ต้นแบบหลักสูตรในการเรียนรู้เท่าทันระวังสื่อโทรทัศน์


ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ หรือ Rating Lab

เป้าหมายของการทำงาน

(๑)   เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการได้เรียนรู้ถึงแนวคิด วิธีการในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์

(๒)  เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เท่าทันระวังสื่อโทรทัศน์ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

(๓)   เพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่ายในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์

กิจกรรม

ทางทีมวิจัยได้วางรูปแบบกิจกรรมในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการไว้เป็น ๖ ช่วง

     ช่วงที่หนึ่ง กระบวนการขาว เทา ดำ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมทดลองดูรายการโทรทัศน์ จำนวน ๑๕ รายการ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองพิจารณาให้ระดับความเข้มของสีเป็น ๓ สี ก็คือ สีขาว มีเทา และ สีดำ โดยไม่ได้มีการให้นิยามของสีไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกของผู้เล่น โดยไม่มีกรอบแนวคิดของผู้นำกระบวนการมาชี้นำ

     ช่วงที่สอง กระบวนการให้นิยามสี เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดของการให้คำนิยามของระดับสีทั้งสามสี ว่า สีขาว สีเทา และ สีดำ หมายถึงอะไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการกำหนดนิยามสีระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ

     ช่วงต่อมา นำเสนอผลการจัดระดับสีของรายการโทรทัศน์ เป็นการนำเสนอผลการพิจารณาระดับสีของรายการโทรทัศน์ ทั้ง ๑๕ รายการ โดยเรียงลำดับจากสีขาวไปยังสีดำ ว่าแต่ละรายการมีระดับสีเป็นอย่างไร แล้วพิจารณาเลือกเกมที่มีระดับสีที่มี่ความชัดที่สุดในแต่ละสีออกมาพิจารณาในช่วงต่อไป

    ช่วงที่สี่   กระบวนการสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยทีมวิจัยจะแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อเขียนเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ อีกครั้งหนึ่ง โดยเขียนแผ่นละหนึ่งประเด็น โดยทีมงานจะนำกระดาษไปติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้องโดยจัดกลุ่มและระดับความเข้มของประเด็น

    ช่วงที่ห้า หลังจากผ่านช่วงที่ ๔ แล้ว ห้องทดลองก็จะมีเกณฑ์ร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ภายใต้ เกณฑ์ที่สร้างให้ห้องทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูรายการโทรทัศน์ ในรอบแรกอีกครั้งหนึ่ง แล้วทดลองจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเชิงปฎิบัติการ ในครั้งนี้ ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ๓ สี ก็คือ สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูทีละเกม และ นำสติ๊กเกอร์ไปแปะที่กระดานหน้าห้องที่รายชื่อรายการโทรทัศน์ และ เกณฑ์ในการพิจาณณาระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ใน ๓ กลุ่ม ก็คือ เพศ ภาษา และความรุนแรง

    ช่วงที่หก การสรุปผลการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดย เชื่อมความรู้ระหว่างพัฒนาการมนุษย์และเกณฑ์ที่ได้จากห้องทดลอง หลังจากผู้เข้าร่วมห้องทดลองได้ทดลองจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ เสร็จแล้ว ก็จะให้นักวิชาการด้านจิตวิทยา จิตแพทย์ นักพัฒนาการมนุษย์ หรือ นักประสาทวิทยา ร่วมสรุปผล โดยวิเคราะห์จากผลการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ที่ได้จากการจัดในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาจาก ระดับความเข้มข้นของเกณฑ์ และ เรื่องของช่วงอายุของผู้เล่นเกม

หมายเลขบันทึก: 170807เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท