ทุนสาธารณะ (Public Capital)


การที่จะบอกว่าทุนใดเป็นทุนสาธารณะ ((Public Capital)) หรือทุนส่วนตัว/เอกชน (Private Capital) นั้นก็ต้องอาศัยการเสียสละ การมีจิตสาธารณะ และสำนึกถึงต้นตอของทุนที่ตนเองครอบครองอยู่นั้นว่าเป็นมาอย่างไร อันนี้ก็อาศัยการทบทวนตัวเองได้เท่านั้น จากทุนส่วนตัว/เอกชนก็จะเป็นทุนสาธารณะได้

     นานมาแล้วได้เคยอ่านเจอที่ ดร.ฉวีวรรณ สายบัว เขียนไว้ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ คอลัมน์เศรษฐกิจระบบสารสนเทศ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2546 เรื่องทุนทางสังคม โดยท่านบอกว่าในบ้านเราเองก็มีการกล่าวอ้างหรือพูดถึง "ทุนทางสังคม" (Social Capital) กันมาก โดยเฉพาะในหมู่นักสังคมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์สถาบัน นักวิชาการ/ปัญญาชนอื่นและคนทำงานกับสังคม GOs และประชาชนคือบรรดาคน NGOs ทั้งหลาย โดยการกล่าวอ้างหรือพูดถึงทุนทางสังคมมักเป็นไปในทำนองว่าบ้านเรา/ประเทศไทยเรามีทุนทางสังคม หรือมีทุนทางสังคมสะสมเอาไว้มาก (Stock of Social Capital) และเรียกร้องให้มีการส่งเสริมการลงทุนในทุนทางสังคมกันให้มาก (Social Capital Investment)

     สำหรับเรื่องทุนที่ว่าผมมักจะเน้นทุกทุน ที่เป็นทุนสาธารณะ (Public Capital) ซึ่งหมายถึงทุนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เพื่อใช้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Utilization) ร่วมกัน ความเชื่อในเรื่องนี้จนทำให้ผมสนใจเรื่องการทำแผนที่ทุน (Capital Mapping) ดังภาพแผนที่ความคิดที่เห็น อะไรคือทุนสาธารณะบ้าง เป็นประเด็นที่น่าคิด ผมเพียงนึกขึ้นมาได้ว่ายังมีอีกมากที่เป็นทุนสาธารณะ เพียงแต่เราอาจจะยังให้ความสำคัญไม่ถึง หรืออาจจะละเลยไปอีกหลายส่วน เอาเพียงสักเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวอย่างลึก ๆ ที่จะให้เห็นว่าเป็นทุนสาธารณะด้วย สิ่งนั้นที่ว่าคือ "ความคิด ประสบการณ์ และปัญญา" ของคน เพราะการที่คน ๆ หนึ่งจะเกิดความคิดดี ๆ คงจะต้องอาศัยประสบการณ์ และก่อเกิดเป็นปัญญาได้นั้น คน ๆ นั้นได้เสพเอาข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ และปัญญาของคนอื่น หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รายรอบตัวเอง หากที่ต้องเสียทรัพย์เพื่อให้ได้มาก็มีอยู่ไม่น้อย แต่เชื่อว่าน้อยกว่าที่ได้มาโดยไม่ได้เสียทรัพย์อะไรไปเป็นการส่วนตัว ฉะนั้นสิ่งนี้จึงควรเป็นทุนสาธารณะ

(คลิ้กเพื่อดูภาพขยาย หรือดาวน์โหลดไปได้เลย)

     การที่จะบอกว่าทุนใดเป็นทุนสาธารณะ ((Public Capital)) หรือทุนส่วนตัว/เอกชน (Private Capital) นั้นก็ต้องอาศัยการเสียสละ การมีจิตสาธารณะ และสำนึกถึงต้นตอของทุนที่ตนเองครอบครองอยู่นั้นว่าเป็นมาอย่างไร อันนี้ก็อาศัยการทบทวนตัวเองได้เท่านั้น จากทุนส่วนตัว/เอกชนก็จะเป็นทุนสาธารณะได้ และหากเมื่อพิจารณาในเชิงเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ก็จะมองผลตอบแทนของทุนที่เป็นทุนสาธารณะคือสวัสดิการ และผลตอบแทนของทุนส่วนตัว/เอกชนก็คือดอกเบี้ย มาถึงตรงนี้มีเรื่องอีกยาวที่จะเกี่ยวข้องและโยงถึง แต่จะขอทิ้งประเด็นไว้เพียงนี้ว่า การจัดสวัสดิการชุมชนในเรื่องต่าง ๆ ของแต่ละชุมชน/แต่ละประเด็น หากได้มาจากการทำแผนที่ทุนในขั้นต้นเสียก่อน จากนั้นคิดหาวิธีการใช้ประโยชน์จากทุนนั้นในส่วนที่เป็นทุนสาธารณะให้เกิดสวัสดิการสูงสุด

     กรณีตัวอย่างที่จะยกขึ้นคือการที่ ศวพถ.ได้ไปช่วยเพื่อนของเราที่บ้านวังเลน ในการประชุมสัญจรของคณะกรรมการบริหาร เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2551 ที่ผ่านมา เราพบว่าบ้านวังเลนมีกองทุนและกิจการของชุมชนในเรื่องต่าง ๆ มากมาย นับรวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้าน (เพียงหมู่บ้านเดียว และนับเฉพาะกองทุนหรือกิจการเท่านั้น) ซึ่งที่นี่ไม่ได้มีการทำแผนที่ทุนมาก่อน พอเริ่มคิดก็เริ่มเห็น บวกกับที่บ้านวังเลนมีเขื่อนวังเลนที่ตอนนี้ได้สูญเสียความมั่นคงทางด้านอาหารของชุมชนไปแล้ว ไม่เพียงเท่านั้น ยังทำให้เกิดน้ำเสีย คนต้นน้ำใช้ประโยชน์ไม่ได้ คนปลายน้ำก็ได้รับผลกระทบ คนที่ได้รับผลประโยชน์กลับกลายเป็นบริษัทที่ขายอาหารปลากระชัง ซึ่งไม่ทราบว่าบ้านเขาอยู่ที่ไหน ที่แน่ ๆ เขาไม่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำจากเขื่อนนี่เลย การใช้เครื่องมือคือการทำแผนที่ทุน ต่อด้วยการสร้างประเด็นร่วมเพื่อการจัดสวัสดิการชุมชนรวม นำไปสู่ความพร้อมเพรียงของการมองประเด็น "ความมั่นคงทางอาหารและน้ำ" ได้สูญเสียไปมากแล้ว น่าจะเป็นหนทางในการแก้ไขและฟื้นฟูเขื่อนวังเลนแห่งนี้ให้กลับมาดั่งเดิมได้ในที่สุด

     บันทึกนี้เป็นการเชิญชวนให้เรามาช่วยกันทำแผนที่ทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพอเพียงของการพัฒนา ที่จะเป็นการพัฒนาอย่างแท้จริง ไม่ใช่การพัฒนาเบื้องหน้าที่ได้ทิ้งการทำลายล้างไว้เบื้องหลังอยู่ร่ำไปอย่างทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 171791เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2008 02:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องชายขอบ

ทุน...."ความคิด ประสบการณ์ และปัญญา"

พี่นำ ทุน...."ความคิด ประสบการณ์ และปัญญา" ไปใส่ไว้ในเมล์ ดร.สมหมาย แล้ว เห็นพูดอยู่แต่เรื่องนี้เจอทีไร

สวัสดีครับครูนง พี่บ่าวที่นับถือ

     ครับขอบคุณมากครับที่ช่วยกระจายข่าวสาร ฝากให้ถึง ผศ.สุจารี ด้วยสิครับ 
     ทุนความคิด ประสบการณ์ และปัญญา เมื่อนำออกมาแชร์กัน ก็จะกลายเป็นทุนสาธารณะทันที ทั้งทีเดิมเป็นทุนส่วนตัว มองที่ประโยชน์ก็ต่างกันมาก ฉะนั้นการ Add Value ให้ทุนนี้ ทางหนึ่งที่ง่ายมากและใช้ประโยชน์ได้เร็วคือ การ ลปรร.กัน ต่อจากนั้นต่างคนต่างแยกย้ายกัน แล้วนำกลับไปต่อยอดของตนเอง หากมีประเด็นใดเป็นประเด็นร่วมก็ร่วมกันวางแผนและปฏิบัติการต่อ
     เอาเท่านี้ก่อนนะครับ
     ยังอยากเห็นการต่อยอดเรื่องนี้อีกเยอะเลยครับ

สวัสดีคะ คุณชายขอบ

ขอเก็บเกี่ยวแนวคิดไปคิดต่อด้วยคนนะคะ

ขอบคุณมากคะ

---^.^---

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท