รายงานการวิเคราะห์การบริหารจัดการการพยาบาลชุมชนศูนย์สุขภาพชุมชน คลองหนึ่ง หมู่ 13 ( นวนคร) 1


บทนำ
วัตถุประสงค์
1.      อธิบายการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และการประเมินผลได้
2.      อธิบายการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพได้
3.      อธิบายหลักการพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคลในหน่วยบริการสุขภาพชุมชนได้
4.      อธิบายการจัดการด้านสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการพยาบาลชุมชนได้
5.      อธิบายการพัฒนาระบบและการควบคุมมาตรฐานบริการพยาบาลชุมชนได้
6.      อธิบายการจัดการผลลัพธ์และความเสี่ยงทางการพยาบาลชุมชนได้
7.      วิเคราะห์ประเด็นทางสังคมและจริยธรรมในการบริหารจัดการการพยาบาลชุมชนได้
ขอบเขตการศึกษา
1.      วิเคราะห์หลักการและกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพของสถานบริการในด้าน Input Process และ Output
2.      การจัดการบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ Primary Prevention ,Secondary Prevention, Tertiary Prevention
3.      หน่วยงานมีการกำหนดมาตรฐานบริการพยาบาล/มาตรฐานการจัดบริการสุขภาพในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิหรือไม่อย่างไร
4.      ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการบริการพยาบาล กับกระบวนบริหารของหน่วยงานเป็นอย่างไร
5.      ประเด็นทางสังคมและจริยธรรม
6.      การพัฒนาองค์กรและบุคคล
           
แนวทางและวิธีการศึกษา
            ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก ศึกษาดูงานโดย การซักถาม  สังเกตจากเจ้าหน้าที่  และผู้มารับบริการ  และจากการศึกษาจากเอกสารแผนงานและโครงการ  ของหน่วยงาน  PCU.  คลองหนึ่ง     หมู่ 13
2.  ข้อมูลทั่วไปขององค์กรที่ศึกษา
            สุขภาพชุมชน ( PCU.)  คลองหนึ่ง หมู่ 13 ( นวนคร)   อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของCUP. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  ประกอบด้วย  ศูนย์สุขภาพชุมชน ( Primary Care Unit)  จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง ดังนี้
1.      ศูนย์สุขภาพชุมชนคลองหนึ่ง หมู่  8
2.      ศูนย์สุขภาพชุมชนคลองหนึ่ง หมู่ 13
3.      ศูนย์สุขภาพชุมชนคลองสอง หมู่ 7
4.      ศูนย์สุขภาพชุมชนคลองสอง หมู่ 13
ซึ่งหน่วยงานที่ทางกลุ่มศึกษา ตั้งอยู่ที่คลองหนึ่ง  หมู่ 13 ( นวนคร ) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้นโดยประมาณ 11,000 คน  พื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 10 หมู่บ้าน โรงเรียนในความรับผิดชอบดูแลทั้งสิ้น 10 แห่ง และโรงงานที่ดูแลโดยประมาณ 10 แห่ง
ขอบเขตความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนคลองหนึ่ง หมู่ 13
1.      งานบริหารและสนับสนุนบริการ ประกอบไปด้วยงานดังต่อไปนี้
-         งานบริหารทั่วไป
-         งานบริหารบุคคล
-         งานระบาดวิทยา
-         งานพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ
-         งานวางแผนและประเมินผล
-         งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
-         งานการเงินและบัญชี
-         งานพัฒนามาตรฐาน
-         งานพัสดุ
-         งานบริหารเวชภัณฑ์
-         งานสร้างหลักประกันสุขภาพ
2.      งานบริการในชุมชน
-         งานควบคุมและป้องกันโรค
-         งานส่งเสริมสุขภาพ
-         งานคุ้มครองผู้บริโภค
-         งานฟื้นฟูสมรรถภาพ

-         งานสุขภาพจิตและผู้สูงอายุ

-         งานแก้ไขปัญหายาเสพติด
-         งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
-         งานอนามัยโรงเรียน
-         งานสร้างสุขภาพภาคประชาชน
-         งานหน่วยบริการเคลื่อนที่
2.      งานบริการในสถานบริการ
-         งานผู้ป่วยนอก
-         งานคลินิกฝากครรภ์
-         งานคลินิกวางแผนครอบครัว
-         งานคลินิกโรคเรื้อรัง
-         งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
-         งานคลินิกให้คำปรึกษา
-         งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
-         งานคลิกนิกพัฒนาการเด็กและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
3.      งานพัฒนาวิชาการ
-         งานวิจัยในพื้นที่
-         งานพัฒนาคู่มือการบริการ
-         งานประเมินภาวะสุขภาพชุมชน
-         งานระบบข้อมูลและรายงานผล

  
หมายเลขบันทึก: 16834เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2006 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท