ประเด็นข่าว: นวัตกรรมประหยัดน้ำมัน


ผู้จัดการออนไลน์ คุณภาพชีวิต 21 กุมภาพันธ์ 2551

       ปัญหาน้ำมันแพงดูเหมือนจะเป็นปัญหา ของผู้ใช้รถทุกคนที่ในทุกวันนี้ต้องรับภาระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขึ้นเอาๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นข้อท้าทายแก่บรรดานักคิดนักประดิษฐ์ทั่วไป ที่ต้องการจะคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดเสวนาแนะนำผลงานการวิจัยอุปกรณ์ควบคุมอากาศและน้ำมันในระบบจุดระเบิด ของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและดีเซลขึ้น
       
       นายสุรพล ภูมิพระบุ ครูชำนาญการประจำภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น เปิดเผยว่า ปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในยุคปัจจุบัน ทำให้นักประดิษฐ์คิดค้นได้พยายามหาอุปกรณ์หรือวิธีการต่างๆ เพื่อเข้ามาช่วยในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถทำให้เกิดการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้รถ จึงเป็นที่มาของอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Innovation
       
       Innovation (เลขที่สิทธิบัตร 099164) เป็นอุปกรณ์ควบคุมอากาศและเชื้อเพลิง ที่ช่วยให้ยานยนต์มีความคุ้มค่ากับพลังงานที่ต้องสูญเสียไป ใช้หลักการเปลี่ยนอะตอมของไฮโดรคาร์บอนและมวลของอากาศในพื้นที่จำกัด ความเร็วน้ำมันขณะเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของอากาศ ในลักษณะลดอุณหภูมิก่อนเข้าในห้องเผาไหม้ ในการทำงานของเครื่องยนต์ทั่วๆ ไป ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานในจังหวะดูดลูกสูบ จะเคลื่อยที่จากศูนย์ตายบน (TDC) สู่ศูนย์ตายล่าง (BDC) ภายในห้องเผาไหม้จะเกิดสุญญากาศ ลิ้นไอดีจะเปิดให้อากาศเข้าไปในกระบอกสูบ จากนั้นจะเกิดการอัดอากาศ/ระเบิดและคายไอเสีย อันเป็นวัฎจักรของเครื่องยนต์ทุกชนิด ผลงานวิจัยยังเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเมื่ออุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิน้ำมัน เปลี่ยนแปลง จะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบและเดินได้ดีขึ้น
       
       นอกจากนั้น Innovation สามารถติดตั้งได้ง่าย ทำให้อุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น 20% พร้อมปรับ อุณหภูมิน้ำมันขึ้นไปอีก 25% เพิ่มอัตราเร่งแรงบิดได้ถึง 15-25% ลดควันดำได้ 20-35% ประหยัดน้ำมันได้ตั้งแต่ 20% ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับชนิดของรถ สภาพการใช้งาน และชนิดของน้ำมัน แต่ไม่เกิน 30% และสามารถทนแรงดันได้สูงถึง 22 เท่า 30 Bar สามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันออกเทน 95, 61 แก๊สโซฮอล์, ดีเซล และดีโซฮอล์น้ำมันเขียว
       
       ด.ต.สุทธิกุล สุธรรมรักษ์ หนึ่งในผู้ติดตั้งอุปกรณ์ กล่าวว่า เคยทดลองขับรถของเพื่อนที่ติดตั้ง Innovation แล้วรู้สึกว่าจังหวะออกตัวรถดีขึ้น และคิดว่า ไม่น่าจะมีปัญหาระยะยาว จึงตัดสินใจเอารถตัวเองมาติดตั้งบ้าง ซึ่งก็ใช้เวลาติดตั้งเพียง 15 นาที ส่วนเจ้าของโรงกลึงไทยจักรกลกล่าวเสริมว่า รถกระบะที่ใช้ ก่อนติดตั้งจะใช้น้ำมัน 1 ลิตรต่อการวิ่ง 11 กิโลเมตร แต่ภายหลังติดตั้ง น้ำมัน 1 ลิตรวิ่งได้ถึง 16 กิโลเมตร ทำให้ประหยัดน้ำมันและวิ่งได้ไกลกว่าเดิม
       
       สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 043-3362148

TDC (Top dead center) คือตำแหน่งที่ลูกสูบเคลื่อนตัวขึ้นสูงสุดในกระบอกสูบ ส่วน BDC (Botom dead center) ก็ตรงข้ามกันครับ

หมายเลขบันทึก: 167448เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2008 06:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ....(สำหรับบางท่านที่อาจจะยังไม่ได้นอน)

  • ขอบคุณที่แนะนำสิ่งที่ดีๆ  แม้ใกล้ตัวแค่นี้เอง(ใกล้เกลือกินด่างโดยแท้เลยเรา)

น่าสนใจมากครับ หากทำให้ประหยัดน้ำมันได้ถึง 20 % อย่างที่ว่า รัฐบาลน่าจะส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ติดตั้ง พร้อมกับส่งเสริมให้ใช้น้ำมันชีวภาพด้วยครับ

ว่าแต่ หน้าตาของเจ้า Innovation เนี่ย จะหาดูจากเน็ทได้หรือเปล่านะ เดี๋ยวจะลองค้นดู.....

พี่ติ๋ว: ใกล้เกลือดมยาก็ได้ครับ

หมอเล็ก: เจอรูปนี้ครับ ส่วนการค้นสิทธิบัตร ดูรายละเอียดได้จาก ipthailand.org ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท