BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

บ่อน, เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม และกฎหมาย (อีกครั้ง)


บ่อน, เกณฑ์ตัดสินจริยธรรม และกฎหมาย (อีกครั้ง)

จากครั้งก่อน (คลิกที่นี้ บ่อน...) อาจสรุปความเห็นของเกณฑ์ฯ ทั้งสามได้ว่า สนับสนุน คัดค้าน และไม่ถือเป็นสาระสำคัญ ...

เมื่อนำทั้งสามเกณฑ์นี้ มาเทียบกับปรัชญากฎหมายในประเด็นว่าด้วยบ่อเกิดกฎหมายแล้ว ก็อาจสอดคล้องกันได้อย่างนี้

  • ประโยชน์นิยม (สนับสนุน)             -   สำนักกฎหมายบ้านเมือง
  • ลัทธิคานต์ (คัดค้าน)                    -   สำนักกฎหมายธรรมชาติ
  • ทฤษฎีคุณธรรม (ไม่ถือเป็นสาระ)     -   สำนักประวัติศาสตร์

..............

สำนักกฎหมายบ้านเมือง ถือว่า กฎหมายก็คือคำสั่งของผู้มีอำนาจสูงสุดในบ้านเมือง (องค์อธิปัตย์)  ดังนั้น จะเหมาะสมหรือผิดถูกหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคำสั่งนั่นเอง... แต่หากว่าคนในสังคมไม่พอใจคำสั่งนั้น ก็อาจต่อต้านผู้ออกคำสั่งได้ ดังนั้น คำสั่งที่สามารถเป็นธรรมและคงอยู่ได้นาน ก็คือคำสั่งที่สามารถประสานผลประโยชน์ของคนในสังคมกับผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจไว้ได้ ซึ่งนั่นก็คือ แนวคิดของลัทธิประโยชน์นิยม

เมื่อมาพิจารณาถึงกรณีบ่อน การที่กฎหมายจะรับรองให้เป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย  จะต้องเฉลี่ยผลประโยชน์ที่เกิดจากเรื่องนี้ให้แก่สังคมได้ทั่วไป จะต้องป้องกันข้อเสียหายต่างๆ ที่จะพึงมีจากเรื่องนี้ไม่ให้เกิดขึ้น และจะต้องตอบสนองผู้คัดค้านเรื่องนี้ให้มีความพอใจ... ประมาณนี้

 

 

สำนักกฎหมายธรรมชาติ ถือว่า กฎหมายก็คือสิ่งที่เลียนแบบมาจากกฎธรรมชาติ ซึ่งปกปักรักษาธรรมชาติและสังคมให้ดำรงอยู่ได้.... กฎหมายที่เป็นธรรมที่สุดก็คือกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎธรรมชาติมากที่สุด ส่วนกฎหมายที่ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติก็คือกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งคนในสังคมอาจดื้อแพ่งต่อกฎหมายได้ เมื่อพิจารณาเห็นว่ากฎหมายนั้นๆ ขัดแย้งกับกฎธรรมชาติ...  ซึ่งนั่นก็คือ แนวคิดของลัทธิคานต์ที่ต้องการให้ทุกคนกระทำอย่างนั้น

เมื่อมาพิจารณาถึงกรณีบ่อน การที่จะรับรองให้เป็นสิ่งถูกต้องอาจฝืนต่อกฎธรรมชาติ เพราะการที่มนุษย์เกิดมาเพียงเพื่อมัวเมาและหลงระเริงต่อการพนัน น่าจะมิใช่วัตถุประสงค์ของธรรมชาติ... อนึ่ง กลุ่มนี้เชื่อว่า หลักศีลธรรมเป็นส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติที่มีขึ้นเพื่อความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของมวลมนุษยชาติ แต่การพนันกลับก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายในวิถีทางของมนุษย์ ดังนั้น การเปิดบ่อนเพื่อสนับสนุนการพนัน จึงน่าจะเป็นการฝืนต่อกฎธรรมชาติ... ประมาณนี้

 

สำนักประวัติศาสตร์ ถือว่า กฎหมายก็คือแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกตราไว้เป็นข้อบังคับ โดยแนวทางนี้ ได้มาจากการคิดค้น ลองผิดลองถูก และบ่มเพาะในสังคมนั้นๆ มาอย่างยาวนาน... และแนวทางนี้ก็จะได้รับการปรับปรุงไปเรื่อยๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป...  กฎหมายใดก็ตามที่สนับสนุนการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นก็นับว่าเป็นธรรม ส่วนกฎหมายใดที่ขัดแย้งจากนี้ก็อาจกล่าวได้ว่าไม่เป็นธรรม...  ซึ่งแนวคิดนี้ก็คือ ทฤษฎีคุณธรรมที่มุ่งหมายการพัฒนาอุปนิสัยที่พึงประสงค์นั่นเอง

เมื่อมาพิจารณาถึงกรณีบ่อน การที่จะำอนุญาตให้เป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจแก้ปัญหาทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ไม่พึงประสงค์ได้... แต่ผลกระทบด้านอื่นๆ ซึ่งบางอย่างอาจไม่เป็นที่พึงประสงค์ ก็อาจมีหรือเพิ่มมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน ถ้าบ่อนกลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายขึ้นมา...  ในปัจจุบันนี้ การที่มีบ่อนถูกกฎหมายอยู่บ้าง แต่โดยมากผิดกฎหมาย ก็อาจสอดคล้องกับแนวคิดนี้...ประมาณนี้

...........

อนึ่ง เกณฑ์ ฯ ทั้งสามนี้ อาจสรุปเป็น ๒ ฝ่าย กล่าวคือ

  • ฝ่ายหลักการ คือ ประโยชน์นิยมและลัทธิคานต์ มีลักษณะเป็นคำสั่งว่า จะต้องกระทำ (หรือไม่กระทำ)
  • ฝ่ายคุณธรรม คือ ทฤษฎีคุณธรรม ไม่เน้นคำสั่ง แต่เน้นที่การพัฒนาอุปนิสัยให้เหมาะสมหรือสอดคล้องกับอุดมคติที่พึงปรารถนา

ปัจจุบันนี้ นักจริยปรัชญาเชื่อว่า หลักศีลธรรมจะครบถ้วนสมบูรณ์ได้้ จะต้องประกอบทั้งสองฝ่าย... เมื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางแห่งกฎหมาย ผู้เขียนคิดว่า กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งที่สนับสนุนอุปนิสัยที่พึงปรารถนา

เมื่อมาพิจารณาถึงกรณีบ่อน กฎหมายปัจจุบัน แม้จะไม่อนุญาตให้บ่อนเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็มิได้สนับสนุนอุปนิสัยที่พึงปรารถนา

..........

บางท่านอาจแย้งว่า สารัตถะแห่งกฎหมายสนับสนุนอุปนิสัยที่พึงปรารถนา แต่กระบวนการทางกฎหมายต่างหากที่ก่อให้เกิดอุปนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา ...

ผู้เขียนก็ใคร่จะแย้งความเห็นข้างต้นว่า กรณีการที่จะทำให้บ่อนการพนันเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมายก็เช่นเดียวกัน  บรรดานักการเมืองอาจมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ หรือการกำจัดทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่คำนึงถึงการอนุญาตให้สัมปทานการเปิดบ่อนแก่กลุ่มทุนของตนเองและพวกพ้องเป็นประการสำคัญ...

  • บ่นเวียนไป บ่นวนมา ก็มาโผล่ประเด็นนี้ ดังนั้น เลิกบ่นดีกว่า

 

หมายเลขบันทึก: 168943เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2008 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
พระอาจารย์ครับ... นายกชืมไปบ่นไป...จนกระทั่งตอนนี้ย้ายไปบ่นไป...อิอิ สว่นพระอาจารย์จากเทศน์ไปบ่นไป...ตอนนี้บ่นไปเซ้งไป....55555 กราบ 3 หน
  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • นิโก่โล่ะ มาคิอา เว้ หลิ (Niccolo Machiavelli) เขียนตำราทางรัฐศาสตร์เรื่อง The Prince : เจ้าผู้ปกครอง ,แปลเป็นภาษาไทยโดย ศ.ดร. สมบัติ จันทรวงศ์
  • มาคิอา เว้หลิ ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับกฎหมายไว้ว่า
  • หากจะสร้างความจงรักภักดีด้วยความหวาดกลัว ก็ควรจะทำให้ตนเป็นที่หวาดกลัวในแบบที่แม้ไม่ได้ความรักมา แต่ก็ไม่เป็นที่เกลียดชัง ซึ่งการทำให้หวาดกลัวแต่ไม่เป็นที่เกลียดชังนี้ ก็สามารถทำได้โดยใช้ความโหดร้ายทารุณด้วยความสุขุม รอบคอบ
  • ความทารุณโหดร้ายที่กระทำอย่างฉับพลัน เหมาะกับความจำเป็นที่ต้องทำให้ตนเองมั่นคง และหลังจากนั้นแล้วก็ไม่ดำเนินต่อไป แต่เปลี่ยนไปให้ประโยชน์อันยิ่งใหญ่สูงสุด เท่าที่จะเป็นไปได้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง
  • ลักษณะของการใช้ความทารุณโหดร้ายอย่างดีนั้น หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วก็จะพบว่าลักษณะดังกล่าว คือลักษณะของกฎหมายนั่นเอง

กราบสมัสการพระอาจารย์

  • เข้ามาสนับสนุนครับ
  • ส่วนเหตุผลสนับสนุน อยู่ที่บันทึกนี้
  • แต่เอ...ไม่แน่ใจว่า พระอาจารย์เป็นสมาชิก Hi5 ด้วยหรือเปล่าครับ กำลังเป็นข่าว

กราบสมัสการครับ

นมัสการครับ

          ในสังคมไทยมักจะมีคำพูดว่า "ผลประโยชน์ร่วมกัน"ครับ  

          วลีดังกล่าว  สำหรับบางคน  อาจจะกลายเป็นความถูกต้องตามความคิดเห็นของเขาไปแล้วก็ได้กระมังครับ

          ทั้งนักการเมือง  และ ประชาชน

 

P

นายขำ

 

ท่านเลขาฯ เข้าใจอาตมาได้ลึกซึ้ง 5 5 5....

...............

P

กวินทรากร

 

เจ้า ของ เมเคียวเวลลี เคยอ่านนานแล้ว แต่ก็ไม่ค่อยจะเข้าใจนัก เนื่องจากผู้เขียนใช้เหตุการณ์ของยุโรปเป็นตัวบ่งชี้ ส่วนหลวงพี่ไม่รู้รายละเอียดประวัติศาสตร์ยุโรป...

ข้อดีอย่างหนึ่งของการเรียนปรัชญาก็คือ มักจะรู้จักหนังสือดังๆ ในแต่ละสาขา แต่หลายเล่มก็รู้จักเพียงแต่ชื่อ...

เดียวนี้ียุคอินเทอร์เน็ต หนังสือดังๆ เก่าๆ พอหาอ่านได้ แต่อินเทอร์เน็ตมาช้าไป เพราะหลวงพี่โดนโรคเบื่อหนังสือเข้าครอบงำเสียแล้ว (5 5 5....)

.........

P

กิตติพงศ์ พลเสน

 

เคยเขียนเล่าไว้ที่นี้ จาก gotoknow ถึง hi5 และ facebook

แต่หลวงพี่ก็ไม่ได้ใช้อะไรมาก เพียงแต่เข้าไปสังเกตการณ์บ้างเป็นบางครั้งเท่านั้น

..........

เจริญพรทุกท่าน

 

P

small man

 

เห็นด้วยกับท่าน ผอ....

  • ผลประโยชน์ร่วมกัน คงจะดังที่เค้าชอบพูดกันว่า win-win

เจริญพร

และแล้ววันนี้ก็มาถึง บ่อนเสรี

หากเปรียบเทียบความดีในประเทศไทยกับคนป่วยแล้ว คงจะเข้าขั้นโคม่า หายใจระรินรวย รอเพียงวันหมดลมเท่านั้น

มีนักรบแห่งธรรมอีกหลายรูป ที่ท่านสู้อย่างเต็มกำลังของท่าน และรู้สึกว่าการแก้ปัญหาวันนี้ มันทั้งหนักทั้งเหนื่อยแสนสาหัญ อดหลับอดนอน ข้าวปลาที่ฉันได้เพียงมื้อเดียวต่อวันนั้นก็แทบจะไม่ได้ฉัน ด้วยภาระที่หนักอึ้งเช่นนั้น จะขบฉันอะไรก็แทบจะฉันไม่ลง

 กงล้อธรรมจักรที่ต้องฝืนเข็นจนแทบหมดเรี่ยวแรงนั้น เหมือนจะมีแรงต้านอันมหาศาลที่ทำให้หมุนกลับในทิศทางตรงกันข้าม 

 

..เราจึงคิดต่างที่จะไม่สู้

แต่ขอฝ่าวงล้อมไปซ่องสุมกำลังพล เฉกเช่นเดียวกับพระเจ้าตาก

 

“การที่สังคมย่อยยับในเวลาที่สมควร … เป็นประโยชน์”

http://gotoknow.org/blog/forearth/168753

  • แวะมานมัสการ พระอาจารย์ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท