Proactive Brain


ทุกคนเกิดมาพร้อมกับต้นทุนสมอง และพร้อมจะเป็นสมองที่ถูกพัฒนา อย่าปล่อยให้สมองของพวกเราทุกคนถูกพัฒนาตามยะถากรรมเลย

จากการอ่าน blog ของท่านศ.นพ.วิจารณ์ ที่กล่าวมนุษย์มีพลังทิพย์ หรือ พลัง- tive ประกอบด้วย พลัง -tive 5 ตัว ได้แก่ Proactive, Positive, Creative, Collaborative, และ Innovative นั้น พลังเหล่านี้หาได้มีมาแต่กำเนิดไม่ แต่หากเป็นพลังที่เสริมสร้างจากภายหลังคลอดหรือหลังถือกำเนิดในต่างบริบท  และขึ้นอยู่กับพรแสวงของแต่ละบุคคลด้วย ด้วยความเชื่อส่วนตัวที่ว่าสมองเป็นตัวกำหนดวิธีคิด และชะตากรรมของบุคคล จึงแสวงหาบทความด้าน proactive brain มาอ่านเสริมความรู้ และเอาไว้สอนหนังสือได้ด้วย

จากองค์ความรู้ด้านประสาทชีววิทยา ทำให้เราทราบว่าสมองมนุษย์เป็นอวัยวะมหัศจรรย์(มากกกก...คิดดีสุดขอบ ตอบแทนคุณแผ่นดินก็ได้ หรือคิดชั่วสุดขอบก็ได้!!!)  สมองมนุษย์ไม่รู้จักหลับ-ตื่น ยามเราหลับเจ้าสมองก็ไม่ได้หลับนะคะ ถ้าเผลอหลับเราก็ตายไปแล้ว สมองทำงานตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนดับสิ้นสังขาร มนุษย์ทุกคนทุกชาติทุกวัฒนธรรมเกิดมาพร้อมสมองฉลาด แต่การดำเนินชีวิตตั้งแต่แรกคลอดต่างหากเป็นตัวทำให้ความฉลาดลดน้อยถอยลง หรือฉลาดมากขึ้นก็สุดแท้แต่ละชีวิต

Proactive Brain เป็นการฝึกฝนวิธีคิดของสมองแบบก้าวหน้า(ค่อนข้างจะอธิบายพฤติกรรมทางบวก) เช่น มีตัวอย่างของคุณแม่ท่านหนึ่งที่อยากมีลูกมาก จนวันหนึ่งตั้งท้องสมใจ และด้วยความที่เป็นครอบครัวลูกคนจีนจึงประสงค์ลูกชาย เมื่อคลอดก็ได้ลูกชายสมใจทั้งครอบครัว แต่ต่อมาพบว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กรุ่นเดียวกัน ไปพบกุมารแพทย์ปรากฏว่าลูกเป็นออทิสติก!!! แต่คุณแม่เป็นคนที่มี the proactive brain หมายความว่ามีวิธีคิดแบบมองไปข้างหน้า จึงเริ่มพบผู้เชี่ยวชาญทั้งกุมารแพทย์ จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด และนักประสาทวิทยา และฝึกลูกทุก ๆ ด้าน เพื่อหวังให้ลูกได้มีความสุขและพัฒนาการตามศักยภาพ ทุกคนในครอบครัวพร้อมให้กำลังใจ และร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา ทุกวันนี้น้องสามารถช่วยเหลือตัวเอง พูดคุยตอบโต้ได้ ทุกครั้งที่ดิฉันได้เจอจะมีความสุขและปลื้มใจไปด้วยอย่างมาก

การฝึกร่องรอยของสมองแบบ proactive นั้นต้องหมั่นฝึกตั้งแต่เล็กเพราะเราทุกคนมีต้นทุนมาตั้งแต่ในท้องแล้ว และฝึกต่อเนื่องทุกช่วงวัย และทุกประสบการณ์จะโปรแกรมไว้ในสมองส่วนความจำและการเรียนรู้ทั้งบริเวณฮิปโปแคมปัส(hippocampus) และพรีฟรอนทอลคอร์เทกซ์ (prefrontal cortex) เป็นลักษณะวงจรเชื่อมโยง เมื่อมีเหตุการณ์ต้องตัดสินใจวงจรเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์และสั่งการออกมาเป็นพฤติกรรมนั่นเอง

ในคราวหน้าจะลงตัวอย่างกิจกรรมตามช่วงวัยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 170724เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2008 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เข้ามาอ่านครับ
  • ประวัติ ของ ไอนสไตน ตอนเด็กก็เหมือนกับว่ามีพัฒนาการทางสมองช้า ใช่มั้ยครับ (หรือว่าคนอื่นเข้าใจว่าช้า)

ทีวีช่วยฝึกได้มั้ยครับ

เกมหละ

ภาพยนตร์ด้วย

สื่อสิ่งพิมพ์ด้วย

 

สวัสดีคะ อ่านแล้วสนุกดีคะ พอดีเห็นบันทึกที่เขียนต่อจากบันทึกนี้ ดิฉันเลยต้องย้อนมาอ่านบันทึกนี้ก่อน เดี๋ยวจะตามไปอ่านบันทึกต่อคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท