกระทั่งฟินแลนด์ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1917 รัฐธรรมนูญของฟินแลนด์ (1919) ก็ให้การรับรองสิทธิในการจัดตั้งโรงเรียนของประชาชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ระหว่างช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นโยบายการศึกษาของฟินแลนด์มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การยกระดับการศึกษาของประเทศ รวมทั้งการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันสำหรับประชาชนทุกคน เมื่อโรงเรียนและสถาบันการศึกษาระดับต่างๆ ครอบคลุมไปทั้งประเทศจนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนแล้ว ในระยะหลังนโยบายทางด้านการศึกษาของฟินแลนด์จึงเบนเป้าหมายมาสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในระบบการศึกษาโดยรวมและทางเลือกของแต่ละคน

เพราะแม้ว่าฟินแลนด์จะมีหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติเป็นแกนกลางในการจัดการศึกษา แต่หลักสูตรแห่งชาติก็เป็นเพียงแนวทางที่ครอบคลุมความหลากหลายในการจัดการศึกษาเท่านั้น หน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับท้องถิ่นหรือสถานศึกษา สามารถกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนของตนภายใต้กรอบที่วางไว้ได้ โดยครูผู้สอนจะเป็นผู้เลือกกระบวนการวิธีการสอนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตร ดังนั้นแต่ละโรงเรียนในแต่ละท้องที่จึงมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน

สำหรับการศึกษาภาคบังคับที่รัฐกำหนดขึ้นในปี 1921 ก็เป็นไปในลักษณะของการตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาของประชาชน มิใช่จำกัดอยู่เพียงแค่การบังคับให้ประชาชนเข้าโรงเรียน เพราะรัฐมีจุดมุ่งหมายให้ช่วงวัยดังกล่าวเป็นช่วงวันที่ประชาชนได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถพัฒนาประชากรของฟินแลนด์ได้โดยไม่จำกัดวิธีการ ดังจะเห็นได้จากกฎหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รับรองการจัดการศึกษาตามแนวคิดอุดมการณ์ วัฒนธรรม และความจำเป็นของท้องถิ่นต่างๆ

ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมีสิทธิในการจัดการศึกษาให้กับลูกหลายที่บ้านได้โดยไม่ต้องนำลูกหลานไปเข้าโรงเรียน ซึ่งเด็กชาวฟินแลนด์ที่ได้รับการศึกษาจากที่บ้านเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 282 คน ในปี 2004 เป็น 332 คน ในปี 2005 และ 350 คน ในปี 2006 ตามลำดับ

ขณะที่โรงเรียนที่เป็นการศึกษาทางเลือกก็เติบโตขึ้นมาพอสมควร อาทิ โรงเรียน Christian School เป็นโรงเรียนของวัดที่เปิดการเรียนการสอนสำหรับผู้ที่มีความเชื่อถือศรัทธาในศาสนาคริสต์ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่ง ซึ่ง 7 แห่งดำเนินการโดย Christian School Foundation ของท้องถิ่น และอีก 4 แห่งดำเนินการโดย Finnish Adventist Church

และโรงเรียนแนว Waldorf ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น 17 แห่ง ที่แม้ว่าจะต้องผ่านการต่อสู้เรียกร้องสิทธิทางด้านการศึกษาจากบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองมาตั้งแต่ปี 1981 แต่ที่สุดแล้วรัฐก็ออกกฎหมายให้การรับรองและสนับสนุนทางการเงินแก่โรงเรียนเอกชนที่ใช้ระบบการศึกษาซึ่งเป็นที่ยอมรับในทางสากลขึ้นมาในปี 1991 ทำให้โรงเรียนวอลดอร์ฟได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐในที่สุด

จะเห็นได้ว่าแม้ระบบการศึกษาทางเลือกอย่างเป็นทางการจะมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับการศึกษาทั้งระบบ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นอย่างมากของระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ อีกทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปยังสามารถจับมือกับหน่วยงานในท้องถิ่นในการกำหนดแนวทางและจัดการด้านการศึกษาให้กับชุมชนของตนเองได้ด้วย

ประกอบกับระบบการศึกษาของฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับผู้เรียนทั้งในแง่การเรียนการสอนและชีวิตความเป็นอยู่ จึงทำให้ระบบการศึกษาของฟินแลนด์เป็นที่ยอมรับอย่างมากของประชาชนและมีความก้าวหน้าโดดเด่นเป็นแบบอย่างในทางสากล จนสามารถรั้งตำแหน่งจ่าฝูงทางด้านการศึกษาของโลกมาได้อย่างเหนียวแน่น

เรียบเรียงจากงานวิจัย เรื่อง การศึกษาทางเลือกในนานาประเทศ โครงการศึกษาวิจัยการศึกษาทางเลือกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท