รายการ Human talk วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2551


Human talk

พิธีกร : สวัสดีครับท่านผู้ฟังครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ Human Talk พบกันทุกเช้าวันอาทิตย์ 6 โมงเช้าถึง 7 โมงเช้าแบบนี้นะครับ กับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผมจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ

สวัสดีครับ อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : สวัสดีครับคุณจีรวัฒน์  สวัสดีตอนเช้ากับท่านผู้ฟังที่ติดตามรายการของเราทุกวันอาทิตย์ เป็นช่วงที่เรามาสร้างความรู้กัน หวังว่ามีรายการที่เข้มข้นและมีประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องของการ Feedback ท่านผู้ฟัง เราไม่ได้เปิดสาย ก็เลยอยากให้ท่านผู้ฟังได้ใช้ Blog ของผม chiraacademy gotoknow ซึ่งวันนี้เราขึ้นมา 2 ครั้งแล้ว คือผมให้เขาถอดเทป ก็อยากให้ท่านผู้ฟังที่ คืออยากจะอ่าน มี Comment อะไรเพิ่มเติมขึ้นมา ก็มีคนเข้าอ่านหลายคน แต่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลเพิ่มเติมมา เพราะฉะนั้นก็ทำมานานแล้วก็อยากให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ก็เรียนให้ท่านผู้ฟังทราบด้วยว่าเราจะพยายามเก็บ record การพูดไว้ แล้วก็บางท่านก็อาจจะฟังใน Internet ได้ บางท่านก็อาจจะเปิดเข้าไปใน Blog ของผม  ซึ่ง Blog ของผมหลายคนก็เคยได้ใช้อยู่แล้ว แต่เรื่องของเราเป็นเรื่องที่จะกระทบมาทางทรัพยากรมนุษย์มากหน่อย แต่วิทยุนี่เราก็จะมองอะไรที่มัน Global ด้วย อย่างเช้าวันนี้ คุณจีรวัฒน์  มีข้อมูลนิดหนึ่งสำหรับคนที่ติดตามการแข่งขันกันระหว่าง Hillary กับ Obama นับไปแล้ว 91 % ที่ Wyoming ซึ่ง Obama นำอยู่ 58 กับ 42 % อันนี้เขาเรียกว่า เป็นการประชุมเชิง caucus ซึ่งหมายความว่า เขาจะไม่ได้ให้ทุกคน Vote เขาจะให้คนที่ Register ลงทะเบียนที่จะมา คือ caucus เขาจะมาเถียงกัน มีการประชุมกันก่อน แล้วพูดถึงเหตุผลต่าง ๆ แล้วก็ถึงจะมาลงคะแนนกัน ก็คุณ Obama ก็ชนะไป

พิธีกร :   ครับ ก็มีความขัดข้องเล็กน้อย อย่างที่เรียนให้ทราบ เช้านี้อาจารย์มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลายเรื่องด้วยกัน อาจารย์เพิ่งกลับมาจากประเทศเกาหลี คงมีเรื่องราวดี ๆ ที่จะนำมาฝากกัน ที่ผ่านมาอาจารย์ได้ไปกับคณะของท่านอธิบดีของกรมวิทยาศาสตร์ และข้าราชการระดับ 8 จำนวน 30 ท่านที่ประเทศเกาหลี ไปดูงานที่นั่น ไปดูอะไรกันบ้าง และได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง เดี๋ยวคงได้คุยกันอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้แล้วรายการโทรทัศน์ของอาจารย์ทาง True vision ช่อง 8 นะครับ สัปดาห์ที่จะถึงนี้ วันพุธนี้ก็มีหัวข้อที่น่าสนใจมากทีเดียว

ศ.ดร.จีระ : ผมกลับมาแล้วครับคุณจีรวัฒน์ สำหรับผมเองก็เป็นนักเรียนอเมริกาด้วย ก็สนใจเรื่องการเลือกตั้งเพราะว่า เราได้บทเรียนเยอะคุณจีรวัฒน์ การต่อสู้กันของประชาธิปไตยที่เรียกว่า Mature คือมีประสบการณ์มากมาย คนไทยในประเทศจะได้เรียนรู้ว่า ประชาธิปไตยที่ดีก็มี ขณะที่เราก็มีแบบที่รู้สึกว่า ประชาธิปไตยของเรา เหมือนถูกปลูกฝังจากตะวันตก ประชาชนของเรายังไม่ค่อยมีความรู้เท่าไร ก็เลยมีความรู้สึกว่าหลายคนก็เบื่อการเลือกตั้ง การเลือกตั้งของอเมริกาหนนี้ก็น่าสนใจ เพราะว่าก่อนวันนี้ก็คุณ Hillary ก็คือว่าCome back lady Come back เพราะหล่อนแพ้ไปหลายครั้ง แล้วก็มาชนะที่ Ohio , Texus แล้วก็ทำให้มีความหวังมากขึ้น แต่ว่าคะแนนของ delegate หรือตัวแทนก็ยังเป็นรอง คุณ Obama เพราะฉะนั้นวันนี้คุณ Obama ก็อาจจะมีความรู้สึกสบายใจขึ้นที่ชนะที่ Wyoming แต่คะแนน delegate ที่นี่มีนิดเดียวคุณจีรวัฒน์ แค่ 12 คะแนน แต่คุณ Obama ก็คงได้สักประมาณ 8 คุณ Hillary คงได้สัก 2 คือไม่ได้หมายความว่า Winner take all คือจะแบ่งคะแนนกันไป ได้ 61 % ก็คงได้เยอะหน่อย ก็น่าสนใจสำหรับท่านที่ เผอิญวิธีการหาความรู้ของคนไทยก็มีได้หลายวิธี เช้าวันนี้หลายคนก็อาจฟังวิทยุของเรา แต่ว่าเผอิญผมนอนเร็ว ก็เลยตื่นเช้าหน่อย ก็เลยมานั่งอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์คือ วันหนึ่งคนไทยก็คง รุ่นเด็ก ๆ ก็คงมี laptop มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านกันแล้ว แต่ว่าผู้ใหญ่หลายคนก็คงใช้วิทยุ หนังสือพิมพ์เยอะหน่อย เช้าวันนี้ก็เลยมีข่าว เป็นคล้าย ๆ ข่าวสด ให้ท่านผู้ฟังได้ติดตาม ส่วนอีกข่าวหนึ่ง คนไทยคงบ้าคลั่งเยอะคือ ฟุตบอล เมื่อคืนนี้ยักษ์ใหญ่ 2 ทีม ก็ตกรอบไปแล้ว โดยเฉพาะ Manchester United ก็ไปแพ้ Portsmouth 1 : 0 แพ้ที่บ้านด้วยนะ แล้วก็ทำให้ Man U อีกอันหนึ่งคือคนที่บ้าคลั่ง Chelsea ก็ขอแสดงความเสียใจด้วย ไปแพ้ทีม Barnsley ซึ่งเป็นทีมดิวิชั่น championship ก็เลยยักษ์ใหญ่ 2 ทีมก็เลยตกรอบไปเรียบร้อยแล้ว ก็เลยขอเรียนให้ทราบว่าตอนเช้า ๆ บางทีเรามี Information สด ๆ คือข้อมูลวันนี้มันสำคัญที่สุดท่านผู้ฟัง มันต้องสด ล้าสมัยไม่ได้ ใน 24 ชั่วโมง ข้อมูลก็เปลี่ยนทุกวัน  เปลี่ยนทุกวินาที ก็เลยเล่าให้ฟัง เมื่อกี้คุณจีรวัฒน์ได้ mention ถึงรายการ TV ก็พอดีผมไปเชิญอาจารย์แม่มา เป็นครั้งแรกที่ผมไปเชิญอาจารย์แม่มา ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ที่ผมกับท่านก็เคารพรักกัน ท่านก็มีลูกสาวเก่งด้วย ก็เรียนมาทาง management ทางด้าน HR ด้วย ท่านก็นับถือผมมานาน ก็ได้คุยกัน ต่อไปนี้ใครก็ตามที่มาออก TV เป็นแขกพิเศษ คือแขกพิเศษเราให้เวลาประมาณ 20 นาที เราก็ลงไปเจาะลึก มีคำถามหนึ่งที่ท่านผู้ฟังที่ติดตามในวันพุธ 9 โมงกับ 4 ทุ่มคือ บางคนท่านไม่ค่อยเข้าใจอาจารย์แม่  จีรวัฒน์ก็คงเห็น คือมองท่านไม่ใช่คน Serious ทางด้านวิชาการ คือนักวิชาการเมืองไทยนี่ ต้องเป็นคนที่พูด ไม่ตลก  ต้องขลัง ต้อง Technically เป็นต้น แต่จริง ๆ แล้ว อาจารย์แม่ก็มีความสามารถเยอะ ท่านจบอักษรศาสตร์ แล้วเป็นเด็กบ้านนอก จังหวัดตาก เพียงแต่ว่าบุคลิกท่านเป็นบุคลิกที่ค่อนข้างจะเหมือนครู ท่านไม่เหมือนอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์มหาวิทยาลัยก็จะไม่ค่อยทำตัวเป็น Coach ของท่านเป็น Coach ด้วย แล้วก็เป็นครูด้วย เขาใช้ครูปกครอง จะมีเด็กจุฬารักท่านเยอะ บางคนเห็นหน้าท่านก็เบื่อท่าน เพราะว่าท่านชอบพูดจาตลก จีรวัฒน์คงเคยเห็น ผมเองบางทีก็ไม่เข้าใจ เหมือนกันว่า เวลาท่านพูดออกมา ท่านเน้นอะไร แต่ว่าพอได้ศึกษาชีวิตความเป็นมาท่านจริง ๆ แล้ว ท่านเป็นคนที่น่าสนใจคนหนึ่ง อายุ 71 แล้วนะจีรวัฒน์ปีนี้ ท่านก็ยังทำงานอย่างเต็มที่ ลองเปิดดูนะครับในวันพุธนี้ จะได้ดูว่าจีระกับอาจารย์สุนีย์ เขาพูดเรื่องอะไรกัน

พิธีกร : 10 โมงเช้าใช่ไหมอาจารย์

ศ.ดร.จีระ : รายการผมจะ 9 โมงเช้าวันพุธ แล้วก็มาอีกครั้งหนึ่งวันเดียวกันในเวลา 4 ทุ่ม

พิธีกร : 9 โมงเช้า แล้วก็ 4 ทุ่มของวันพุธนี้นะครับ

ศ.ดร.จีระ : คือรายการ TV ดี ๆ แบบนี้ ถ้ามีก็ลองฟังดู มันก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อย รายการสื่อยุคนี้ต้องเป็นสื่อที่มีความรู้ แล้วก็อย่างวิทยุ เราก็รู้อยู่แล้วว่ามีคนเป็นลูกค้าประจำอยู่แล้ว แล้วก็วิทยุ TV ก็จะมีคนอยู่แล้ว อาจจะมีบางคนที่ยังไม่ได้ติดตาม เพราะว่าเราไม่ได้อยู่ใน TV ธรรมดา มาอยู่ใน Cable ก็ทำให้เราได้มีโอกาสได้ใช้สื่อตรงนี้ช่วย ก็คงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

พิธีกร : ติดตามกันได้ทาง True vision ช่อง 8 หรือ TTN ช่อง 2 นั่นเอง สำหรับรายการของอาจารย์ในวันพุธที่จะถึงนี้ 9 โมงเช้า แล้วก็ 4 ทุ่ม นะครับอาจารย์ครับ น่าสนใจมาก ๆ เลย

ศ.ดร.จีระ : และโดยเฉพาะอาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์ที่อย่างน้อยได้เห็นมุมมองลึก ๆ ของอาจารย์แม่ เพราะตามปกติท่านได้ถูกเชิญไปแล้ว แต่ว่าแนวของท่านก็อาจจะออกมาในลักษณะ Style ของท่าน Style ของท่านซึ่ง Unique และทุกอาทิตย์เราได้เชิญบุคคลที่น่าสนใจ แล้วผมก็เป็นคนสัมภาษณ์เอง เสร็จแล้วผมก็มาคุยกับพิธีกร คุณชนิตร์นันทน์ ประมาณ 15 นาที วันนี้ TV ก็เหมือนการวิเคราะห์ ผมก็เลยช่วยวิเคราะห์ไปด้วย แล้วก็เอาความรู้เหล่านี้ไปคิดต่อ เพราะยุคนี้ความรู้อย่างเดียวไม่พอ Information อย่างเดียวไม่พอ ก็เอาไปวิเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรเกิดขึ้น หน้าจอผมก็เพิ่งได้ข่าวมาว่า การเลือกตั้งในมาเลเซียของคุณ Badawi ก็มีปัญหา  อันนี้ก็เป็นข่าวอีกอันหนึ่ง ถ้าเราดูจากวิทยุ หนังสือพิมพ์ ก็จะไม่ทัน เพราะฉะนั้นการใช้จอคอมพิวเตอร์ ที่ห้องส่งของเราก็เหมือนกัน เราออกวิทยุก็มีจอคอมพิวเตอร์ขึ้น  2 3 จอ วันนี้ผมได้ทราบว่าอย่าง Al gore เวลาเขาทำงานคุณจีรวัฒน์เขาก็นั่งอยู่ตั้ง 3 คอมพิวเตอร์ เขาก็ดึงเอาข้อมูลต่าง ๆ มา พวกนี้เวลาเขาเขียนบทความ เขาก็ไม่เขียนเงียบ ๆ แบบที่เดิม เขียนในห้องสมุดแบบนี้ เขาก็จะใช้คอมพิวเตอร์ แล้วก็ search ข้อมูลเข้ามา เพราะว่าวันนี้บางคนก็เขียนบทความ เขียนหนังสือด้วยข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว อันนี้ก็เป็นแนวคิดอันหนึ่ง ผมเคยเห็นห้องทำงานของ Al gore เขาด้วย ว่าเขาจะใช้คอมพิวเตอร์เยอะเลย เพื่อนผมบางคนที่เป็นกูรูระดับโลก ก็ไปดึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ จาก Internet เป็นส่วนใหญ่ อันนี้ก็เป็นข้อมูลอีกอันหนึ่ง จะได้รู้ว่า วิธีการเรียน วิธีการหาความรู้ มันเยอะแยะไปหมดเลย ทำให้ผมได้มีความรู้สึกว่า เรายังรู้ไม่พอ

พิธีกร : พูดถึงเรื่องการใช้ Internet ผมมีข้อมูลน่าสนใจอย่างหนึ่งครับ อาจารย์ครับ ที่เพิ่งได้อ่านมา ทราบมาว่าคนไทยใช้ Internet น้อยกว่าคนเวียดนามอีกครับ อาจารย์ครับ อันนี้เราฟังแล้ว นึกไม่ถึงเลยว่า อะไรจะขนาดนั้น 

ศ.ดร.จีระ : คุณจีรวัฒน์รู้ไหม ตั้งแต่ผมเป็นอาจารย์มาตั้งแต่เริ่มใหม่ ๆ 15 ปีที่แล้ว หรือช่วงแรก ๆ ก็มีความรู้สึกว่าเราล้าหลังมาก แล้วครั้งหนึ่งก็มี NECTEC ก็พยายามผลักดัน... สายหลุด  

พิธีกร : อย่างที่เรียนไปเมื่อสักครู่ว่า ประมาณไม่ถึง 15 % สำหรับการใช้ Internet ของคนไทย อย่างที่ทราบว่าในยุคโลกาภิวัตน์ แล้วมายุคที่เป็นสงครามเทคโนโลยีสารสนเทศเลยก็ว่าได้ ทำให้สิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัวเรามากขึ้น เพียงแค่ปลายนิ้ว แต่ว่าการเรียนรู้การใช้งาน Internet ของคนไทย ยังเป็นในระดับที่ไม่เท่ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ของเราซึ่งเขาใฝ่หาประโยชน์จากการใช้ Internet กันในระดับของประชาชน ในระดับที่สูงกว่าเรา ทำให้มองเห็นว่า แล้วหลังจากนี้ภาวการณ์แข่งขันที่เกิดขึ้นจากการใฝ่หาความรู้ ในระดับของประชาชนจะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปของการพัฒนาประเทศด้วย อันนี้เชื่อว่าคงมีนัยสำคัญในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะครับ ไม่ว่าจะเป็นระดับโครงสร้างพื้นฐานก็ดี รวมไปถึงเรื่องของระบบการศึกษาในยุคใหม่ก็ดี ที่นักเรียนแทบจะเรียกว่า เปิดหาข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ด้วย Internet เร็วกว่าการวิ่งเข้าห้องสมุดซะอีก ซึ่งอาจารย์คงมีมุมมองตรงนี้มาฝากกัน และนอกจากนั้นแล้วสัปดาห์ที่ผ่านมา ...สายหลุด

ศ.ดร.จีระ : ฮัลโหล คุณจีรวัฒน์ ได้ยินไหมครับ

พิธีกร :  วันนี้เทคโนโลยีขัดข้องเล็กน้อยนะครับอาจารย์ เมื่อกี้ยังพูดค้างอยู่ว่าการใช้ Internet ของคนไทยน้อยกว่าคนเวียดนาม

ศ.ดร.จีระ : คือวันนี้มีคนเขาพูดกันว่าได้ข่าว เวียดนามจะแซงไทย เราก็ฟังเฉย ๆ เราก็มีความรู้สึกว่า เอ๊ะจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ เหมือนครั้งหนึ่ง ก็บอกว่าเกาหลีจะแซงไทย ซึ่งเดี๋ยวผมจะพูดเรื่องเกาหลีให้ฟัง ปรากฏว่าแซงไทยไปเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นคนไทยก็มีข้อดีเยอะคุณจีรวัฒน์ แต่ว่าอีกอันหนึ่งที่จำเป็นจะต้องให้คนไทยกระตือรือร้นก็คือ เราจะมีคู่แข่งในโลกมากขึ้น แล้วโลกปัจจุบันอยู่แบบเดิมไม่ได้ รายการของเราก็คงเป็นแรงกระตุ้นเล็กน้อย เวลาผมไปต่างประเทศ เวลาคุณจีรวัฒน์ไปต่างประเทศ ยิ่งเห็นโลกมาก เราก็จะรู้ตัวเองมากขึ้น เพราะว่าโลกทัศน์ของคนไทย ถ้าเราไม่กว้าง เราก็จะไม่รู้ตัวเอง  แล้วประเด็นเรื่อง Internet ก็มีแค่นี้ใช่ไหม คนไทยใช้ Internet น้อยมาก

พิธีกร :  อันนี้เราต้องมองต่อไปนะครับว่า ถ้าหากคนในประเทศนั้นแสวงหาความรู้ผ่าน Internet ในระดับที่มากกว่า แล้วระดับการแข่งขัน การพัฒนาประเทศโดยประชาชนนี่คงจะส่งผลขยายออกมาอีกว่า เอ๊ะ ใช้ประโยชน์กับ Internet นี่ ในความแตกต่างอย่างไรบ้าง เราใช้เล่น ใช้พูดคุยหรือเปล่า ในขณะที่  

ศ.ดร.จีระ : ก็อันหนึ่งที่ผมวิตกมาก ๆ คือ เด็กวัยรุ่นพอเลิกเรียนแล้วเข้าไปใน Internet Café แล้วก็เสียงโป้งป้าง โป้งป้าง ซึ่งก็เศร้ามาก ผมคิดว่าในเกาหลีผมก็เห็นนะ โป้งป้าง โป้งป้าง แต่ว่าเขาก็จะไม่มากเท่าของเรา เราก็จะทำเรื่องเกมส์ซะเยอะ มันก็กลายเป็น Commercial คือมันขาย Software แล้วก็ผู้ที่ run Internet Café ในเมืองไทยก็จะต้องมอง ผมว่าเดี๋ยวนี้มีคำอีกคำหนึ่งคุณจีรวัฒน์ Purpose with performance คือมีเป้าหมาย จะต้องมีประโยชน์ด้วย เพราะว่าการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีนี่ ถ้าไปในเรื่องสื่อลามก เรื่องเกมส์ต่าง ๆ มันก็เสียเงินเยอะ  ก็คิดว่ารายการของเราก็จะเป็นกระจกเล็ก ๆ ที่ทำให้ ก็ข้อดีของรัฐบาลชุดนี้ในเรื่องการศึกษา ซึ่งท่านทักษิณเคยคุยกับท่านพารณแล้ว ก็คือเอา laptop อันเล็ก ๆ ประมาณ 2 พันกว่าบาทมา ผมเคยเอาบทความอันนี้ลงว่า อดีตนายกทักษิณกับท่านพารณเอามาจาก MIT ว่าเรื่องนี้ก็ดี คืออย่าให้มันเป็นเทคโนโลยีเพื่อประชานิยม ขอให้มี content ขอให้มีความสนใจ คือ laptop ก็ดี หรือ Internet ก็ดี มันเหมือนยาเสพติด ถ้าคนไหนเคยใช้แล้ว ก็คงต้องใช้ แล้วก็ยุคนี้ Global มัน link กันหมด

พิธีกร : ครับเดี๋ยวเราคงต้องไปพักฟังสิ่งที่น่าสนใจสักครู่ครับ อาจารย์ครับ

โฆษณา

พิธีกร : ครับ กลับมาพบกันในช่วงที่สองของรายการนะครับกับศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผม จีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ เมื่อช่วงต้นรายการ อาจารย์เปิดด้วยเรื่องที่น่าสนใจ ทั้งการเมืองระหว่างประเทศก็ดี เรื่องของรายการโทรทัศน์ที่จะมีในวันพุธนี้ทาง True vision ช่อง 8 หรือ TTN ช่อง 2 ติดตามได้ตอน 9 โมงเช้าและ 4 ทุ่ม รวมจนถึงเรื่องราวของ Internet และการใช้ แล้วก็แสวงหาประโยชน์จาก Internet น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียว แล้วก็เพิ่งผ่านสัปดาห์ของการเลือกตั้ง สว. มาหยกๆ คงทราบผลไปบ้างแล้ว อาจารย์ครับ

ศ.ดร.จีระ : ครับผม คือทุกประเด็นที่เราพูดไป เรามาสรุปกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ประเด็นเมื่อกี้เรื่องการเมืองในอเมริกา ก็น่าสนใจ มันต่อสู้กันด้วย Tactic ทางการเมือง แล้วก็คุณ Obama แกก็ไม่ได้เป็นคนร่ำรวยอะไร  ร่ำรวยความรู้กับความทะเยอทะยาน แล้วยังมีคนเอาเงินมาให้แก เดือนหนึ่งก็ 40 ล้านเหรียญ US

พิธีกร : สนับสนุน

คำสำคัญ (Tags): #human talk
หมายเลขบันทึก: 170786เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 04:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ศ.ดร.จีระ : คือคนที่นั่นเขาชอบใครเขาก็ คือปัญหา ผมก็เป็นห่วงการเมืองไทย ถ้าไม่มีเงินที่มาจากครอบครัว หรือนักธุรกิจ หรือกลุ่มผลประโยชน์ ก็เรียกว่าเลือกตั้งไม่ได้เลย นี่คือจุดอ่อน ซึ่งคนอาจจะพูดว่า วันหนึ่งก็คงแก้ได้ เมื่อไรล่ะ วันนี้เรื่องการเมืองนี่ เราก็ต้องการคนดี ๆ มีความรู้ คือจุดนี้เป็นจุดที่เวลาอยากเล่าให้ท่านผู้ฟังนิดหนึ่งที่ ผมไปเกาหลีมาเมื่อวันจันทร์ถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา ความจริงเกาหลีนี่ผมไปบ่อย ในฐานะที่ผมเคยเป็นประธานของ APEC HRD คิดถึงเขาอยู่เสมอว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจ มีหลายอย่างที่เขากับเมืองไทยไปด้วยกัน ไปคราวนี้ก็มีนโยบายหนึ่งที่ผมชื่นชมเขามาก ก็คือนโยบายเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คือเกาหลีนี่ เขาเสียหายมากจากสงครามเกาหลี ประมาณ 40 50 ปีที่แล้ว แล้วก็ประเทศก็มีปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติมาก คือไม่มีเลย ยิ่งไปกว่านั้นก็ คุณจีรวัฒน์รู้ไหม เกาหลีเดี๋ยวนี้มีปัญหาคล้าย ๆ รัสเซียอยู่อันหนึ่งคือ อากาศหนาว ผมไปคราวนี้นี่ คุณก็รู้ว่าก่อนผมไปก็เป็นหวัด ก็ยังเอาตัวเกือบไม่รอดเลย ที่นั่นขนาดเดือนมีนา บางทีก็ลบสอง ลบสาม ลบสี่ เพราะฉะนั้นอากาศก็ทำให้เขาต้องหันมาดูตัวเองว่าเขาคงต้องขยัน ถ้าเขาขี้เกียจ เขาก็ไม่มีวันอยู่รอด เพราะอากาศหนาว ถ้ามัวแต่คุดคู้อยู่ในบ้าน ฉะนั้นเรื่องสภาพแวดล้อมทำให้เขามีความขยัน ก็เหมือนเราดูละครแดจังกึม อะไรนี่ เรามีปัญหามาก ๆ เลย แต่สิ่งหนึ่งที่คุณจีรวัฒน์พูด แล้วบอกว่าน่าจะเป็นประเด็นหลักก็คือว่า เกาหลีนี่ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดีปาร์ค จุง ฮี หลายปีมาแล้ว 30 40 ปีมาแล้ว เขาก็เรียกว่าผลิต เขากำหนดนโยบายออกมาเป็นนโยบายหลักของชาติ แล้วเขาก็ลงทุนในเรื่อง 1. R&D 2. การศึกษา 3. ก็ไปดึงเอามันสมองคนเก่ง ๆ จากอเมริกามากันเยอะเลย วันนี้เกาหลีเป็นชาติซึ่งส่งคนไปเรียนที่อเมริกามากที่สุดในโลก มีประมาณแสนกว่าคน และในแสนคนก็เรียน Ph.D อย่างน้อย ๆ ไม่ต่ำกว่า 15,000 คน เขาเรียน Ph.D กันหนัก แล้วก็เรียนมาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แล้วกลับมารัฐบาลก็มีอาชีพให้เขา ก็คือสถาบันวิจัยต่าง ๆ อย่างคราวนี้ผมไปดูอยู่ 2 แห่ง อันแรกชื่อเขาประหลาดมาก ชื่อว่า KRISS สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Korea Research Institute of Science Standard คือท่านผู้ฟังครับสถาบันแบบนี้ภาษาไทยเขาเรียก สถาบันมาตรวิทยา วันนี้เรามีเครื่องบินอย่างนี้ เราต้องการจะทดสอบความเสื่อมของเหล็ก ก็ต้องมาหาองค์กรอันนี้ เรามีสารเคมี ถ้าอยากจะรู้ว่ามันมีปัญหาในเรื่องสิ่งแวดล้อมก็มาที่นี่ เรามีเรื่องอาหาร ถ้าอยากจะรู้ว่าส่งไปแล้ว จะถูกตีกลับจากลูกค้าไหม เราก็ต้องมาวิเคราะห์ที่นี่ คือเขาทำวิจัย ที่ KRISS นี่ก็คล้าย ๆ กับหน่วยงานที่ผมพาไปคือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ก็คือเป็น Lab ใหญ่ของรัฐบาลเกาหลี สำหรับ Lab นี่ก็ต้องมีนักวิทยาศาสตร์ ต้องเป็นคนที่บ้าคลั่ง สนใจที่จะ research  ตลอดเวลา ผมยกตัวอย่างในเรื่องเคมีอย่างเดียว  แต่ก่อนเวลาเราจะวัดนี่ เราจะวัดมาตรฐานแบบง่ายๆ เขาเรียกว่า physical measurement เดี๋ยวนี้ต้องวัดออกมาในมิติต่าง ๆ เช่น สารพิษ สิ่งแวดล้อม ปัญหาต่าง ๆ ที่มันเกิดขึ้น เพราะว่ามี dimension หลายอย่าง ซึ่งนักวิชาการก็ต้องทำ research อยู่ตลอดเวลา ยิ่งวันนี้สินค้าต่าง ๆ ที่ออกไป เช่น แม้กระทั่งพลอย คุณจีรวัฒน์ลองคิดดู ต่างประเทศตีกลับมาแล้วของจีน เวลาเรารับเครื่องเล่นจากจีนไป เราก็ต้องตรวจสอบให้ดี ว่ามันมีสารเคมีปนอยู่ไหม เอาไปแล้วมีพิษไหม สถาบันมาตรวิทยาของเขานี่เป็นสถาบันที่ค่อนข้างจะมีคุณภาพ แล้วยิ่งในยุคของ WTO จีรวัฒน์ลองคิดดู สินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเรา สินค้าอาหาร สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องออกไปโดยมีการยอมรับจากมาตรฐานเหล่านั้นด้วย ซึ่งผมก็คิดว่าข้อดีของเกาหลีคือเขาเอาจริงกับการทำวิจัย พัฒนา หรือที่เราเรียกว่า ระบบ R&D เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลเกาหลี เขาทำไว้ คือเขาจะมีนโยบายหลักของชาติเป็นนโยบาย 10 , 20 ปี 30 ปี รัฐบาลไหนเข้ามาก็ต้องยึดมั่นกับนโยบายเหล่านี้ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไหนของเราเข้ามา อย่างนักการเมืองไทย นอกจากไม่มีนโยบายแล้ว ยังเข้าไปล้วงลูกในระดับข้าราชการประจำ สนใจแต่เรื่องงบประมาณ ฉันจะมีส่วนร่วมในการหาคนมารับเหมาไหม หรือในการโยกย้ายข้าราชการอย่างนี้ ซึ่งท่านผู้ฟังที่เคารพครับ การเมืองที่ดีก็ต้องเป็นการเมืองซึ่งมองอนาคตว่า จะมีนโยบายอะไรไปสู่ความเป็นเลิศของเรา ซึ่งตรงนี้การเมืองไทยของเรายังทำไม่ได้ดี แต่ส่วนหนึ่งที่ผมยอมรับก็คือว่า เมืองไทยต้องจะต้องลงทุนด้านการเงินเยอะ เพราะฉะนั้นเวลานักการเมืองเข้ามา เขาจะมีความรู้สึกว่า เขาเสียไปเท่านี้ ดังนั้นการเมืองก็ต้องให้ฉันกลับมาเท่านี้ ความจริงแล้วมันก็คือสิ่งหนึ่ง ถ้ายังทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ปัญหาก็คือว่า เราจะไปแข่งกับใครในโลกนี้ ตรงนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ประเด็นหลัก ๆ ก็คือว่า ประเทศที่เจริญแล้ว การเมืองภาษาอังกฤษเรียกว่า Hedge direction ให้แนวไป อย่างของเราแนวที่เราทำได้ดีในวันนี้ คือเรื่อง logistics รถไฟฟ้า อะไรอย่างนี้ หรือที่คุณสมัครกำลังทำอยู่ ซึ่งผมได้ชื่นชมไปแล้ว คือเรื่องพลังงานต่างๆ ที่มาแทนน้ำมัน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับชลประทาน ที่จะต้องทำ คือนโยบายเหล่านี้ต้องใช้เวลา รัฐบาลไหนเข้ามาทำแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างเช่นวันนี้เราเริ่มลดภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจ ควบคุมราคาหมู มันก็ดีสำหรับนโยบายระยะสั้น แต่ระยะยาวถ้าเรามัวแต่แก้ปัญหาระยะสั้น ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เขามี Vision กัน มองไปไกล เกาหลีมองไปถึง Samsung วันนี้ว่าเขาจะเป็นบริษัท IT ชั้นนำของโลก ซึ่งเขาก็เป็นจริงไปแล้ว ครั้งนี้ผมก็พาคณะไปเยี่ยมบริษัท Samsung ด้วย คืออยากให้นักการเมืองสนับสนุนนโยบายหลักของประเทศ ซึ่งอันนี้ แล้วก็การเมืองไหนเข้ามา ก็มาปรับนโยบายระดับย่อย แล้วก็เอาจริงกับเรื่องนโยบายหลัก ๆ ของชาติ อาจจะมีสัก 4 5 เรื่องก็พอ อย่างไทยเราอาจจะไม่ต้องจำเป็นเหมือนเกาหลีในเรื่อง Science Technology อย่างน้อย Science Technology ซึ่งไปสนับสนุนภาคบริการของเรา อย่างเช่น เรื่องการแพทย์ เรื่องการท่องเที่ยว เรื่องจุดแข็งของการเกษตรของเรานี่ ทำให้มันจริง ไม่เช่นนั้นเราก็ไปลำบาก ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำอย่างไรเราถึงจะมีนักการเมืองซึ่งมีความรู้ แล้วก็ไม่ได้มีบทบาทเฉพาะมาหาประโยชน์กับรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งอันนี้ จุดนี้ ผมก็ยังตีไม่แตก เพราะว่าใครจะเล่นการเมือง มันก็ต้องมีเงินใช่ไหม ฉะนั้นเมื่อมีเงินแล้ว เขาลงทุนแล้ว เขาก็มีความรู้สึกชอบธรรมว่า เขาก็ต้องมาบริหารงบประมาณของเรา เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็ฝากไว้ละกัน ผมเองผมไม่ได้มีหน้าที่โดยตรง แต่ว่าอย่างน้อยเกาหลี เรื่องการเมืองเขานี่ ระดับเปลี่ยนรัฐมนตรี เขาเปลี่ยนได้ แต่เขาไม่เปลี่ยนประธานาธิบดี ประธานาธิบดีนี่เขาเลือก 5 ปีครั้งหนึ่ง แล้วคนเหล่านี้ก็ set นโยบาย เขาเปลี่ยนนักการเมืองบ่อย เพราะว่าใครก็ตามมีปัญหาคอรับชั่น เขาให้ออกเลย ก็ท่านทูตคนปัจจุบันชื่อคุณวศิน แกก็ joke ให้เราฟัง เราไปเยี่ยมท่านมา คุณจีรวัฒน์รู้ไหม ท่าน joke ว่าอะไร... เวลาไปงาน  cocktail ก็จะเจอ ฉันเป็นอดีตรัฐมนตรี ฉันเป็นอดีตรัฐมนตรี  รัฐมนตรีเขาจะเปลี่ยนบ่อย คือมีอดีตรัฐมนตรีมากกว่ารัฐมนตรีปัจจุบัน เพราะระบบของเขา รัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นระบบคล้าย ๆ ระบบอเมริกา  สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากไว้ว่า สิ่งที่เกาหลีได้นำเราไป คือวันนี้เกาหลีนำเราไปเยอะนะจีรวัฒน์ ผมว่าไม่ต่ำกว่า 30 ปี

พิธีกร : ครับ เคยไปเกาหลีเหมือนกันครับอาจารย์ครับ แต่ไปดูงานทางด้านสายวัฒนธรรมแล้วก็เทคโนโลยีสารสนเทศ ถือว่าเขาก็นำเราไปหลาย ๆ ขุมแล้วล่ะ อย่างที่พูดเรื่องของการใช้ Internet เด็กบ้านเราเล่นเกมส์ของเขา ขณะที่เขาผลิตเกมส์ออกมาจำหน่ายทั่วโลก แล้วก็สร้างรายได้เป็นเม็ดเงินมหาศาลเลยทีเดียวสำหรับอุตสาหกรรมเกมส์ในเกาหลีที่เติบโตแบบก้าวกระโดดจริง ๆ เพราะว่าทั้งฝั่งภาคธุรกิจ ภาคเอกชนก็ตื่นตัวเรื่องนี้มาก เพราะว่าถือว่าเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาล แล้วก็ยังมีหน่วยงานของภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลตรงนี้โดยเฉพาะ    

ศ.ดร.จีระ : ภาครัฐของเขาเป็นคนที่สนับสนุนให้ทำงานอย่างเต็มที่ แล้วก็เป็น partnership ความจริง concept นี้ ยุคป๋าเปรม แล้วก็มียุค ดร.เสนาะ มี กรอ. ก็มีการพูดกันเยอะ ช่วงนั้นท่านนายกฯเปรมก็ใช้สภาพัฒน์เป็นหลัก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า พอยุคหลัง ๆ นี้มา ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปัตย์ หรือไม่ว่าจะเป็นไทยรักไทย ก็จะให้สภาพัฒน์ทำงานเชิง support นักการเมือง เป็นเรื่องระยะสั้น แผนพัฒนาก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร การตัดสินใจของนายกฯ นี่โดยจะมาจากสัญชาตญาณหรือความรู้สึก มันก็จะมากหน่อย ฉะนั้นอันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มันถึงไม่เกิด เพราะเป็นเรื่องระยะยาว ผมขอกลับมาในบทความผม ผมได้เล่าให้ฟังว่าที่เกาหลีนี่มีสถาบันหนึ่งเขาเรียก KAERI สะกดแปลว่า Korea Atomic Energy Research Institute เผอิญท่านอธิบดีของผมที่ไปด้วย คุณปฐม แหยมเกตุ ท่านเคยทำงานอยู่ที่ปรมาณูเพื่อสันติ เวลาเราพูดถึงปรมาณูนี่ เรานึกว่ามัน คือเรื่องความรุนแรง เรื่องความไม่ปลอดภัย ความจริงปรมาณูนี่คือเทคโนโลยีอันหนึ่ง คุณจีรวัฒน์ มันไปช่วยเทคโนโลยีหลาย ๆ อัน และปรากฏว่าสถาบันนี้ได้ support โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเกาหลีมาแล้ว 20 โรง และกำลังจะทำอีก 6 โรง แล้วเกาหลีนี่เขาไม่มีน้ำมัน เขาไม่มี Hydro เขาไม่มีถ่านหิน เขาต้องทำนิวเคลียร์ แล้วเขาทำนิวเคลียร์ เขาทำโดยการหารือกับประชาชน ของเราอย่างวันนี้นี่คุณอภิสิทธิ์ก็เคยพูดว่า ถ้าเขาเป็นรัฐบาล เขาไม่มีวันหรอกเอานิวเคลียร์มาใช้ในเรื่องพลังงาน เพราะบางทีคนไทยอาจจะคิดนิวเคลียร์ในลักษณะความไม่ปลอดภัย ไปพูดถึงเชอร์นาบิล อะไรอย่างนี้ leak กลับมา แต่จริง ๆ แล้วนิวเคลียร์ อันนี้ผมไม่ได้พูดเพื่อจะให้คนไทยมองอันใดอันหนึ่ง แต่จะให้ศึกษาเทคโนโลยีอันนี้อย่างรอบคอบ แล้วยิ่งไปกว่านี้ สถาบันอันนี้ คุณจีรวัฒน์ลองคิดดูนะครับ เขาได้เป็นคนเตรียมการจะสร้าง Nuclear engineer รองรับการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียร์ในเกาหลีได้ assign  มหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 แห่ง ที่จะมีหลักสูตรทางด้าน Nuclear engineer ออกมา แล้วปีหนึ่ง ๆ เขาออกมา 200 คน คุณจีรวัฒน์รู้ไหม จุฬาฯ เคยสร้าง Nuclear engineer มา เพราะครั้งหนึ่งก่อนที่เราจะไปเจอก๊าซธรรมชาตินี่ น่าจะมีคนชอบเรียน Nuclear engineer แต่วันนี้ออกมาปีหนึ่งไม่ถึง 3 คน อีกไม่ถึง 13 ปีเราก็คาดว่าเราจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อันแรก NGO ฟังผมแล้ว อาจจะคิดว่าผมเชียร์ กฟผ. แต่ผมเชียร์อะไรก็ได้ ซึ่งมีพื้นฐานที่มี International Benchmark สามารถอธิบายให้แก่คนได้ว่า ประเทศที่เจริญแล้วอย่างเกาหลี เวียดนามก็ดี หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่นก็ดี เขาเอาจริงกับเรื่อง Nuclear power วันนี้ญี่ปุ่นไฟฟ้ามาจากนิวเคลียร์แล้ว 40 % จีรวัฒน์รู้ไหม ถ้าเรามีโรงงานอันแรกอีกประมาณ 10 กว่าปี อย่างมากก็ไม่เกิน 3 % เพราะฉะนั้นในเมืองไทย ท่านผู้ฟังลองคิดดูสิครับว่าพลังงานในอนาคต จะมาจากที่ไหน ฉะนั้นเวลาเราไปเห็นอะไรอย่างนี้ เราก็จะเห็นว่าการจะทำอะไรสักอย่างมันขึ้นกับการวางแผนเรื่องคนด้วย การที่ผมบ้าคลั่งเรื่องคนทั้งระดับ Macro ระดับประเทศ และก็ระดับ Micro ระดับองค์กร คือการวางอนาคตของประเทศไว้ และประเทศไทยนอกจากเรื่องคนแล้ว เราจะต้องให้คนมีความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เขาอาจเรียนรัฐศาสตร์ก็ได้แต่ต้องคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรียนไปแล้วฉันไม่เก่งคณิตศาสตร์อย่างนี้ ความจริงคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราคิดให้เป็นระบบเท่านั้นเอง ฉะนั้นเวลาผมไปสอนที่ราชภัฎ ผมก็เห็นเลยวันนี้เด็กมหาวิทยาลัย ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์เลย คณิตศาสตร์เลย แต่สามารถเรียนปริญญาตรีได้ แต่เขาสามารถฝึกได้ด้วยการให้ข้อสอบเขา ให้เขาไปคิด คิดให้เป็นระบบ คือการออกข้อสอบ ถ้าเป็นออกข้อสอบแบบติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก อย่างที่ผมเคยสอนคุณจีรวัฒน์นี่ ถ้าเราติ๊กมากขึ้น เราก็ copy เขา เราก็ไม่มีความเข้าใจ ฉะนั้นระบบการเรียนยุคใหม่ จะต้องเป็นการเรียนที่ทำให้เราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น อันนี้ผมขอยืนยันว่า ถึงเราไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์มาในอดีต แต่ข้อสอบอะไรก็ตามแต่ ทำให้เราคิดวิเคราะห์เป็น เราก็จะหันมาสนใจความคิดที่เป็นระบบ ฉะนั้นขณะนี้เกาหลีเขาก้าวหน้าไปเยอะ เพราะพื้นฐานการศึกษาเขาสนใจทางด้าน Science Technology เกาหลีนี่เขายกย่อง ดร. นะ คนที่เป็น จบ PhD. มา เขาจะให้รางวัลเยอะเลย คนที่เป็นอาจารย์มัธยม ถ้าสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ถือว่าเป็น career ที่ยิ่งใหญ่ ของเรานี่ คือวันนี้ถูกมองว่าเป็นคนที่โหล่เปรตในระบบของการมีความภาคภูมิใจในยุคนี้ ผมเรียนท่านผู้ฟัง ผมก็เป็นครูคนหนึ่ง เป็นครูจีรวัฒน์ด้วยสมัยสอนที่ธรรมศาสตร์ และวันนี้ก็เป็นครูทุกองค์กรที่เขาสามารถติดต่อผมมาได้ ผมก็ไม่เห็นผมต่ำต้อย การที่เราช่วยกัน แล้วผมคิดว่ารายการเราเป็นรายการสร้างแนวร่วม แนวร่วมที่ไหนก็ได้ พร้อมที่จะมาใช้ประโยชน์ ผมมีเวลาอีก

พิธีกร : อีก 2 นาทีครับ อาจารย์ครับ     

ศ.ดร.จีระ : ท่านผู้ฟังครับ เดี๋ยวช่วยจดไว้นิดหนึ่ง อยากให้ทำการบ้านนิดหนึ่งว่า ลอง search เข้าไปใน Internet ก็ได้ และวันจันทร์ก็โทรไปที่ 884-8814 จดอีกทีนะครับ 884-8814 เพราะคราวนี้ผมจะให้หนังสืออีก 10 เล่ม เป็น notebook ของผม ก็เป็นสมุดซึ่งเอาไปจดโน้ตได้ และหนังสือสมุดเล่มนี้ผมมีคำคม ๆ ที่ผมพูดไว้ อยากทราบว่าประธานาธิบดีคนใหม่ของเกาหลี เขาชื่ออะไร ก็ check เข้าไปใน Internet ก็ได้ เพิ่งเลือกตั้งใหม่ แล้วก็โทรไป ความจริงคราวที่แล้วก็มีคนโทรไปเยอะเลย หนังสือที่แจกไปก็ไม่พอ คราวนี้ก็จะให้ท่านผู้ฟัง แล้วใครก็ได้ที่โทรไปถึงผม แล้วบอกว่าได้เปิด Blog ของผมนี่ ผมก็จะให้หนังสือด้วย 884-8814 เผอิญวันอาทิตย์เขาไม่อยู่กัน 

พิธีกร : ครับ เข้าไปในวันและเวลาราชการดีกว่า

ศ.ดร.จีระ : คือต่อไปนี้ ผมและจีรวัฒน์ก็จะพยายาม Get feedback กับท่านผู้ฟังมากขึ้น และโดยเฉพาะอย่างประเด็นวันนี้เรื่องการเมืองกับการมองระยะยาว เรื่องพลังงาน แล้วก็จีรวัฒน์เน้นเรื่อง Internet อย่างนี้ ผมว่ามันก็เป็นการ remind ให้เห็นว่า สรุปก็คือโลกวันนี้มันแข่งขันกัน เราไม่ได้อยู่แบบเดิมแล้ว  แล้วอย่างไปเห็นนี่ เราก็ไม่ต้องไปชื่นชมทุกเรื่องของเขา ความจริงประเทศไทยก็มีข้อดีเยอะ ที่คนอื่นเขามาดูงานได้ แต่บางส่วนที่เราจำเป็นต้องเติมขึ้นมา ผมไม่ได้บอกว่าเราจะต้องเป็น Industrial power เหมือนเกาหลีหรอก เราเป็น วันนี้เขาเรียกว่า Soft power มาทางวัฒนธรรม มาทางคุณธรรมจริยธรรมแล้วก็มีมูลค่าเพิ่มด้วยยิ่งดี แต่อย่าลืมเกาหลีนี่เอาหมดเลยนี่ อุตสาหกรรมก็เอา ละครก็เอา อย่างคราวนี้ก็แอบไปดูโรงถ่ายของแดจังกึมมาด้วย เขาจำลองมา ที่ไม่เกิน 50 ไร่ จีรวัฒน์  แต่ปรากฏว่ามีคนไปดูโรงถ่ายมาแล้วประมาณ 3 ล้านคน   

พิธีกร : ถือเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย

ศ.ดร.จีระ : ละคร จีรวัฒน์ก็คงทราบนะว่า มัน Impact  ผมไม่ได้ดูตลอดนะ เคยดูในรถ bus หนเดียว แต่ในข้าราชการ C8 ที่ไปกับผม 90 % จะรู้หมด ว่าแดจังกึมคืออะไร จะจำได้หมด เขาไปดูไหที่ฝังไว้ อะไรนี้ ทุกคนก็จำได้ เสียดายนะครับคนไทย เวลาพูดถึงละครต่าง ๆ เขาจำประวัติศาสตร์เกาหลีได้

พิธีกร : ถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง

ศ.ดร.จีระ : สำหรับผม เป็นภาษาวิชาการเขาเรียก Soft power , power ที่ยิ่งใหญ่ของอเมริกาคือ power ทางด้านทหาร ยิงกันอะไรกัน ตอนนี้มีพลังทางด้านความอ่อนไหว อ่อนโยน คนไทยก็มี Soft power เยอะ อยากให้ท่านผู้ฟังได้ ฟังเสร็จ ก็ไปคิด และถือว่าผมเป็นครูคนหนึ่ง ซึ่งมาทำเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้ Internet ด้วย ฟังด้วย เปิด Blog ของผมด้วย แล้วก็จะทำประโยชน์ ผมก็ถือว่าผมมีโอกาสได้รับใช้ประเทศโดยผ่านวิทยุนี้ก็ถือว่าเป็นความสุขอย่างหนึ่ง ขอบคุณครับ 

พิธีกร : ขอบคุณครับ อาจารย์ครับ กลับมาพบกันใหม่ได้ในสัปดาห์หน้าครับ สวัสดีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท