มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เคล็ดลับการเขียนวิทยานิพนธ์บทสุดท้าย: สรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ


วันนี้มี meeting ประจำสัปดาห์กับอาจารย์ที่ปรึกษา

เราคุยแก้งานของบทที่ 6 เสร็จแล้ว ท่านก็สอนวิธีเขียนบทที่ 7 ซึ่งเป็นบทสุดท้าย นั่นคือ

สรุป อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ

ผู้เขียนถามอาจารย์ว่า มี outline  อยู่นะ จะวิ่งไปเอาที่โต๊ะมาให้ดูมั้ย (เพราะเขียนไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะเพิ่มบทที่ 6 มา) อาจารย์ตอบทันควันว่า ไม่ต้อง แล้วก็หัวเราะ

อาจารย์บอกว่า มาลองวิธีที่ไอกำลังจะบอกยู ลืม outline เก่านั้นไปเลย

อาจารย์บอกว่าให้กลับบ้านไปนั่งที่มุมโปรด หยิบปากกากับกระดาษไปแค่นั้นพอ

แล้วให้

1. คิดย้อนอดีตว่าไอ้งานวิจัยที่ทำอยู่นี่

  • ่ทำไปทำไม ต้องการหาอะไร
  • ค้นพบอะไรบ้าง แล้วมีอะไรมั้ยที่หวังว่าจะตอบได้แต่ตอบไม่ได้
  • ระหว่างทางที่ทำการศึกษาได้เรียนรู้อะไรบ้าง (ประสบการณ์การทำวิจัย)
  • มีคำถามอะไนในใจที่เกี่ยวกับงานวิจัยที่ไม่ได้กล่าวถึงในบทอื่นๆ

คิดอะไรได้ อะไรโผล่มาให้หัวก็ให้จดลงกระดาษให้หมด ไม่ต้องเรียงเป็นระเบียบ เหมือนให้ทิ้งทุกเรื่องที่เข้ามาในสมองลงในกระดาษให้หมด (brain dump)

2. เสร็จแล้วให้มานั่งอ่านทวนอีกที แล้วค่อยมาจัดเป็นกลุ่มๆว่าเรื่องไหนมันเข้ากัน มันใกล้เคียงกัน

3. พอได้เป็นกลุ่มๆแล้วก็ให้มาจัดลำดับความสำคัญอีกทีว่าเรื่องไหนสำคัญกว่ากัน

อาจารย์บอกว่าอาจจะได้ซัก 8-10 กลุ่ม

4. ขั้นตอนต่อไปคือ ให้คิดว่าแต่ละกลุ่มมี literature อะไรที่เกี่ยวข้อง (matching)

literature นั้นๆอาจจะมาช่วยอธิบายสิ่งที่เรากำลังเขียนถึง มาช่วยsupportผลของเราหรือ อาจจะเป็นงานวิจัยที่มีผลขัดกับสิ่งที่เราพบก็ได้ นอกจากนี้ให้คิดดูว่างานของเรา มีอะไรใหม่ หรือ ต่างไปจาก theoretical framework ของเรา หรือว่าก็เหมือนๆกัน

อาจารย์บอกว่าบทนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ น่าจะเขียนเสร็จ!

ตอนนี้ยังไม่ได้เริ่มเลยค่ะ เพราะว่าตกลงกับ committee คนอื่นๆว่าจะรออ่าน feedback ของอีกทั้ง 4 ท่านก่อนว่าบทที่ 1-6 เป็นอย่างไร ท่านยังตรวจกันอยู่ จะได้อภิปราย feedback เหล่านั้นด้วย

ไว้คง brain dump ไปพลางๆ ใครสนใจก็ลองใช้วิธีนี้ดูนะคะ

หมายเลขบันทึก: 171612เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2008 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีใจกับคุณมัทด้วยจริงๆค่ะที่มีทั้งอาจารย์และระบบดีเยี่ยมที่จะช่วยเคี่ยวให้วิทยานิพนธ์ตกผลึกออกมาเป็นเพชรส่องประกาย มาเป็นกำลังสำคัญที่แข็งแกร่งที่จะมาช่วยพัฒนาคุณภาพของการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในเมืองไทยด้วยค่ะ

พี่เองอาจารย์ก็ยังไม่ได้ช่วยเคี่ยวขนาดนี้ คลำเอา คิดเอา และพยายามสุดฤทธิ์ หืดขึ้นคอหลายรอบค่ะ อิ อิ

กระบวนการเรียนที่คุณมัทได้มีประสบมานั้นหากนำมาเขียนหนังสือ นำมาทำเวิร์คชอปคงจะช่วยเป็นแนวทางให้ระบบการศึกษาระดับสูงบ้านเราได้มากเลยค่ะ

ตามอ่านงานของ อ.มัท อยู่เรื่อยๆ น่าสนใจมากค่ะ ได้เรียนรู้เยอะเลย

ขอบคุณมากค่ะอ.นุช อ.อ้อ และคุณโรจน์

มัทอยากกลับไปเปิด workshop มากเลยค่ะ ไม่ใช่ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีนะคะ แต่เพราะเคยพลาดมาเหมือนกัน รู้ว่าต้องระวังอะไรตรงไหน

ถ้าไม่ได้เปิด workshop ก็คงเขียนบันทึกที่ gotoknow เก็บไว้เรื่อยๆค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท