รายงานการวิเคราะห์การบริหารจัดการการพยาบาลชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชน คลองหนึ่ง หมู่ 13 ( นวนคร) 2


3. ข้อมูลด้านการบริหารจัดการองค์กรในประเด็นต่อไปนี้


 1.  การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์  การประเมินผลและ การบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพ ดังตารางนี้

Input

process
output
outcome
Man
 - เจ้าพนักงานสาธารสุข 3 คน ปฏิบัติงานจริง 2 คน
  - พยาบาลจากรพ.ธรรมศาสตร์ ( 12 ชม/สัปดาห์)
 - แพทย์จากรพ.ธรรมศาสตร์(2-3 ชม/เดือน)
 - ให้บริการเฉพาะหน้า
เจ้าหน้าที่จาก CUP
 - ให้ผู้รับบริการไปรับบริการจาก CUP
- มีแผนพัฒนาบุคลากร
- การรักษาเบื้องต้น
- ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเฉาพะหน้า
- บุคลากรมีความรู้เพิ่มขึ้น
-คุณภาพของงานลดลง(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่)
-ความพึงพอใจของผู้มารับบริการ และจนท.ต่ำ (จากการสอบถาม)
-คุณภาพของงานเพิ่มขึ้น
Money
 - งบประมาณหลักจากโครงการ 30 บาท (35 บาท/คน)
 - งบประมาณตาม work load
 - งบประมาณโครงการพิเศษ
 -จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และมีการปรับแผนการใช้จ่ายตามสถานการณ์
 -จัดทำโครงการ
 -วัสดุและเวชภัณฑ์ยาบางชนิด
 -โครงการ
 -การรักษา
-คุณภาพในการรักษาลดลงบางโรคไม่สามารถให้การรักษาได้เนื่องจากขาดเวชภัณฑ์ เช่น ยาชา(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่)
Machines
 - ครุภัณฑ์ Unused Utilization ได้แก่ ห้องและอุปกรณ์ ทันตกรรมและหม้อนึ่ง
 - ยานพาหนะไม่มียานพาหนะในหน่วยงาน
 -Unuse Utilization
(ห้องทันตกรรม หม้อนึ่ง)
 -ใช้ยานพาหนะของผู้มารับบริการหรือเจ้าหน้าที่
 -ไม่มีการให้บริการ
 - ให้บริการได้บางกรณี

-คุณภาพการให้บริการลดลง(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่)
-ความพึงพอใจของผู้มารับบริการ และจนท.ต่ำ(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ)


 

Input

process
output
outcome
Material
 - เวชภัณฑ์
 - Building
 -จัดทำแผนการจัดซื้อวัสดุ เวชภัณฑ์ทางการแพทย์บางอย่าง
 -การทำเสนอขอขยายอาคาร
(Building)
 -ไม่มีแผนการซ่อมบำรุง
 - วัสดุและเวชภัณฑ์ยาบางชนิด
 - อาคารขยายใหม่
 -อุปกรณ์บางชนิดเสื่อมทำให้ไม่พร้อมใช้งาน  หรือขาด
 -คุณภาพของงานลดลง(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่)
 -ความพึงพอใจของผู้มารับบริการ และจนท.ต่ำ(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ)
Information
 -ด้านการบริการใช้ HCIS
 -ด้านบริหารใช้ Win speed 4.0
 -มีข้อมูลครบ  พร้อมใช้
 - สะดวก
 -ประหยัดเวลา
(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่)
Time
 - ให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00น.(ในวันที่ออกเยี่ยมบ้านจะไม่เปิดทำการรักษา)
 -ให้บริการเฉพาะในเวลาราชการ
 - พลักดันให้ผู้รับบริการไปรับบริการจาก CUP
 - ให้บริการได้น้อย
 -ความพึงพอใจของผู้มารับบริการต่ำ(จากการสอบถามเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ)

2.  การพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล

          2.1 การพัฒนาองค์กร
          -  PCU.  มีการดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  และผ่านการรับรองตามมาตรฐาน  PCU.
            -  มีความยืดหยุ่นการปรับแผน/นโยบาย  เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์  และสถานการณ์ในปัจจุบัน
          2.2 การพัฒนาบุคลากร
1 .  การฝึกอบรมทักษะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ยุทธศาสตร์
1.      การพัฒนาระบบบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
2.       การพัฒนามาตรฐานหน่วยบริการให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน PCU
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน
กิจกรรม
1.  สำรวจหลักสูตรที่จำเป็นของหน่วยงาน
2. ให้เจ้าหน้าที่แสดงความจำนง
3.       ประเมินผลการฝึกอบรม
ตัวชี้วัด
1.      เจ้าหน้าที่ทุกท่านได้รับการพัฒนาศักยภาพตามเกณฑ์ที่ กพร.กำหนดครบทุกคน
เป้าหมาย
อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 หลักสูตรต่อปี
งบประมาณ
15,000 บาท
ผลงาน
1.      เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามแนวทางที่หน่วยงานต้องการ
2.       ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีมากขึ้น
ระยะเวลา
ต.ค.48-ก.ย.49
2.  การศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่
ยุทธศาสตร์
1.      การพัฒนาระบบบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
2.       การพัฒนามาตรฐานหน่วยบริการให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับการเรียนรู้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากหน่วยบริการอื่นๆเพื่อนำมาประยุกต์ปรับปรุงงานตนเอง
กิจกรรม
1.      สรุปประเด็นที่ต้องการเรียนรู้
2.       หาข้อมูลสถานที่ที่เหมาะสม
3.       ประเมินผลการพัฒนางาน
ตัวชี้วัด
1.      เจ้าหน้าที่ทุกท่านได้รับการเรียนรู้ศึกษาดูงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เป้าหมาย
                         1 ครั้ง
งบประมาณ
                        15,000 บาท
ผลงาน
1.      เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามแนวทางที่หน่วยงานต้องการ
2.       ประสิทธิภาพในการดำเนินงานมีมากขึ้น
ระยะเวลา
ต.ค.48-ก.ย.49
3.  การพัฒนาทักษะการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์
1.      การพัฒนาระบบบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
2.       การพัฒนามาตรฐานหน่วยบริการให้ผ่านการรับรองมาตรฐาน
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รับการทบทวนฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
กิจกรรม
1.      กำหนดหลักสูตร
2.       กำหนดระยะเวลา
3.       กำหนดการฝึกอบรม
4.       ประเมินผลการฝึกอบรม
ตัวชี้วัด
1.      เจ้าหน้าที่ทุกท่านได้รับการฝึกอบรมทบทวนการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
2.       เจ้าหน้าที่สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
เป้าหมาย
                        1 ครั้ง
งบประมาณ
                        15,000 บาท
ผลงาน
1.      เจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมทบทวนการใช้เครื่องมือ
2.       เจ้าหน้าที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานมากขึ้น
ระยะเวลา
                                    มี.ค.49
เกณฑ์เข้ารับการอบรมของบุคลากร
            1 . ตรงตามงานที่รับผิดชอบ
            2.  เป็นโครงการที่ทาง CUP สสอ.หรือ สสจ.จัดขึ้น (หากเรื่องอื่นๆที่สนใจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ) หลังเข้ารับการอบรมจะต้องสรุปเนื้อหาให้แก่เจ้าหน้าที่คนอื่นทราบด้วย
3.   สารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ด้านบริการพยาบาล 
            1. ใช้ระบบ HCIS (health center information system ) ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยเมื่อรับบริการโดยจะมีข้อมูล คือ ชื่อ-สกุล  อายุ เพศ ประวัติการแพ้ยา ประวัติที่เคยได้รับการรักษาครั้งที่ผ่านมา  สิทธิในการรักษา  กลุ่มอาการ การได้รับการรักษาในครั้งนี้  โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบโดยอาจารย์สัมฤทธ์  สุขทวี ซึ่งจะออกแบบตามที่ สอ.ต้องการ อิงกับระบบTBHDB
2. จัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปเรื่องการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบวิชาชีพและสิ่งแวดล้อม
            3. จัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ
ด้านการบริหาร
            ใช้การการจัดเก็บข้อมูลด้วยโปรแกรม Win speed 4.0
4.  การพัฒนาระบบ และการควบคุมมาตรฐาน
มาตรฐานบริการพยาบาล / มาตราฐานการจัดบริการสุขภาพ
มีการจัดทำมาตรฐานการบริการพยาบาลโดยอิงกับมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน ดังนี้
หมวดที่ 1 มาตรฐานด้านบริการ
มาตรฐานด้านกิจกรรมในชุมชน
1.   ประสานงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน/ทำกิจกรรมสาธารณสุขในชุมชน
ตนเองและสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ริเริ่มจากองค์กรชุมชน/ท้อง ถิ่น
2. ร่วมดำเนินงานกับหน่วยราชการ/องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
3.  บริการเชิงรุกเพื่อให้ชุมชนสามารถประเมินภาวะสุขภาพของครอบครัวและปัจจัยที่จะกระทบต่อสุขภาพ เพื่อวางแผนในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
4.  มีและใช้แฟ้มครอบครัว Family Folder เพื่อการดูแลสุขภาพ
5.  มีและแฟ้มชุมชน Community Folder
มาตรฐานกิจกรรมในศูนย์สุขภาพชุมชน
6. มีรูปแบบบริการที่เห็นชัดเจนด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม(กาย จิต สังคม)
7. มีระบบข้อมูลที่สามารถสืบค้นข้อมูลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วย การติดตามและการส่งต่อได้สะดวก
8. ทีมสุขภาพสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้มารับบริการไปสู่การป้องกันปัญหาเสริมสร้างสุขภาพ(กายจิตสังคม)ในกลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกต้องตามแนวทาง กระบวนการ มาตรฐาน คู่มือ
9. มีบริการรักษาพยาบาลทุกกลุ่มอาการ ที่ผสานกับการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ เชื่อมต่อกับการบริการภายในเครือข่ายและการดูแลฉุกเฉินทั้งในและนอกเวลาราชการ
10. มีการจัดบริการด้านทันตกรรมและการส่งเสริมป้องกันโรคทางด้านทันตกรรม
11.  มีบริการด้านการชันสูตรที่ครบตามมาตรฐาน
12.  มีบริการด้านยา ทั้งด้านระบบการจัดยา การจัดเก็บยา การจ่ายยา การกำกับคุณภาพ มาตรฐานยา
13. มีบริการการแพทย์แผนไทย / การแพทย์ทางเลือก
14. มีบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคในหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-5 ปี
มาตรฐานบริการต่อเนื่อง
15. มีและใช้บันทึกสุขภาพรายบุคคล Personal Record
16. มีบริการให้คำปรึกษา Counseling
17. มีระบบส่งต่อที่มีคุณภาพทั้งไปและกลับในกรณีฉุกเฉินได้อย่างวดเร็ว
18. มีบริการเยี่ยมบ้านเพื่อให้การบริการ รวมทั้งติดตามเยี่ยมเพื่อทำความรู้จัก สร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพให้แก่ครอบครัว และการให้บริการแก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพตามความจำเป็น
หมวดที่  2  มาตรฐานการบริหารจัดการ
19.  มีทีมสุขภาพให้บริการต่อเนื่องเป็นทีมประจำ
20.  มีการพัฒนาบุคลากรต่อเนื่อง
21.  บุคลากรมีความสามารถในการวางแผนแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
22.  มีการพัฒนามาตรฐานบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
23.  มีแผนพัฒนาและติดตามประเมินผลงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
หมวดที่  3  มาตรฐานด้านวิชาการ
24.  มีแนวทาง กระบวนการ มาตรฐาน คู่มือการให้บริการ
25.  มีนวตกรรมด้านต่างๆในศูนย์สุขภาพชุมชน
26.  มีการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่
5. การจัดการผลลัพธ์และความเสี่ยง
          มีการจัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิดังนี้
            Primary Prevention ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาเด็ก 0-6 ปี   โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โครงการขยับกายสบายชีวี  โครงการตลาดนัดเพื่อสุขภาพ  โครงการส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก เป็นต้น
            Secondary Prevention ได้แก่ โครงการคลินิกแพทย์แผนไทย  ค่ายาและเวชภัณฑ์/วัสดุการแพทย์  ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ  ค่าจ้างตรวจและวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการ
            Tertiary Prevention ได้แก่ โครงการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในชุมชน และโครงการติดตามฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

6.   ประเด็นทางสังคมและจริยธรรม
•        เช่น กรณีผู้ป่วยเป็นเริม  โดยทาง PCU.  จะให้ผู้ป่วยได้เลือกวิธีการรักษาได้ด้วยตนเอง  ซึ่งอาจจะเป็นการเลือกรักษาแบบการแพทย์แผนไทย  เป็นต้น
•        ให้คุณค่าการเป็นบุคคลเท่ากัน
•        การให้บริการแก่ผู้ที่อยู่นอกเขตบริการ  เช่น  ประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานในโรงงานซึ่งเป็นเขตพื้นที่รับผิดชอบ
บทวิเคราะห์ สรุปและข้อเสนอแนะ
จุดแข็ง
1.      สามารถให้บริการได้โดยมีเจ้าพนักงานสาธารณสุขเพียง 2 คน
2.      มีนโยบาย แผนงานต่างๆ เช่นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อยาที่ชัดเจน
3.      มีการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบ
4.      มีเกณฑ์การปฏิบัติงาน คือ มาตรฐานการบริการ
จุดอ่อน
1.      จากการที่มีเจ้าหน้าที่ 2 คน ทำให้คุณภาพการบริการลดลง ให้บริการเฉพาะหน้า ความพึงพอใจของผู้มารับบริการ (จากการสอบถาม) จึงค่อนข้างน้อย
2.      มีการจัดซื้อวัสดุและเวชภัณฑ์ยาบางชนิด  ทำให้การบริการอาจไม่ครอบคลุม

 

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าไปศึกษาเรียนรู้
1.      ระบบการทำงาน การติดตามนโยบาย
2.      สภาพความเป็นจริงของหน่วยงาน PCU (ที่รัฐบาล / นโยบายคาดหวังให้เป็นด่านหน้า)
3.      การรู้จักการปรับตัวในการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ / สถานการณ์ของหน่วยงานและพื้นที่
4.      ต้องรู้จักทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี  เนื่องจากการทำงานใน PCU อาจมีปัญหาเร่งด่วนที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
5.      เจ้าหน้าที่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
เอกสารอ้างอิง
ขนิษฐา  นันทบุตร. (2549).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการบริการ
สุขภาพในชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
----------------------. (2549).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการจัดการผลลัพธ์และความเสี่ยง
ทางการพยาบาลชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณิภา  อัศวชัยสุวิกรม. (2548).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนาองค์กรและทรัพยากร
บุคคลในหน่วยบริการสุขภาพชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวรรณา  จันทร์ประเสริฐ.(2548).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการวินิจฉัยชุมชน.                
คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
------------------------------.(2548).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องหลักการจัดการเชิงกลยุทธ์และ
การประเมินผลในการบริหารชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุลี  ทองวิเชียร.(2548).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องหลักการและกระบวนการบริหารจัดการ
ทรัพยากรสุขภาพ.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
------------------.(2548).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
พยาบาลชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
------------------.(2549).เอกสารประกอบการบรรยายเรื่องการพัฒนาระบบและการควบคุมมาตราฐาน
การบริการพยาบาลชุมชน.คณะพยาบาลศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.


หมายเลขบันทึก: 16836เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท