รูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ


5 ขั้นตอน มาบูรณาการเข้าดัวยกัน

         รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคนในองค์กรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น  ในแต่ละสถานศึกษา  แต่ละองค์กรนั้น  จะมีแนวทางการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับ บริบท  หรือ สภาพแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ  หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ในแต่ละสถานศึกษา ดังเช่น บางสถานศึกษา สามารถดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management  Process )  ดังนี้

       1. การบ่งชี้ความรู้ เช่น พิจารณาว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง  อยู่ในรูปแบบใด  อยู่ที่ใคร

       2. การสร้างและแสวงหาความรู้  เช่น การสร้างความรู้ใหม่  แสวงหาความรู้จากภายนอก  รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว 

       3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ  เป็นการวางโครงสร้างความรู้  เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต

       4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  เช่น การปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน  ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

       5. การเข้าถึงความรู้  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้น เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

       6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้  ทำได้หลายวิธีการ โดยอาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออาจทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ และนวัตกรรม  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  ระบบพี่เลี้ยง  การสับเปลี่ยนงาน เวทีแลกเปลี่ยนความรู้  เป็นต้น

      7.  การเรียนรู้  ทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้  เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

       สำหรับโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ  ได้นำเอาแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ประกอบไปด้วย  5  ขั้นตอน  มาบูรณาการ ผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ  เพื่อให้เกิดการใช้ความรู้ของบุคคลในองค์กร ได้อย่างมีคุณภาพ  ได้แก่

      1. การจัดการให้เกิดการเรียนรู้ (Learning)  โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถสร้างภาพฝันร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียนทุกคน ให้เกิดไปพร้อม ๆ กับงานประจำเดิมที่ทำอยู่ พร้อมกับสร้างสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้

      2. การจัดการให้เกิดการเรียนรู้ (Knowledge Organizing)  เพื่อให้บุคลากรทุกคนรู้ว่า หน่วยงานของเราจะต้องมีความรู้อะไร จึงจะทำให้งานได้ผลดี มีประสิทธิภาพ เมื่อรู้แล้วจะไปหามาจากไหนได้บ้าง จะสร้าง จะค้นหามาไว้ เพื่อนำเอามาจัดรวมกันให้เป็นวิธีการทำงาน หรือนวัตกรรมของสถานศึกษา

      3. การจัดการให้เกิดการใช้ความรู้ (Knowledge  Acting)  เพื่อทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นได้มีโอกาสนำมาใช้ หรือทดลองปฏิบัติจริงในหน่วยงาน

      4. การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing)  เพื่อให้คนทำงานที่ทำงานได้ผลดี ได้นำเอาวิธีปฏิบัติจนได้ผลดีนั้นมาเล่า แลกเปลี่ยนให้คนอื่น ๆ ได้รับทราบ และนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้

      5. การจัดการให้เกิดคลังความรู้ (Knowledge Asset) เพื่อให้มีการจัดเก็บ เผยแพร่ ทบทวน เข้าถึงความรู้ที่ดี ที่ผ่านการนำไปปฏิบัติจนเห็นผลมาแล้ว ไว้ให้คนอื่น ๆ ได้เอาไปดู ไปใช้ ไปต่อยอดได้ต่อไป

     ดังนั้น รูปแบบการจัดการความรู้ที่สถานศึกษาได้นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น สามารถจัดการความรู้ที่มีในตัวของแต่ละบุคคล ให้สามารถใช้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

       

หมายเลขบันทึก: 168399เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2008 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มีความเชื่อว่ารูปแบบการจัดการความรู้
  • ต้องจัด หรือ ปรับให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน
  • อยากให้ดูโรงเรียนนี้ครับพี่
  • ที่นี่ครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท