ทบทวนตนเอง...Recovery Model รพ.ศรีธัญญา


ประทับใจผู้อำนวยการของรพ.ศรีธัญญา ที่สร้างโอกาสพัฒนาตนเองแก่บุคลากรหน่วยกิจกรรมบำบัด โดยผมได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานนี้เป็นครั้งที่สอง

สถาบันแห่งนี้ เป็นที่แรกที่ทำให้ผมเรียนรู้การเป็นวิทยากรบรรยายเชิงปฏิบัติ หลังจากรับตำแหน่งอาจารย์ของคณะฯ และเมื่อวานผมได้กลับมาเยี่ยมด้วยความมุ่งมั่นที่จะนำความเชี่ยวชาญเฉพาะทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ด้วยความชื่นชมจากพี่ๆเจ้าหน้าที่ที่เคยฟังบรรยายครั้งก่อนไปเรียน ป. เอก ทำให้ผมกลายเป็นวิทยากรหน้าอ่อนเจี๊ยบเจี๊ยบ (พี่คนหนึ่งตั้งฉายาให้) แต่ความรู้ลึกซึ้งแบบสร้างแผนทำงานแก่ผู้ปฏิบัติได้ในหนึ่งวัน ขอบคุณ G2K ที่ทำให้ผมพัฒนากระบวนการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติในหน่วยงานนอกคณะฯ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

ยอมรับว่า ค่อนข้างยากทีเดียวที่จะนำ Recovery Model ที่มีแนวคิดง่ายๆ ตามสไตล์สากล แต่อาจจะต้องมาปรับตามสไตล์คนไทยด้วยหลากหลายวิธีการ เช่น ปรับแนวคิดจากการทบทวนตนเอง ปรับแนวคิดด้วย Group Dynamic ปรับแนวคิดด้วย Case study และระดมสมองการบันทึกรายงานจากการมองภาพรวมศุกยภาพของผู้รับบริการมากกว่าการมองปัญหาทางจิตและสังคมอย่างเดียว

ลองมาดูแนวทางที่ได้ข้างล่างครับครับ

แนวทางการสังเกตผู้รับบริการตามรูปแบบ Recovery Model

 

 ผู้ปฏิบัติการระบุ มี หรือ ไม่มี ตามหัวข้อต่อไปนี้ ในแบบบันทึกรายงานกิจกรรมกลุ่มบำบัด

 

1.      ผู้รับบริการเข้าใจความสำคัญของการทำกิจกรรมกลุ่ม

2.      ผู้รับบริการเข้าใจความเจ็บป่วยและความสามารถในการทำกิจกรรมกลุ่ม

3.      ผู้รับบริการมีโอกาสเลือกประเภทของการทำกิจกรรมกลุ่ม

4.      ผู้รับบริการมีเป้าหมาย มีกำลังใจ และแสดงความคาดหวังในการทำกิจกรรมกลุ่ม

5.      ผู้รับบริการสามารถนำประโยชน์ของการทำกิจกรรมกลุ่มไปใช้ต่อในชีวิตจริง

6.      ผู้รับบริการพัฒนาทักษะด้วยความสามารถพิเศษหรือความถนัด

7.      ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจและมีความสุขในการทำกิจกรรมกลุ่ม

8.      ผู้รับบริการมีความหวังที่จะพัฒนาตนเองในระยะเวลาที่เหมาะสม

9.      ผู้รับบริการแสดงทักษะการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมกลุ่ม

10. ผู้รับบริการแสดงทักษะการสื่อสาร สัมพันธภาพ และการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมกลุ่ม

 

การบันทึกระดับการให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการ เฉพาะหัวข้อที่ระบุว่า ไม่มีคิดเป็น % จาก 0 ถึง 100 เช่น ต้องช่วย 60% และผู้รับบริการแสดงความสามารถแค่ 40% ในกิจกรรมเกษตร ทำให้พิจารณาว่า ไม่มีหัวข้อ 1 คือ ผู้รับบริการไม่เข้าใจความสำคัญของการทำกิจกรรมกลุ่ม

 

หมายเลขบันทึก: 171802เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เย้ๆๆๆ
  • ตามมาเชียร์วิทยากรหน้าเจี๊ยบๆๆ
  • ทำบ่อยๆเดี๋ยวก็ชำนาญและชิน
  • การอบรมเชิงปฎิบัติการดีกว่าการบรรยายอย่างเดียว
  • ค่อยๆปรับให้เข้ากับบริบทของบ้านเรานะครับ
  • ดูว่า ตรงไหนเด่น ตรงไหนด้อย ค่อยๆประเมินจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  • สู้ๆๆๆครับ

ขอบคุณมากครับพี่อาจารย์ขจิต หน้าใสๆ

อาจารย์น้องป๊อป

Dr.Pop ค่ะ พอจะทราบไหมค่ะว่า กิจกรรมบำบัดของ รพ.ศรีธัญญา นั้น ให้คนนอกไปร่วมทำกิจกรรมด้วย ได้หรือไม่ หรือมีคำแนะนำไหมค่ะ ว่าจะติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหน ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณอ้อม ไม่แน่ใจว่าคนนอกจะเข้าไปร่วมทำกิจกรรมบำบัดได้หรือไม่ แนะนำให้ติดต่อคุณโม นักกิจกรรมบำบัด รพ.ศรีธัญญา 08-981-56703

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท