การพัฒนาองค์กรและการจัดการความรู้


การจัดการความรู้ การเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็ว กว้างขวาง ใครเข้าถึงได้ก็ก้าวหน้า เข้าถึงแล้วต้องปรับปรุงความรู้

องค์ประกอบทีต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมองที่องค์กรใช้การเรียนรู้เป็นฐาน (Learning base) ตลอดเวลา ส่วนระบบงานใช้ผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก (Performing base) สำหรับคนทำงานเช่นเดียวกับองค์กรเน้นให้มีการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถของคนทำงานอย่างสม่ำเสมอ ขวัญกำลังใจจะไม่เสื่อมถอย

อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็น 

สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการอบรม ฝึกฝนการศึกษากันใหม่จะต้องมีความสามารถ และแนวคิดใหม่ ความรู้เป็นตัวสินค้าหลักของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นเนื้อหาหลักของเครือข่ายสารสนเทศ และความรู้จะให้ได้มาต้องมีการวางแผน และการจัดการวิจัย สร้างสมรรถนะการวิจัย ต้องมีการประสานร่วมมือเพื่อการวิจัย

การจัดการความรู้ การเข้าถึงความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็ว กว้างขวาง ใครเข้าถึงได้ก็ก้าวหน้า เข้าถึงแล้วต้องปรับปรุงความรู้ ประเมินความเชื่อถือได้ของข้อมูลหรือผลงานวิจัย เป็น knowledge validation  การตีค่าความรู้ (knowledge valuation) ดูความคุ้มค่าของการใช้ความรู้นั้น ดังที่เรียกว่าการศึกษาวิเคราะห์ cost-benefit และ cost effectiveness  การปรับปรุงความรู้ให้อยู่ในรูปที่ใช้ง่ายก่อประโยชน์สูงสุด (knowledge optimization)

อุดมศึกษาตัวสินค้าหรือบริการคือความรู้ การสอนยังเป็นการสร้างความสามารถในการจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นกับศิษย์ การมีความรู้แล้วใช่ว่าจะใช้หรือเป็นประโยชน์ได้เลย  ยังจะต้องพิจารณาบริบทปรับให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน ให้เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับสภาพที่ใช้ ความรู้เฉพาะถิ่น เฉพาะกรณี เฉพาะการณ์ รวมๆแล้วก็ต้องมีหลักฐานการใช้เป็นฐาน (evidence base)

หมายเลขบันทึก: 169694เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท