อนุทินส่วนตัว ๒๕ ก.พ. ๕๑


KM Website
Knoco : บริษัทที่ปรึกษา สร้าง longterm sustainable value จาก KM 
http://www.knoco.co.uk/

KM ครูวิทย์ในดวงใจ
เพื่อแนะนำให้วงการ บวท. และ สวทช. รู้จักเครื่องมือ KM – ได้ผล
     • ได้ยกย่องครูวิทย์ในดวงใจศิษย์จำนวน ๓๐ คน
     • ได้แนะนำเครื่องมือ KM ให้หลายวงการได้รู้จัก     และนำไปใช้ทำงานในหลากหลายเรื่อง
     • ได้เชื่อมโยง สคส. กับภาคีใหม่ คือ บวท. และ สวทช. 
             สิ่งที่ผมอยากรู้เป็นพิเศษคือ ผู้เกี่ยวข้องในโครงการนี้ได้นำวิธีการ KM ไปใช้ต่อเนื่องอย่างไรบ้าง

ก้าวไปด้วยกัน
จุลสารเพื่อชุมชนพิพิธภัณฑ์ ศมส.   http://www4.sac.or.th/museumdatabase/PDF_newsletter/Newsletter12.pdf 
            วันนี้ได้รับจุลสารฉบับที่ ๑๓    มีเรื่องเด่นคือ สัมภาษณ์พิเศษ ศ. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ    กับเรื่องงานจดหมายเหตุ กับ งานพิพิธภัณฑ์ ความเหมือนในความต่าง

พรพ.
ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
www.ha.or.th
ผมเข้าประชุมในฐานะผู้แทน ผอ. สกว.
     • พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ. … ไม่ทันรัฐบาลที่แล้ว     ต้องขอให้ รมต. สธ. ท่านใหม่เสนอไปใหม่
     • 9th HA National Forum  “องค์กรที่มีชีวิต”  11 – 14 มี.ค. 51    มี Humanized Health Care Award เพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ   มอบโดย ศ. นพ. ประเวศ วะสี
     • รับรอง HA และ/หรือ HPH  18 โรงพยาบาล
     • ได้เรียนรู้ว่า รพ. ในสังกัด กทม. มีข้อด้อยที่ไม่มีความคล่องตัวในการใช้เงินบำรุง
     • ได้เห็น risk management โดยแพทย์อาวุโสทำหน้าที่ทีมทบทวนเวชระเบียน แล้วนำสู่การเรียนการสอน
     • มีการเอ่ยถึงการฝึกผู้ช่วยพยาบาลขึ้นทำหน้าที่ช่วยพยาบาล     และการมีอาสาสมัครของโรงพยาบาล 

     • เวลานี้โรงพยาบาลต่างๆ นิยมเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การแพทย์  (Medical Center)
     • สัดส่วนการคลอดโดยการผ่าตัด ถ้าสูง จะเป็นที่เพ่งเล็งของคณะกรรมการตรวจเยี่ยม
     • เห็นได้ชัดเจนว่า HA เป็นกระบวนการ ที่ขับเคลื่อนขบวนการคุณภาพในระบบบริการของโรงพยาบาล     เน้นผลงาน ไม่ใช่เน้นการประเมิน
     • มีบาง รพ. คุณภาพบริการยอดเยี่ยม  แต่หย่อนด้านการสร้างเสริมสุขภาพของเจ้าหน้าที่    เจ้าหน้าที่อ้วน  ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
     • รพ. ชาติตระการ  จ. พิษณุโลก เด่นมากด้าน HPH
     • รพ. ที่มีการเรียนการสอน นศพ. มีโอกาสใช้ อจ. และ นศพ. เข้าร่วมพัฒนาคุณภาพได้ดี
     • มาตรฐานใหม่ บูรณาการ HA กับ HPH เข้าด้วยกัน    ตรวจเยี่ยมพร้อมกัน
     • รพ. ตาคลี มีนวัตกรรมด้านการจัดการคุณภาพหลายด้าน เช่น OM, HHC (Humanized Health Care), PMQA, KM
     • รพ. สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย  จ. เลย โดดเด่นทุกระบบ     เอาใจใส่ชุมชนเป็นพิเศษ
     • รพ. ที่ผู้ตรวจเยี่ยมชมมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ภูมิพล  ราชวิถี  ตาคลี  เชียงของ  ด่านซ้าย
     • มีข้อมูล รพช. แทบทั้งหมดปิดห้องผ่าตัด ไม่ผ่าตัด เพราะไม่มีหมอดมยา      หลังจากที่หมอดมยาที่ทุ่งสงถูกฟ้องและศาลตัดสินจำคุก    และมีแนวโน้ม ผป. ขอตรวจพิเศษมากขึ้น (ไม่เสียเงิน)
     • ไม่มีช่องทาง communication ทางวิชาการภายในกระทรวงสาธารณสุข 
     • ไม่มีกลไกกลางทำหน้าที่สร้าง synergy ในระบบสุขภาพ     และ synergy ระหว่างระบบสุขภาพกับระบบอื่นๆ ในสังคม  เช่น ระบบศาล     **ผมมองว่าหน้าที่นี้ต้องทำโดยหน่วยงานที่มี “ปัญญาพละ”   ไม่ใช่โดยอำนาจพละ     และทำโดย communication
     • **พรพ. มีข้อมูล รพ. เชิงลึก     หากเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ เชิงระบบ     จะได้ข้อเสนอแนะเชิงระบบ/เชิงนโยบาย     เป็นนโยบายสาธารณะ เสนอต่อสาธารณชน     พรพ. น่าจะร่วมมือกับหน่วยงานที่มีทักษะด้าน policy research (เช่น สวรส., มสช.) เอาข้อมูลจาก พรพ. ไปใช้พัฒนานโยบายสาธารณะ     งานนี้หา grant ได้ไม่ยาก
     • สำนักงานประกันสังคม เอาผลการรับรอง HA ไปพิจารณา รพ. ในด้านอนุมัติจำนวนผู้ประกันตน    บาง รพ. เวชระเบียนยังไม่ค่อยดี สำนักงานประกันสังคม จึงไม่อนุมัติเพิ่มจำนวนผู้ประกันตน    
     • มีการ ลปรร. เรื่องตัวคุณภาพของบริการที่แท้จริง     ตัวระบบการจัดการคุณภาพ     การที่ รพ. เอาการรับรองคุณภาพไปโฆษณาแบบเกินจริง     แบบตอแหล
     • **สคบ. ต้องทำหน้าที่ “คุ้มครอง” เป็น negative mechanism  เพื่อประโยชน์ของประชาชน    ที่ทำหน้าที่เชิง quasi-positive ได้ด้วย    โดยส่งเสริมให้มีการนำเอาการโฆษณาที่ “หมิ่นเหม่ที่จะเกินจริง” มาวิจัยทำความเข้าใจกับสาธารณชน
     • รพช. จะทำงานง่าย ถ้า อบต./ผู้นำชุมชน เข้มแข็ง    เข้าร่วมส่งเสริม รพ. 

ฉลาดขึ้นด้วย Nanotech
               Raymond Kurzweil ทำนายว่า ภายในปี ค.ศ. 2029 สมองมนุษย์จะเปลี่ยนไป     กลายเป็นสมองที่ได้มาจากธรรมชาติ เสริมด้วย brain transplant ด้วย nanobots     ถ้าคำทำนายนี้เป็นจริง โลกจะเข้าสู่ยุค human artificial intelligence

KM รักษาโรค
ได้ยินอย่างมีสติ  หรือ CoP ผู้ได้ยินเสียง
              มีคนจำนวนหนึ่งโชคร้าย ได้ยินเสียงในลักษณะประสาทหลอน     ผลคือเสียสติ    เวลานี้มีวิธีรักษาโดยตั้งกลุ่มช่วยเหลือกันเอง ชื่อ HVN – Hearing Voices Network     คล้ายๆ self-help group    หรือภาษา KM ว่า CoP – Community of Practice ของผู้ได้ยินเสียงที่ไม่มี     ลปรร. วิธี dialogue กับเสียง (ที่ไม่มี) ที่ตัวเองได้ยิน    โรคร้ายจะหายไป
           มีนักวิจัยชาวดัทช์ บอกว่าคนได้ยินเสียงแบบประสาทหลอนพบบ่อยถึง ๑ ใน ๒๕ คน
           อ่านเรื่องราวใน Time  March 3, 2008    หรือค้นด้วยชื่อ Peter Bullimore

หมายเลขบันทึก: 167476เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท