ตอนที่42 ปลูกไม้ใบแบบพอเพียงสบายใจไร้กังวล


คนไทยบางส่วนกำลังจะถูกทำลายด้วยอบายมุข การพอกพูนด้วยกิเลสแห่งระบบบริโภคนิยม ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยมิได้แก้ไขในที่สุดสังคมไทยอาจจะล้มสลาย ประสบหายนะอีกไม่นาน การดำเนินชีวิตตามระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นทางรอดจากความหายนะของสังคมไทย

                     ปัจจุบันป่าไม้ และสภาพแวดล้อมถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ ในส่วนของคนไทยอาจไม่ได้สังหรณ์ใจหรอกหรือว่าคนไทยบางส่วนกำลังจะถูกทำลายด้วยอบายมุข  การพอกพูนด้วยกิเลสแห่งระบบบริโภคนิยม  ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยมิได้แก้ไขในที่สุดสังคมไทยอาจจะล้มสลาย ประสบหายนะอีกไม่นาน  การดำเนินชีวิตตามระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นทางรอดจากความหายนะของสังคมไทย  ถ้าเราไม่ร่วมกันแก้ไขใครละจะเป็นผู้ช่วยเรากอบกู้สภาพสังคมที่มีแต่คุณธรรม และความเอื้ออาทรของสังคมไทยให้กลับมา ให้เราได้อยู่ร่วมกันแบบ อยู่ดีมีสุข

ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับพี่อ๋อย(นางวัชรี  เอี่ยมรอด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว) และพี่วันเพ็ญ  น้อยเกิด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว  ติดตามศูนย์เรียนรู้การเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 7  บ้านหลังดอน ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นพื้นที่ทำกินเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งานของนางสมจิตต์  บัณฑิต เกษตรกรวัย 54  ปี ที่ดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ปลูกพืชไม้ได้คำนึงถึงการค้ามากนัก เพราะรายจ่ายในแต่ละวันมีไม่นากนัก ลดรายจ่ายจาก การปลูกพืชที่กิน กินพืชที่ปลูก แต่ถ้ามีมากก็ขายไปสบายใจกว่ากัน

นางสมจิต  บัณฑิต กล่าวว่า ในพื้นที่ที่มีจำกัด ได้ปลูกพืชหลายชนิดป้องกันและลดความเสี่ยง เพราะราคาไม่แน่นอน และอายุของพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ชนิดใดอยู่ก็กินหรือจำหน่ายชนิดนั้น ปลูกให้อยู่ปะปนกันไป พืชต่างๆ ก็อยู่ร่วมกันได้ไม่มีปัญหา และบางส่วนจะอยู่ดีอีกด้วย เช่น การปลูกใบเตยในป่าของต้นจามจุรีงามดีโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ย

 

จากการเที่ยวชมสวนพอสรุปกิจกรรมได้ว่า ปลูกไม้ประดับเพื่อการค้าอย่างละไม่มากนักปะปนกันไปในบริเวณบ้าน ประมาณ 50 ตารางวา  สร้อยทอง 1 งาน ดอกคลาสเตอร์ 1 งาน สร้อยทองแซมในแปลงมะนาว และส้มโอ 20  ต้น กล้วยหอม 20  ต้น อีกทั้งพืชผักเช่นมะเขือ พริก จำนวน 2 งาน ในการปลูกพืชนั้นยึดหลักการใช้สารชีวภาพ   การปลูกพืชแซม ไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มรายได้ และการขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัว

กิจการหลายอย่างของศูนย์เรียนรู้ฯ ซึ่งมีพี่วันเพ็ญ เป็นผู้จัดการ ผู้เขียนได้สนใจการปลูกใบเตยใต้ต้นจามจุรีเป็นพิเศษ จึงได้สอบถามคุณน้าสมจิตต์ และได้รับความอนุเคราะห์อธิบายให้ฟังว่า การปลูกใบเตยได้นำต้นพันธุ์จากเกษตรกรที่อื่นมาปลูกในพื้นที่ประมาณ 1 งาน โดยไถดินให้ดินโปร่งจะไม่มีปัญหาเรื่องของความอุดมสมบูรณ์ของดินเนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่แล้วเพราะมีใบของจามจุรีที่ผุพังอยู่เต็มพื้นที่ ส่งผลให้ต้นใบเตยแข็งแรงเจริญงอกงามเร็ว ลดปัญหาเรื่องโรค-แมลง ที่มารบกวน มีเพียงตั๊กแตนมารบกวนบ้างแต่เพียงเล็กน้อยไม่มีผลต่อผลผลิต  การให้น้ำในระยะเริมแรกจะต้องให้น้ำทุกวัน เมื่อแข็งแรงแล้วจะให้น้ำโดยสังเกตจากสภาพดินที่ไม่แห้งจนเกินไป ในส่วนของรายได้แม้ไม่มากนักเฉลี่ยประมาณ 150 บาท/วันจากการเก็บใบเตย และต้นเตยเล็กๆ ส่งพ่อค้า แม้ค้าในตลาดชัยนาท เพื่อจัดดอกไม้บูชาพระจำหน่าย แต่ถ้าเทียบกับการตัดใบไม้ที่ปลูกไว้บริเวณบ้านจำหน่ายแม้ว่ารายได้จะไม่แน่นอน แต่ก็สร้างรายได้ไม่น้อยไปกว่าใบเตย

นางสมจิต  กล่าวเสริมอีกว่า การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จะสร้างความสบายใจ แม้ว่ากายของเราจะรำบากจากการทำงานตลอดก็ตาม เนื่องจากการปลูกพืชตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจะมีหลายชนิดที่อยู่ร่วมกัน ส่งผลให้ไม่มีเวลาว่างไปเที่ยวเตร่หรือปล่อยเวลาอย่างไร้ประโยชน์แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีเวลาเข้ากับสังคม เพราะตนเองก็มีเวลาที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เช่นกัน  อีกทั้งรายได้ที่ได้รับแต่ละครั้งจะไม่เป็นเงินก้อนโตอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่ก็มีให้ได้รับเรื่อยๆ  เมื่อนำมารวมกันแล้วคงไม่น้อยอย่างที่คิด  แต่ที่น่าพอใจคือ  แม้ไม่มีรายได้มหาศาลแต่ก็มีรายจ่ายไม่มากนัก

จากการเข้าร่วมสนทนาและเยี่ยมชม กิจกรรมต่างๆ แล้วรู้สึกพอใจที่ได้เข้าชม  และคิดว่า เกษตรจังหวัดชัยนาท (นายรังสรรค์   กองเงิน) คงเกิดความมั่นใจในการดำเนินงานของน้องๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้จัดหาแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร แต่สิ่งที่สำคัญนั้นยังต้องพึ่งพาความตั้งใจของเกษตรกรที่จะเข้าไปเรียนรู้และนำความรู้มาปฏิบัติสร้างรายได้จากการลดต้นทุน และลดรายจ่าย ในครัวเรือน ครับผม

พี่วันเพ็ญ  น้อยเกิด  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว(ผู้จัดการศูนย์ฯ)

อีกทั้งผู้เขียนยังได้แง่คิดว่า จะต้องไปปลูกพืชผักที่บ้านแล้วละ  แต่ก็ยังคิดไม่ออกว่าจะหาพืชผักอะไรดีนะ ที่สามารถทนแล้งได้ดี เนื่องจากผู้เขียน  ขยันปลูกแต่ไม่ขยันรดน้ำต้นไม้ 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 169112เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เป็นแบบอย่างที่ดีมากเลยนะครับ
  • แม้ว่าจะมีพื้นที่ไม่มาก แต่ก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดี และขอขอบพระคุณผู้อ่านทุกท่าน
  • ขอขอบคุณอาจารย์สิงห์ป่าสักมากที่มาเยียมเยียน
  • กำลังใจนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้หาสิ่งดีๆ มาฝาก ครับ

งูเห่ากัดแก้ด้วยสมุนไพรอะไร ได้ข่าวว่าในอาหรับเมื่อคนถูกงูเห่ากัดเข้าให้กินน้ำมะพร้าว และไข่ไก่ ๆ ผสมให้เข้ากันกิน ไม่ทราบจริงหรือเปล่า

ถ้างูมีพิษกักดต้องนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดนะ และอย่าลืมปฐมพยาบาลให้ดี

เพื่อรักษาชีวิติครับ รักษาวิธีอื่นยังไม่มีการรับรองความปลอดภัยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท