สว้สดิการชุมชนด้านสุขภาพอนามัย: กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น


กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (เริ่ม 2549) เป็นอีกหนึ่งในหลายกองทุนที่ลงสู่ชุมชนและยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน   หากเราถือเอา "กองทุนหมู่บ้าน" ที่รัฐเอาเงินลงมาให้เป็นองค์กรการเงินชุมชนรูปแบบหนึ่ง  "กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น" ก็อาจถือเป็นองค์กรการเงินชุมชนอีกรูปแบบหนึ่งได้เหมือนกัน  เพราะมีวัตถุประสงค์ มีคณะกรรมการบริหารจัดการที่มีตัวแทนชุมชน มีที่มาของเงินกองทุนชัดเจน  (หรือไม่คิดว่าเป็นองค์กรการเงินชุมชน เพราะ..?  เช่น เพราะวัตถุประสงค์เฉพาะเรื่อง  เกินไป..?  เพราะแกนการจัดตั้งกองทุนคือ อปท. ไม่ใช่ชาวบ้าน  แต่ อปท.ก็เป็นตัวแทนของชุมชนท้องถิ่น?)

กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น มีเจ้าของเรื่อง คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)  การจัดตั้งกองทุนขึ้นอยู่กับความสมัครใจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น   สปสช.กำหนดเงื่อนไขให้ อปท.จัดสรรงบประมาณสมทบร่วม (co-matching fund)    ณ กลางปี 2550 มีจำนวนกองทุนในระดับพื้นที่ 880 กองทุนกระจายอยู่ในทุกอำเภอ/จังหวัด   ในเขตชนบทส่วนใหญ่จะดำเนินการโดย อบต. ส่วนน้อยอยู่ในเขตเมืองที่ดำเนินการโดยเทศบาล  อปท.สมทบประมาณร้อยละ 20 ของเงินที่ สปสช. จัดสรรให้

กองทุนนี้จะเกี่ยวข้องกิจกรรมที่ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยแข็งแรง มีความรู้ในการดูแลตนเอง การป้องกันโรคติดต่อ  

สปสช. มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และสอดคล้องกับบันทึกความตกลงระหว่างประเทศ The Ottawa Charter for Health Promotion (1986) ที่เห็นว่าทุกประเทศควรตระหนักถึงความสำคัญของมิติทางสังคมเกี่ยวกับสุขภาพ และมีข้อตกลงให้สนับสนุนภาครัฐและท้องถิ่นมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมาตรการเพิ่มพลังให้ภาคประชาชนผ่านกิจกรรมชุมชน

หมายเลขบันทึก: 166380เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2008 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ

เรามักคุยกันว่าหน่วยงานทางการแพทย์และสุขอนามัยเป็นหน่วยงานที่ก้าวหน้าที่สุดเมื่อเทียบกับหน่วยงานของรัชอื่นๆ ชื่นชมและชื่นชม แม้ว่าบางส่วนอาจจะมีปัญหาบ้างก็ตาม

แนวคิดนี้ก็เช่นกัน หลักการดีมาก ผมก็คิดว่าให้ดำเนินการไป ปรับกันไปขอให้มีความตั้งใจทำงานอย่างธรรมาภิบาล ประเทศชาติก็หวังได้ครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  ประเทศไทยจึงประสบความสำเร็จค่อนข้างมากในยกระดับสุขอนามัยของคนในชนบท   โชคดีที่เรามีคุณหมอเก่งๆ  และเป็นคนดี มีความคิดริ่เริ่มสร้างสรรค์หลายท่าน  เป็นแรงบันดาลใจและวางแนวทางดีๆไว้ให้รุ่นหลังๆ  นอกจากแพทย์ พยาบาลแล้ว คงต้องรวมสาธารณสุข  และเภสัชฯ ด้วยนะคะ

หลานเรียนแพทย์ศิริราช  ที่นั่นฝึกแพทย์ให้ติดดินมาก  ดิฉันดีใจที่ธรรมศาสตร์ก็มีเป้าหมายในการสร้างแพทย์ชนบทค่ะ

ทำยังไงจะมีวิศวะชนบท เศรษฐศาสตร์ชนบท  นิติชนบท  พาณิชย์ชนบท  การศึกษาชนบท ......

 

 

 

  • เห็นด้วยในหลักการของหลักประกันสุขภาพครับฃ
  • แต่ไม่เห็นด้วยในการปฏิบัติของ สปสช.  หลายเรื่อง  ที่ทำให้เรื่องง่ายๆมีขั้นตอนยุ่งยากมากขึ้นจนยากต่อการเข้าใจและปฏิบัติ  น่าจะใชหลัก Simplicity
  • เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นก็ไม่เห็นด้วย  เพราะไม่เป็นธรรม  การจัดสรรเงินใช้หลักการของ capitation  คิดมากเลยกำหนดกติกาขึ้นมาว่าถ้าสมทบได้รับ  ไม่สมทบ ( สมัครใจ ) ไม่ได้รับ  ตรงนี้เกิดความไม่เป็นธรรม  ขัดหลักการ  อิอิ 
  • ขอบคุณสำหรับความเห็นจากผู้ปฏิบัติการจริงในพื้นที่ค่ะ
  • การใช้หลักการเรื่องสมทบ คงอยากสร้างแรงจูงใจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม มีส่วนเป็นเจ้าของกองทุน   share cost  share benefit
  • แต่หากใช้หลักความเป็นธรรมก็อาจเป็นปัญหาอย่างที่คุณหมอว่า คือ บางท้องถิ่นอาจไม่มีศักยภาพ  เช่น  อบต.ที่งบน้อย  จำเป็นต้องใช้งบทำอย่างอื่นก่อน ดังเช่นในพื้นที่ที่มักประสบภัยพิบัติกับธรรมชาติ  สะพานขาดอยู่ทุกปี (แถวเชียงใหม่)
  • ทำไปบ่นไป เจอปัญหาก็ค่อยๆแก้กันไป  แต่ก็ถือว่ามีจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว รึเปล่าคะ?
  • เรื่อง roadmap กำลังอยู่ในขั้นตอนทำรายงานฉบับสมบูรณ์  เสร็จเรียบร้อยแล้วจะส่งให้นะคะ  ส่วนก้าวต่อไปก็กำลังคิดๆอยู่ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

อยากเรียนถามนะคะว่า ปัญหาของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นนั้น เมื่อดำเนินการแล้วมีปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่องอะไรบ้างคะ พอดีกำลังศึกษาข้อมูลอยู่เพื่อคิดว่าจะนำโครงการมาดำเนินการใน อบต.ค่ะ

ดีครับกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เพราะช่วยกระจายบริการสาธารณะงานสาธารณสุขเข้าถึงชุมชนและชประชาชนเองก็สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้นและลดการระบาดหรือการเจ็บป่วยของประชาชนได้ดีทีเดียว งยังส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนร่วมพัฒนานวัตกรรรมด้านสาสุขมากขึ้น

อยากเรียนปรึกษาขอคำแนะนำจากอาจารย์ปัทมวรรณ ว่าหากกระผมจะทำวิจัยเกี่ยวกับกองทุน ฯ ผมสามารถหาข้อมูลได้จากที่ใดบ้างเนื่องจากเท่าที่เข้าห้องสมุดและสืบค้นข้อมูล ไม่ค่อยจะเจอเนื้อหาเท่าใหร่ ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท