สรุปบทเรียน วิทยากล่อม กระบวนการ


ความสำเร็จที่เห็นและจับต้องได้นั้น ก็เหมือนที่กระผมรินน้ำในเหยือกให้พี่หนูจีนได้ดื่มกิน และพี่หนูจีนกล่าวขอบคุณ กระผมรู้สึกดีและเป็นความรู้สึกที่ปลื้มใจนิดๆ กับผลสำเร็จที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยทั้งๆ ที่กระผมก็ไม่ได้ใช้คำพูดแม้แต่สักคำเดียว

 

  

 

     ในแต่ละวันนั้นเหล่าวิทยากล่อมฯ หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมก็จะบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่วันนั้นๆ ต่างคนก็ต่างบันทึกต่างคนก็ต่างเขียนไปตามความรู้สึกนึกคิดของตนเอง และก็มีถามกันอยู่บ้างแสร้งกันเล่นบ้าง “ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ข้าพเจ้าต้องล้างหน้าแปรงฟันก่อนเป็นอันดับแรก ในเวลา 5.00 น. ขั้นตอนการแปลงฟันมีดังนี้... ฯลฯ โอ๊ย...ผู้ใหญ่แผงเวลาแปลงฟันสื่อๆ ก็สิเขียนนำอยู่บ่...”

     การเขียนบันทึกที่ดีนั้น กระผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ในสมองนั้นทั้งเมื่อยล้าและง่วงนอนมากกิจกรรมเสร็จก็ปาเข้าไปตั้งเที่ยงคืน (เฉพาะวิทยากล่อมฯ) และวันนี้สิ่งที่มองเห็นอยู่ตรงหน้า คือ แก้วและเหยือกน้ำในเหยือกนั้นมีน้ำอยู่ครึ่งเหยือก ขณะเดียวกันนั้นพี่หนูจีนได้เรียกใช้ให้กระผมรินน้ำให้กิน กระผมยกเหยือกรินน้ำให้พีหนูจีนได้ดื่มกิน พี่หนูจีนกล่าวขอบคุณ กระผมรู้สึกดีและเป็นความรู้สึกที่ปลื้มใจนิดๆ กับผลสำเร็จที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยทั้งๆ ที่กระผมก็ไม่ได้ใช้คำพูดแม้แต่สักคำเดียว

ทีมวิทยากล่อมฯ ในครั้งนี้เป็นนักศึกษาใน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต มิได้เอาหลักสูตรวิชาวิทยากรกระบวนการที่เคยเรียนมานำมาใช้มากนัก แต่ทำตามหลักสูตรธรรมชาติของตนเอง ทุกท่านมีเอกลักษณ์เฉพาะตนและที่สำคัญ คือ มีความเป็นพื้นเพเชื้อสายลูกอีสานที่พร้อมจะกลมเกลียวไปกับชาวบ้านเกษตรกรที่เข้ามาอบรม หลักสูตรธรรมชาติหรือเอกลักษณ์เฉพาะตนมีดังนี้

    ดาบอุทัย อันปัญญา แห่ง อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ฉายา “เสือมือไฟ”  มีลีลาในการพูดติดมุกตลกได้ฮาเป็นระยะถ้าได้จับไมแล้วบอกได้คำเดียวว่า ไมโครโฟนข้าใครอย่าแตะ

     ผู้ใหญ่แผง มูลศรีสุข แห่ง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ฉายา “เสือหาทับพันธุ์” มีลีลาในการร้องเพลิงหมอลำ (แต่งกลสดๆถึงร้องได้) เสียงสะท้านฟ้าหาใครเปรียบได้ยาก

     นางหนูจีน โคตรสาร แห่ง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ฉายา “บ่ดื่มก็ลำฟ้อนได๋” ได้ยินเสียงหมอลำไม่ได้ต้องลุกขึ้นฟ้อนเท้าไฟกระจาย มีลีลาในการนวดแผนไทยผ่อนคลายลดความตึงเครียดได้ดีเยี่ยม

     นายจรัณ เทพพิทักษ์ แห่ง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ฉายา “นักวิชาการกระบวนศาสตร์” การทำงานให้รู้จักว่างแผนและดำเนินไปตามแผนงานนั้นๆ ผมก็งงกับตัวเองเหมือนกัน ผมมาทำงานโดยที่ผมไม่รู้เลยว่าวันนี้จะทำอะไร? แต่ผมก็สอบผ่านกับวิชาวิทยากล่อมกระบวนศาสตร์

     นายจิรศักดิ์ พรมวาส แห่ง อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ฉายา “เสือใบ้นอนกิน” นั่งก็เป็นใบ้นอนก็เป็นใบ้ ถามคำตอบคำ ซึ่งมีลีลาแสดงกิริยาท่าทางแทนคำพูด หรือ ปฏิบัติมากกว่าคำพูด หลงมาติดทีมวิทยากล่อมฯ กับเขาได้อย่างไรก็ไม่รู้ คิคิ

    บุคลิก หรือ ลักษณะเฉพาะคนนั้นสำคัญมากในการเลือกสรรทีมวิทยากรกระบวนการ เข้ามาดูแลเกษตรกรชาวบ้านที่มาอบรมฯ การใช้หลักสูตรธรรมชาติของแต่ละคนนั้น เป็นกระบวนการโดยธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ หมู,พวก,กอง,แบบแผน,อายุ,ชั้นเชิง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันรวมอยู่ในตัวทีมวิทยากล่อมฯ ทั้งหมด นั้นแลกระบวนการโดยธรรมชาติ

  • วิทยากร คือ ผู้ทรงความรู้ความสามารถในวิทยาการ
  • วิทยากล่อม คือ ทำให้เรียบร้อย ทำให้ดี อบรมปรับแนวคิดให้ดีขึ้น และทำให้เพลิดเพลิน
  • กระบวนการ คือ  กรรมวิธีที่ดำเนินต่อเนื่องไปตามลำดับ

    ความสำเร็จที่เห็นและจับต้องได้นั้น ก็เหมือนที่กระผมรินน้ำในเหยือกให้พี่หนูจีนได้ดื่มกิน และพี่หนูจีนกล่าวขอบคุณ กระผมรู้สึกดีและเป็นความรู้สึกที่ปลื้มใจนิดๆ กับผลสำเร็จที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อยทั้งๆ ที่กระผมก็ไม่ได้ใช้คำพูดแม้แต่สักคำเดียว

หมายเลขบันทึก: 171347เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีคะ แวะมาทักทายคะ

และแวะมาเป็นกำลังใจให้คะ :)

 

สวัสดีครับคุณ มะปรางเปรี้ยว

  • ขอบคุณจริงๆ จากหัวใจครับ
  • ตามมาอ่านและแอบเก็บเกี่ยวความรู้ครับ
  • เห็นบรรยากาศ และกระบวนการแล้วน่าชื่นชมด้วยใจจริง

ด้วยความเคารพรัก

สวัสดีครับคุณ กิตติพงศ์ พลเสน

  • ดีใจมากครับกับประสบการณ์อันน้อยนิด
  • ขอบคุณครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ครับผม ขอให้เป็นวิทยากรกระบวนการในแนวทางเดียวกัน

  • อยากเชิญท่านรักชาติมาร่วมทีมด้วยคนครับ
  • มาฝึกหน่วยกล้าตายหน่อยครับ คิคิ...
  • ขอบพระคุณครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่คนเดินดิน

น้องจิแวะมาเป๋นกำลังใจ๋ให้อ้ายเด้อนางเด่อ เด้อ เด้อ นางเด่อ เอิกๆๆๆๆ...ซำบายดีบ่...คึดฮอดหล๊ายหลาย....เป็นจังได๋น้องจิหัดพูดอีสานได้แล้ว แม่นอีหลี 5555++

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

  • เจ้าผู้พั่วดอกซ้อน ซอนดอกสะเลเต
  • กกบ่เซปลายบ่เนิ้ง สังมาให้ข่อยคิดนำแท้นอ

แปลว่า ทำไมหนอ ทั้งที่พี่ก็อยู่เฉยๆ เหมือนต้นไม้ต้องลมแล้ว กกและปลายไม่เซ ใยน้องมาทำให้พี่คิดถึงเสมอ

เป็น"ผญาเกี้ยวพาราสี" ของคนอีสานครับ อย่ากฟังสำเนียงเหน่อๆ ของสุพรรณฯ บ้างจะเป็นอย่างไร...

ขอบใจน้องจิมากครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท