e_Learning กับการเรียนรู้


อีเลินนิ่งเป็นการเรียนรู้แบบเสมือนจริง สมมุติว่าเรียนในห้องเรียนจริงจัดบรรยากาศให้คล้ายห้องเรียนจริง

เป็นลักษณะการศึกษาหลายมิติ หลายทิศทาง และหลากหลาย มีการฝึก แบบฝุึกหัดแบบปฏิสัมพันธ์ได้ เชื่อมโยงการอภิปรายได้ มีการจำลองแบบบทบาทต่างๆ มีกรณีศึกษา (case study) มีเครือข่ายการเชื่อมโยงไปยังที่ต่างๆ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ (web link) สามารถคุยตัวต่อตัวแบบออนไลน์หรือแบบกลุ่มไปยังกลุ่ม หรือบุคคลไปยังกลุ่ม (peer to peer chat) มีแบบฝึกหัดเสริมช่วยเหลือแก่ผู้เรียน การศึกษาพบกันเป็นกลุ่มออนไลน์ และใช้สื่อมัลติมีเดีย ใช้ทฤษฎีต่างๆ ที่ช่วยในการเรียนรู้เข้ามา ทฤษฎี cognitive load theory (CLT) เช่นการพิมพ์ตัวอักษรใกล้กับภาพ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าอยู่ห่างจากกัน

การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะใช้คำว่า virtual learning หรือการเรียนรู้เสมือนซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าไม่ได้เกิดการเรียนรู้ แต่ในความเป็นจริงนั้นจัดสถานะการณ์ต่างๆ ให้เสมือนจริงที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จริง โดยจัดประสบการณ์เหมือนกับสถานะการณ์จริง การเรียนรู้จากเว็บจะช่วยให้นักเรียนเข้าสู่แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่างๆ ผ่านทางการเรียนรู้ออนไลน์ ที่สามารถจัดให้กลุมคนทุกกลุ่มรวมทั้งกลุ่มคนหูหนวก ตาบอด และที่เป็นออทิสติก (autistic)

โดยทั่วไปการสร้างเนื้อหาอีเลินนิ่งนั้นจะมีเรื่องต่างๆ ดังนี้คือ

การกำหนดสาระสำคัญของเนื้อหา มีการวิเคราะห์เนื้อหา

กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ออกแบบการเรียนรู้

กำหนดขอบเขตของเนื้อหา ผลิตสื่อผสม และออกแบบเว็บ

นำบทเรียนเข้าสู่ LMS

ประเมินประสิทธิภาพการนำบทเรียนไปใช้

จะเห็นว่าการเรียนรู้โดยอาศัยอีเลินนิ่งไม่จะเป็นต้องเข้าห้องเรียนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียนที่ทำงานแล้ว การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะไม่มีปัญหากับเวลาเรียน จึงเป็นไปได้ที่เราจะบริการการใช้ ICT สำหรับการสอนและการเรียนรู้ และเริ่มที่จะเห็นทางว่าไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเล็๋กหรือใหญ่จะมีช่วงว่างห่างกันน้อยลง โดยการสร้างหลักสูตรร่วมกันเป็นตลาดทางวิชาการเปิดการเรียนรู้ไร้พรหมแดน สนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถามข้อข้องใจ เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ ทราบความก้าวหน้าการเรียนรู้อย่างตรงไปตรงมา ต้องการเสรีภาพในการศึกษา การทำงานเป็นกลุ่ม รวมทั้งการรับคำแนะนำจากผู้สอน โดยสรุปแล้ว ICT จะเป็นส่วนที่บูรณาการของการสอนและการเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #lms#cognitive load theory#virtual learning
หมายเลขบันทึก: 169691เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2008 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท