4 วิธีคิดให้ขำ


อารมณ์ดียิ้มย่องผ่องใส

กลับจากไปหาหมอที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน รีบกลับมาเขียนบันทึกที่ได้จากการอ่านวารสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2551 เกร็ดสุขภาพ : วัยสูงอายุ เพราะอ่านแล้วเข้ากับความรู้สึกของตัวเอง ไม่ใช่ว่าเพราะตัวเองแก่แล้วนะ แต่เกิดจากชะตากรรมที่ตนได้ประสบจากอุบัติเหตุ จนข้อมือซ้ายแตกต้องเข้ารับการผ่าตัด มีแผ่นแสตนเลสน์อยู่ภายในและมีสกรูดามภายนอกผิวหนัง 4 จุด เพื่อยึดแผ่นแสตนเลสน์ที่อยู่ภายใน จึงทำให้ชีวิตติดขัดในการทำงานเขียนบันทึก แต่พอมาได้อ่าน 4 วิธีคิดให้ขำ เกิดความสบายใจขึ้นมาบ้าง จึงอยากเขียนเรื่องที่อ่านมาเล่าสู่กันฟัง

4 วิธีคิดให้ขำ

อารมณ์ดีสร้างได้ง่ายๆที่ตัวเราเอง ไม่ว่าความทรงจำชวนหัว จินตนาการอันบรรเจิดต่างก็เป็นที่มาของเสียงหัวเราะ ต่อไปนี้คือวิธีการคิดให้ขำที่คุณอาจไม่เคยรู้

1. ปล่อยความคิดโลดแล่นโดยไม่เซ็นเซอร์ เคยไหมที่เห็นหน้าใครคนหนึ่งแล้วอยากใส่หนวดให้เขา แต่พอเริ่มอมยิ้มในใจกลับล้มเลิกความคิดนั้นเสีย เพราะรู้สึกว่าปล่อยความคิดให้ไร้สาระเกินไป คราวหน้าลองปล่อยจินตนาการแบบนี้โลดแล่นโดยไม่ต้องเก็บกดเอาไว้ จะปล่อยเสียงหัวเราะออกมาด้วยก็ได้ ไม่มีใครรู้หรอกว่าเราคิดอะไรอยู่

2. เชื่อมโยงเหตุการณ์จริงเข้ากับสถานการณ์ชวนขำ อาจลองสวมบทเป็นคนอื่นดูเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เครียดกดดัน ให้คิดเสียว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นเพียงละครฉากหนึ่งเท่านั้น ทุกคนเป็นเพียงตัวละครตัวหนึ่ง และกำลังจะเกิดเหตุการณ์ชวนขันขึ้นในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า เช่น ขณะรถติดก็อาจคิดว่ากำลังติดอยู่ในใยแมงมุมยักษ์ แค่นี้ก็ลดความเครียดลงได้เยอะเลย

3. คิดถึงเรื่องตลกของตัวเองในอดีต คนเราทุกคนต่างเคยแสดงบทตลกโดยไม่ได้ตั้งใจกันมาแล้วทั้งนั้น ว่างๆลองเรียกความทรงจำดีๆ เหล่านั้นกลับมาฉายให้ตัวเองดูอีกสักครั้ง อารมณ์จะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

4. มีบอร์ดเขียนข้อความติดไว้ในบ้านหรือที่ทำงาน บอร์ดเขียนข้อความที่มักเอาไว้จดตารางงานหรือข้อความเครียดๆ สามารถนำมาช่วยสร้างความคิดขำขันได้อย่าดี ลองแขวนไว้ในบ้านหรือที่ทำงานสักแผ่น แล้วแลกเปลี่ยนกันเขียนมุกตลกทิ้งไว้บนกระดาษวิธีนอกจากจะได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างพี่ๆน้องๆแล้ว รับรองว่าจะได้ไอเดียใหม่ๆ ให้ได้ขำกันทั้งวัน

ใครถนัดวิธีไหนเลือกได้ตามสบาย ยิ่งได้คนในบ้านหรือที่ทำงานร่วมขบวนการด้วยยิ่งดีใหญ่ เพราะถือเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความสุข

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ#หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 171717เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2008 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ อาจารย์ทวิช :)

  • อาจารย์มีความมุ่งมั่นในตนเองสูงนะครับ
  • ผมเชื่อว่า อาจารย์มีความเข้าใจการใช้ BLOG ได้ดีมากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ
  • ผมขอให้พระคุ้มครองอาจารย์ให้อาจารย์หายเร็ว ๆ นะครับ

ขอให้กำลังใจมาก ๆ ครับ :)

อ่านแล้วคะ ดีจังคะ จะได้นำไปใช้ เวลาชีวิตติดขัด

ขอบคุณคะ

สวัสดีครับ คุณ Wasawat Deemarn

ขอบคุณมากครับ คุณ Wasawat Deemarng ที่เขียนให้กำลังใจ ประชุมครูเสร็จตอนกลางวัน รีบมาเปิดดู gotoknow เลยครับ ผมพยายามตั้งใจเขียนบันทึกตามคำแนะนำของคุณ Wasawat Deemarn ครับ

ขอให้รับประทานอาหารกลางวันให้อร่อย นะครับ

สวัสดี ครับ และขออนุญาตไปกินข้าวกลางวันก่อน ตอนบ่ายติดประชุมของโรงเรียน ตอนเย็นๆ จะเขียนบันทึกต่ออีกครับ

สวัสดีครับ คุณดอกแก้ว

ขอบคุณมากครับ ที่เขียนมาชม หากมีเรื่อราวอีกผมจะเขียนไปบอก ครับ และจะเปิดดู www. ของคุณดอกแก้ว ครับ

ขอให้มีความสุข ครับ

วิช

วิธีนี้ไม่เคยลอง แต่น่าลอง

ได้ผลยังไง จะเขียนมาเล่า

แต่ก็คิดว่าขออย่าเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องใช้วิธีนี้เลยค่ะ

เพราะอยากให้ชีวิต สบายๆ ไม่เครียด

ขอให้หายเร็วๆนะคะ

สวัสดีครับ อ.อรริสา

ขอบคุณมากครับ ที่เขียนมาให้กำลังใจ อาจารย์สุขสบายดีนะครับ งานของอาจารย์กิตตินันท์เป็นอย่างไรบ้างครับ หวังว่าขยันเขียนบันทึกนะครับ

ขอให้มีความสุขนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

อารมณ์ดีแล้วเห็นอะไรก็สดใสไปหมดเลยนะครับ

แล้วจะเอาคำแนะนำจากอาจารย์ไปใช้ดูครับ

รักษาสุขภาพด้วยนะครับอาจารย์ ^^

ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆค่ะ กะว่าจะเอาไปลองทำดูค่ะ.....ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท