โครงสร้างของจิตกับวงจรนิวโรน


ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของจิตกับวงจรนิวโรน

รูปข้างบนนี้แทน โครงสร้างของจิตกับวงจรนิวโรน  รูปสี่เหลี่ยมนี้แทนสมองทั้งหมด  อุปมาเหมือนห้องมืด  หรือที่จิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เรียกว่า Black box  แต่ในหัวข้อนี้เป็นความคิดของจิทยากลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)  ซึ่งสนใจเรื่องในหีบมืดนี้ เนื่องจากเหตุการณ์ในห้องมืดนั้นเราสังเกตโดยตรงไม่ได้  ผมจึงสร้างสิ่งแทนให้สังเกตได้

ส่วนล่างสุด แทนที่อยู่ของเซลล์ประสาทสมองที่ชื่อนิวโรน ส่วนที่ถัดขึ้นมาแทน กิจกรรมของนิวโรน หรือกลุ่มนิวโรน  ส่วนถัดมาแทนกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า  อันที่จริงทั้งสามส่วนนี้อยู่ในที่เดียวกัน  แต่มันเป็นคนละเหตุการณ์ จึงได้แทนด้วยส่วนดังกล่าว และสมมุติฐานว่า  การรู้สึกตัวหรือ Consciousness นั้น  เกิดจากกิจกรรมในส่วนทั้งสามนั้น และส่วนทั้งสามนั้นก็รวมอยู่ใน "วงจรนิวโรน" ในรูปทางขวานั่นเอง  อันที่จริง "เหตุการณ์" ทั้งหมดในรูปนี้  เรา"สังเกตโดยตรง"ไม่ได้  แต่  "การรู้สึกตัว" นั้น   "เราสามารถที่จะมีประสบการณ์" กับมันได้  คือเรารู้สึกได้  แม้จะ "ส่วนตัว"  แต่  กิจกรรมของนิวโรน  กระแสไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กนั้น  เรา "ประสบการณ์กับมัน" ไม่ได้เลย  เราไม่เคยรู้สึกตัวได้เลยว่าขณะนี้มันกำลังกำลังทำอะไรอยู่  แต่การรู้สึกตัวนั้น "เรารู้สึกได้" คือ "มีประสบการณ์"ได้ดังกล่าวแล้ว

แต่ "เราสังเกตทางอ้อมได้" โดยผ่านเครื่องมือบางอย่าง !

และ พยากรณ์ว่า สักวันหนึ่ง เราจะสามารถ  "สังเกตได้โดยตรง" มากขึ้น ๆ  และส่วนใดที่สังเกตได้โดยตรงแล้ว  ส่วนนั้นก็จะกลายเป็น "ข้อเท็จจริง" (Facts) ทันที !!

จะไม่เป็นทฤษฎี  หรือ เชิงทฤษฎีอีกต่อไป.

หมายเลขบันทึก: 163153เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2008 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่มีรูป

ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว

 

เข้ามาลงชื่อ และเล่าว่า อ่าน ๒ จบแล้ว....

 

เจริญพร
ขอบคุณมากครับ  พระคุณเจ้า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท