ลดโลกร้อน: คิดให้ติดตัว


คนป่วยมากใก้ลตายแต่ค่อยๆ รักษาหรือรักษาไปตามอาการนั้นไม่ช่วยให้ฟื้นได้หรอกครับ สิ่งสำคัญคือต้องวินิจฉัยให้เร็ว แก้ไขให้ด่วน ใช้ยาที่ค่อนข้างแรง และทำเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นผมว่าไม่รอด

กระแสการลดภาวะโลกร้อน และการตลาดสีเขียวเริ่มที่จะได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้นทุกวัน ข่าวสารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศก็มีมาให้เห็นกันบ่อยๆ ในเรื่องของวิบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับโลกของเราหากพวกเราในวันนี้และวันข้างหน้าไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเพื่อช่วยให้โลกไปนี้รักษาสมดุลที่จะทำให้พวกเราอยู่กันบนโลกนี้ได้

สำหรับภาคเอกชนและภาครัฐบางส่วนงานนั้นมีความตื่นตัวในการทำกิจกรรม ทั้งกิจกรรมการตลาดแลการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนผ่านทางกิจกรรมต่างๆ มากมายตัวอย่างกิจกรรมการตลาดที่เราได้พบเห็นกันไม่ว่าจะเป็น เดอะมอลล์ กรุ๊ป  ที่ร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ บุญรอดบริวเวอรี่ เมืองไทยประกันชีวิต จัดทำโครงการภายใต้แนวคิด Save the Forest กระตุ้นให้คนใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลาย (Biodegradable Plastic Bag) หรือการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าดิบ หรือบริษัทฟิลิปส์ที่ทำโครงการร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ก..ภ.) ในโครงการ 80 โรงเรียน 80 ชุมชน ร่วมใจประหยัดไฟถวายองค์ราชันรวมถึงองค์ บริษัทร้านค้าอีกมากมายที่ร่วมกันทำโครงการลดโลกร้อย เพิ่มความเขียวให้กับโลกของเรา

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผมคิดและคำนึงถึงคือแนวคิดการลดภาวะโลกร้อน และความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นเราจะทำอย่างไรให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่ ติดตัว นั่นคือทุกครั้งที่จะทำอะไรก็จะมีความคิดย้อนถามตัวเองว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำนั้นช่วยโลกใบนี้ให้เย็นลงได้หรือไม่ หรือเป็นแค่การเกาะกระแสทำตามคนอื่นเขา 

กิจกรรมหรือการรณรงค์นั้นมองลึกๆ แล้วก็เป็นแนวคิดที่จะทำพยายามทำให้คนเราเกิดจิตสำนึกและต้องการให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากมองตัวของกิจกรรมต่างๆ ที่จัดทำขึ้นนั้นก็จะเห็นเป็นจุดของหรือแค่ช่วงของเวลาของการรณรงค์ เมื่อกระแสหมดไปหรือหายไปผู้คนก็อาจจะหลงลืม และโลกใบนี้ก็ยังคงจะร้อนขึ้นเหมือนเดิม หรือดีไม่ดีอาจจะร้อนยิ่งกว่า ทุกวันนี้โลกใบนี้ไม่ได้ป่วยเป็นแค่ไข้หวัดที่แค่กินยาแค่สองสามเม็ดก็หายได้ แต่โลกใบนี้กำลังเป็นโรคเรื้องรังครับ ยาสองสามเม็ดช่วยไม่ได้แต่ต้องเป็นการกินยาที่มีความต่อเนื่อง หากเปรียบในลักษณะนี้ผมคิดว่า ยาที่จะช่วยโลกให้หายป่วยเรื้องรังคือก็ตัวของเราเอง หากการปลูกจิตสำนึกที่ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบางส่วนกำลังรณรงค์กันอยู่สามารถติดตัวเราได้ นั่นน่าจะเป็นยาขนานเอกที่มีประสิทธิภาพในการรักษาไข้ของโลกใบนี้

นอกจากจะรักษาไข้แล้ว การทำให้แนวคิดนี้ติดตัวคงต้องเป็นการร่วมมือขนานใหญ่ของทุกฝ่าย วันนี้ต้นทุนการทำสินค้าลดภาวะโลกร้อนยังมีราคาแพงอยู่ ตัวอย่างที่อยากจะหยิบยกมาให้เห็นเช่นภาชนะบรรจุภัณฑ์กิน ที่ทำจากได้ที่คิดค้นโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำขายให้คนทั่วไปได้ใช้ไม่ได้ เนื่องจากมีราคาสูง ผู้ผลิตเองก็กลัวว่าทำแล้วไม่มีผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็คิดว่าทำไมต้องจ่ายเพิ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของวงจร ไก่กับไข่ ใครเกิดก่อนกัน ถ้าจะตัดวงจรนี้รัฐเองคงต้องมีบทบาทเข้ามาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาตรการภาษีที่ต้องสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีราคาค่างวดการผลิตที่มีต้นทุนสู้ชาวบ้านเขาได้ หรือยิ่งดีถ้าทำจะให้ต้นทุนต่ำกว่าบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้ช่วยให้โลกเย็นลง ต้องอย่างคิดว่านี้คือค่าใช้จ่ายครับแต่เป็นการลงทุนเพื่อพรุ่งนี้ ทำให้ต่อเนื่อง ทำมากๆ สนับสนุนสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น อีกไม่นานแนวคิดแบบนี้ก็จะติดตัวคนเรา คิด นึก และทำอะไรเพื่อโลก ไม่ใช่เพื่อความสนุกในกิจกรรมที่จัดขึ้น พฤติกรรมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ต้องการ 

คนป่วยมากใก้ลตายแต่ค่อยๆ รักษาหรือรักษาไปตามอาการนั้นไม่ช่วยให้ฟื้นได้หรอกครับ สิ่งสำคัญคือต้องวินิจฉัยให้เร็ว แก้ไขให้ด่วน ใช้ยาที่ค่อนข้างแรง และทำเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นผมว่าไม่รอดท่านผู้อ่านเห็นด้วยหรือไม่ครับ

บุริม โอทกานนท์

7-03-08

หมายเลขบันทึก: 169742เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาอ่าน และ มาแสดงความคิดเห็น ที่.....เห็นด้วยค่ะ
  • การลดสภาวะโลกร้อนนั้น  ต้องช่วยกันจากหลายฝ่าย  ทั้งภาครัฐ เอกชน  ผู้คนพลเมือง  และการเรียนรู้ในโรงเรียนทุกระดับด้วยค่ะ
  • ในบ้านครูอ้อย ยังบอกสอนลูกให้หิ้วกระเป๋าผ้าไปซื้อกับข้าว  เธอยังไม่ทำเลยค่ะ
  • แต่กลับนิยมชมชอบ  ได้ถุงกอบแกบมาเต็มบ้านค่ะ
  • อยากกลับไปเป็นเด็กๆ  ที่ใช้ถุงกระดาษที่พับ  โดยฝีมือคุณยายจังเลยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท